วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และหน้าที่
วิสัยทัศน์ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
องค์กรนำด้านการสร้างสรรค์นโยบายพลังงาน เพื่อมุ่งสู่พลังงานสะอาดที่มั่นคงและยั่งยืน
“Leading organization in energy policy Formation for transition towards Clean, Security and Sustainable energy”
เป้าประสงค์ระดับวิสัยทัศน์
มีนโยบาย แผน และมาตรการด้านพลังงานเพื่อมุ่งสู่พลังงานสะอาดที่มั่นคงและยั่งยืนภายในปี พ.ศ. 2580
ตัวชี้วัดและค่าเป้าหมาย
ร้อยละของนโยบาย แผน และมาตรการด้านพลังงานและพลังงานสะอาดที่ผ่านความเห็นชอบจากผู้พิจารณานโยบายร้อยละ 90
พันธกิจ
1. เสนอแนะนโยบายและบูรณาการแผนบริหารพลังงานของประเทศ
• เสนอนโยบายและบูรณาการแผนบริหารพลังงานของประเทศเพื่อรองรับความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศและรองรับการเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค
• เสนอแนะมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
• ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.)
2. เสนอแนะยุทธศาสตร์การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนของประเทศ
• เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน รวมทั้งการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานและพัฒนาพลังงานทดแทน
• ประสานความร่วมมือด้านนโยบายและแผนอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งนโยบายและแผนพลังงานทดแทนกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
• ติดตาม ประเมินผล และรายงานผลการดำเนินงานตามนโยบายและแผนรวมทั้งแผนยุทธศาสตร์การอนุรักษ์พลังงานและการพัฒนาพลังงานทดแทน
• ปฏิบัติงานเลขานุการของคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และคณะอนุกรรมการที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
3. เสนอแนะมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
• เสนอนโยบายและบูรณาการแผนบริหารพลังงานของประเทศเพื่อรองรับความมั่นคงของประเทศ รองรับการเป็นศูนย์กลางด้านพลังงานของภูมิภาค
• เสนอแนะยุทธศาสตร์และขับเคลื่อนการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนของประเทศ
• เสนอแนะมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว
• ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.)
• ปฏิบัติงานในฐานะเลขานุการของคณะกรรมการกองทุนเงินอุดหนุนจากสัญญาโรงกลั่นปิโตรเลียม
4. กำกับ ติดตาม และประเมินนโยบายและแผนบริหารพลังงานของประเทศ
• ดำเนินการติดตาม ประเมินและวิเคราะห์ เผยแพร่ สารสนเทศด้านพลังงาน
• ดำเนินการนำผลการติดตามและประเมินผลไปใช้ในการจัดทำนโยบายและแผนตามกรอบ PDCA
5. บริหารจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารด้านพลังงานของประเทศ
• รวบรวม จัดเก็บ วิเคราะห์ เผยแพร่ สารสนเทศด้านพลังงาน
• เป็นศูนย์ข้อมูลพลังงานของประเทศ
• วิเคราะห์และจัดทำข้อมูลเพื่อปรับปรุงยุทธศาสตร์ นโยบาย และแผนด้านพลังงาน
6. พัฒนาสู่การเป็นองค์กรเชิงยุทธศาสตร์
• พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้และความสามารถและมีคุณธรรมจริยธรรม
• พัฒนาระบบการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ
ยุทธศาสตร์
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 1
สร้างสรรค์นโยบายที่มั่นคงและยั่งยืน เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Security and Sustainability for Accommodating the Energy Transition)
เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ |
---|---|
1.1 มีนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางส่งเสริมด้านความมั่นคงทางพลังงานและส่งเสริมการแข่งขันของกิจการพลังงาน | จำนวนนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางที่นำไปสู่ความมั่นคงทางพลังงานและส่งเสริมการแข่งขันของกิจการพลังงานในช่วงการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน/ จำนวนอย่างน้อย 3 นโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทาง |
1.2 มีนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม | จำนวนนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและการใช้พลังงานสะอาดที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม / จำนวนอย่างน้อย 3 นโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทาง |
1.3 มีนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการพลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (Energy Transition) | จำนวนนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางการพัฒนาเทคโนโลยีและระบบบริหารจัดการพลังงานเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน / จำนวนอย่างน้อย 1 นโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทาง |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2
ขับเคลื่อน ติดตาม และประเมินผลนโยบายพลังงานของประเทศ (Energy Policy Monitoring and Evaluating)
เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ |
---|---|
2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน (แผนพลังงานชาติ) (Promote and Support the National Energy plan Implementation) | จำนวนนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางที่ส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนพลังงานชาติ / จำนวนอย่างน้อย 20 นโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทาง |
2.2 พัฒนากลไกการติดตามและประเมินผลนโยบายพลังงานของประเทศ (Energy Monitoring and Evaluation) | จำนวนของนโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทางด้านพลังงานที่ได้รับการติดตามและประเมินผล / จำนวนอย่างน้อย 2 นโยบาย แผน มาตรการหรือแนวทาง |
2.3 พัฒนาการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการกำหนดและจัดทำนโยบาย (Public Participation) | 1. ร้อยละความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อการดำเนินนโยบายพลังงาน / ร้อยละ 75 |
ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 3
ก้าวสู่องค์กรสมรรถนะสูงเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน (EPPO Excellence)
เป้าประสงค์ | ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ |
---|---|
3.1 เป็นศูนย์ข้อมูลพลังงานของประเทศ (Thailand Energy Information Center) | 1. การเชื่อมโยงข้อมูลและจัดทำชุดข้อมูล use case /จำนวน 1 use case ต่อปี |
3.2 บุคลากรมีความรู้ความสามารถ และมีคุณธรรม รองรับบริบทการเปลี่ยนแปลง (Smart and Moral Colleague support for Contextual changes | 1. ร้อยละความพึงพอใจของบุคลากร สนพ. / ร้อยละ 90 2. ร้อยละของบุคลากร สนพ. มี สมรรถนะตามเกณฑ์ ที่กำหนด/ ร้อยละ 80 |
3.3 การปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Modern and Honest Work) | ผลการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการของ สนพ./คะแนน 75 - 89.99 คะแนน |
พันธกิจและภารกิจตามกฎหมายจัดตั้งหน่วยงาน
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) มีภารกิจหลักตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานกระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2551 พอสรุปอำนาจหน้าที่ของ สนพ. ตามกฎหมายดังกล่าวได้ดังนี้
ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ฉบับที่ 2 พ.ศ.2550 และ ฉบับที่ 3 พ.ศ. 2551
ศึกษาและวิเคราะห์นโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศเพื่อเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ติดตาม ประเมินผล และเป็นศูนย์ประสานและสนับสนุนการปฏิบัติงานตามนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ เก็บรวบรวมข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของสถานการณ์ด้านพลังงาน วิเคราะห์แนวโน้ม และประเมินผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อจัดทำข้อเสนอนโยบายและแผน การบริหารและพัฒนาพลังงานของประเทศ และเผยแพร่สถิติที่เกี่ยวข้องกับพลังงาน ปฏิบัติงานอื่นใดตามที่นายกรัฐมนตรี หรือคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติมอบหมาย
นอกจากปฏิบัติภารกิจตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ในหน้าที่สำนักเลขานุการ ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว สนพ. ยังเป็นฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่แต่งตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเป็นประธาน และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเป็นกรรมการ มีหน้าที่ช่วยกลั่นกรองเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารและพัฒนาพลังงานต่างๆ ก่อนนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
ตามพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516
พระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 ได้ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีอย่างกว้างขวางในการกำหนดมาตรการเกี่ยวกับการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา คือ กฎหมายที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และในการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งในช่วงที่ผ่านมา คือ กฎหมายที่ใช้ในการกำหนดราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และในการจัดตั้งกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการของคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) จึงมีหน้าที่โดยตรงในการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง และในการกำหนดนโยบายและมาตรการเกี่ยวกับราคาน้ำมัน และกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 และฉบับที่ 2 พ.ศ. 2550
ได้กำหนดอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์พลังงานไว้ในกฎหมายดังกล่าว สนพ. ในฐานะสำนักเลขานุการของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ จึงมีหน้าที่ในการเสนอแนะ และประสานงานเกี่ยวกับการดำเนินการตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยเฉพาะการเสนอแนะนโยบาย แผนงาน และมาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงาน รวมทั้งการบริหารกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ซึ่งจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ในการให้สิ่งจูงใจ เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพหรือเพื่อให้มีการผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพการใช้พลังงานสูง หรือเพื่อส่งเสริมด้านการศึกษาวิจัยและพัฒนาด้านการอนุรักษ์พลังงานและการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการพัฒนาและการใช้พลังงาน รวมตลอดถึงการส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนและพลังงานใหม่
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2551
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการเสนอแนะการกำหนดนโยบายและแผน รวมทั้งมาตรการด้านพลังงานเพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้อย่างเหมาะสม พอเพียง มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการพลังงานของประเทศ กำหนดมาตรการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน และกำหนดกรอบการจัดสรรงบประมาณ เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนกำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง ประสาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการพลังงานของประเทศรวมทั้งบริหารจัดการกองทุนพลังงาน บริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศพลังงานและการพยากรณ์แนวโน้มด้านพลังงานของประเทศ ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน หรือตามที่กระทรวงพลังงานหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ตามกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน พ.ศ. 2562
สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน มีภารกิจในการเสนอแนะการกำหนดนโยบาย และแผนเกี่ยวกับพลังงานของประเทศ รวมทั้งมาตรการทางด้านพลังงาน เพื่อให้ประเทศมีพลังงานใช้ อย่างมั่นคง ยั่งยืน เหมาะสม มีประสิทธิภาพ และสอดคล้องกับสถานการณ์ของประเทศ โดยให้มี หน้าที่และอำนาจดังต่อไปนี้
(1) เสนอแนะนโยบายและแผนการบริหารและพัฒนาการพลังงานของประเทศ
(2) เสนอแนะนโยบายและยุทธศาสตร์ด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนเพื่อจัดทำกรอบการจัดสรรงบประมาณเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทน
(3) กำหนดมาตรการแก้ไขป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง
(4) ประสาน ติดตาม และประเมินผลการปฏิบัติตามนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาการพลังงานของประเทศ รวมทั้งบริหารจัดการกองทุนพลังงาน
(5) บริหารจัดการข้อมูล พยากรณ์แนวโน้มด้านพลังงาน และเป็นศูนย์ข้อมูลกลางด้านพลังงานของประเทศ
(6) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นหน้าที่และอำนาจของสำนักงานหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย
ค่านิยมหลัก
สนพ. ได้กำหนดค่านิยมและวัฒนธรรมของหน่วยงาน เพื่อสร้างบรรทัดฐานในการปฏิบัติงาน สร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของบุคลากร เป็นเอกลักษณ์เฉพาะองค์กร ให้ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ในสังกัดพึงยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติ งานอย่างต่อเนื่องและเกิดผลในทางปฏิบัติอย่างทั่วถึงให้เกิดเป็นวัฒนธรรมใน การทำงานที่ดีต่อไป คือ “มุ่งความเป็นเลิศ ก่อเกิดเครือข่าย เป้าหมายส่วนรวม ร่วมใจหนึ่งเดียว”