
มติกบง. (349)
กบง. ครั้งที่ 26 - วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 14/2559 (ครั้งที่ 26)
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2559 เวลา 13.30 น.
ผู้มาประชุม
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์)
8. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายทวารัฐ สูตะบุตร)
เรื่องที่ 1 การปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติเห็นชอบกรอบและแนวทางในการปรับโครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยปรับอัตราภาษีสรรพสามิตของกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันดีเซลให้เป็นไปตามกรอบของกระทรวงการคลัง (เพดานอัตราไม่เกิน 10 บาทต่อลิตร)
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก ณ วันที่ 20 กรกฎาคม 2559 ราคาน้ำมันดิบดูไบ น้ำมันเบนซิน 95 และน้ำมันดีเซลอยู่ที่ 42.25 50.86 และ 53.90 เหรียญสหรัฐฯต่อบาร์เรล ตามลำดับ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 35.2179 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ราคาไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันวันที่ 20 กรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 40.46 บาท บาทต่อลิตร และราคาเอทานอล ณ เดือน กรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 22.80 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ราคาขายปลีกของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95E10 91E10 E20 E85 และน้ำมันดีเซล ณ วันที่ 21 กรกฎาคม 2559 อยู่ที่ 30.66 23.70 23.28 21.04 16.99 และ 24.49 บาทต่อลิตร ตามลำดับ
3. ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันแก๊สโซฮอล 95 สูงกว่า น้ำมันแก๊สโซฮอล 91E10 อยู่ 0.42 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาน้ำมันทั้งสองชนิดมีราคาขายปลีกเท่ากันและนำไปสู่การยกเลิกน้ำมันแก๊สโซฮอล 91E10 ประกอบกับในช่วงราคาน้ำมันตลาดโลกขาลง ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นควรปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมัน แก๊สโซฮอล 91E10 ขึ้น 0.25 บาทต่อลิตรซึ่งผลจากการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีสภาพคล่องเพิ่มขึ้นประมาณ 86 ล้านบาทต่อเดือน (หรือ 2.78 ล้านบาทต่อวัน) จากมีรายจ่าย 339 ล้านบาท ต่อเดือน (หรือ 10.93 ล้านบาทต่อวัน) เป็นมีรายจ่าย 253 ล้านบาทต่อเดือน (หรือ 8.15 ล้านบาทต่อวัน)
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้ปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
ชนิดน้ำมัน (หน่วย: บาทต่อลิตร) | เดิม | ใหม่ | เปลี่ยนแปลง(+/-) |
น้ำมันเบนซิน | 6.31 | 6.31 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 | 0.10 | 0.35 | 0.25 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 | 0.10 | 0.35 | 0.25 |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 | -3.00 | -3.00 | - |
น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 | -9.35 | -9.35 | - |
น้ำมันดีเซล | 0.01 | 0.01 | - |
2. เห็นชอบร่าง ประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ .. พ.ศ. 2559 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย อัตราเงินคืนกองทุน และอัตราเงินกองทุนคืนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เพื่อให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป
กบง. ครั้งที่ 23 - วันอังคารที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 11/2559 (ครั้งที่ 23)
เมื่อวันอังคารที่ 17 พฤษภาคม 2559 เวลา 09.30 น.
3.แนวทางการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มในกิจการพลังงาน
4.การเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น
5.รายงานความก้าวหน้าการลอยตัวราคา NGV
ผู้มาประชุม
1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์)
9. ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายทวารัฐ สูตะบุตร)
สรุปสาระสำคัญ
1.เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบแนวทาง การดำเนินการกับผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) ประเภทสัญญา Firm ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 – 2568 ดังนี้ กลุ่มที่ 1 :SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 เห็นควรให้ได้รับการต่ออายุสัญญาเดิมออกไปอีก 3 - 5 ปี โดยรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากการขายให้กับลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบของ กฟผ. ในปริมาณที่น้อยสุด ด้วยสัญญาที่เหมาะสมและเป็นธรรม และกลุ่มที่ 2 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562– 2568 เห็นควรให้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียง เฉพาะโรงไฟฟ้าที่มีสถานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ ที่มีการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นปริมาณมากเท่านั้น โดยมอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) รับหลักการและแนวทางที่ กพช. ให้ความเห็นชอบ ไปพิจารณาดำเนินการในรายละเอียดเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป
2.ในประเด็นต่างๆ พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนวทางการดำเนินการ ดังนี้ (1) ปริมาณ
การรับซื้อไฟฟ้า ตามที่ กพช. ได้มีมติ เป็นปริมาณที่ต่ำกว่าความเหมาะสมอย่างมาก รวมทั้งการก่อสร้างโรงไฟฟ้าจะต้องคำนึงถึงเงินลงทุนและขนาดที่เหมาะสม ดังนั้น ควรมีการปรับเพิ่มปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าเข้าสู่ระบบของ กฟผ. เป็นไม่เกิน 60 เมกะวัตต์ (2) อายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าตามมติ กพช. เป็นการใช้ประโยชน์โรงไฟฟ้าไม่คุ้มค่า เนื่องจากโรงไฟฟ้ามีอายุการใช้งานประมาณ 30 ปี จึงขอปรับเพิ่มอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเป็น 25 ปี และ (3) ราคารับซื้อไฟฟ้า ตามที่ กพช. ได้มีมติ เป็นราคาที่ไม่เป็นธรรมและต่ำกว่าต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของ SPP และได้เสนอแนวทางการกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า โดยโครงสร้างราคาอ้างอิงระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าจาก SPP ระบบ Cogeneration ประเภทสัญญา Firm ปี 2553 โดยมีการปรับลดอัตราต่างๆ ลง เช่น ค่าพลังไฟฟ้า ให้มีส่วนลดร้อยละ 10 จากสูตรราคาตามระเบียบปี 2553 และค่าพลังงานไฟฟ้า ให้มีการปรับลดอัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) ลงเป็น 7,900 บีทียูต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง
3. ต่อมา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (รมว.พน.) ในฐานะประธาน กบง. ได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ไปจัดทำรายละเอียดแนวทางการดำเนินการกับ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 - 2568 ให้สอดคล้องกับแนวทางที่ กพช. ได้มีมติเห็นชอบไว้
ซึ่งเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2558 กกพ. ได้เสนอแนวทางการดำเนินการกับ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 - 2568 เสนอต่อ รมว.พน. สรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 (ต่ออายุสัญญา) ให้มีระยะเวลาการต่อสัญญา3 ปีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 60 เมกะวัตต์ และราคารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 2.6817 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง และกลุ่มที่ 2 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562 – 2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่) ให้มีระยะเวลาสัญญา25 ปีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าร้อยละ 40 ของกำลังผลิตสุทธิไฟฟ้ารวมไอน้ำ แต่ไม่เกิน 45 เมกะวัตต์ และราคารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ 3.1830 บาทต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง
4. กระทรวงพลังงานพิจารณาแนวทางการดำเนินการของ กกพ. แล้ว เห็นว่ายังไม่สอดคล้องกับแนวทางตามมติ กพช. กระทรวงพลังงานจึงได้เชิญหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย กกพ. การไฟฟ้าฝ่ายผลิต
แห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน (สมาคมฯ) เข้าร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินการกับ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560-2568 ให้ได้ข้อสรุป เพื่อเสนอต่อ กบง. และ กพช. ต่อไป ซึ่งสรุปแนวทางการดำเนินการได้ ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : SPP ระบบ Cogeneration
ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 (ต่ออายุสัญญา)ที่ประชุมเห็นด้วยกับแนวทางของ กกพ. ซึ่ง กกพ.
ได้พิจารณาแล้วว่าอัตราและปริมาณเสนอขายไฟฟ้าสอดคล้องตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558
แล้ว และกลุ่มที่ 2 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562 – 2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่)
ที่ประชุมได้พิจารณาแล้วเห็นควรให้ดำเนินการ ดังนี้ (1) การกำหนดปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า เห็นควรให้ปรับปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม แต่ยังคงเป็นปริมาณที่น้อยที่สุดเพื่อให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของมติ กพช. โดยให้รับซื้อในปริมาณไม่เกิน 30 เมกะวัตต์ และจะต้องไม่เกินร้อยละ 30 ของกำลังผลิตสุทธิ (Net Generation) ไอน้ำรวมไฟฟ้ารวมทั้งจะต้องไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม ทั้งนี้ SPP ระบบ Cogeneration จะดำเนินการขายไฟฟ้าให้ กฟผ. ในรูปแบบสัญญา Firm โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปริมาณคงที่ตลอด 24 ชั่วโมง(2) ราคารับซื้อไฟฟ้า
ที่ประชุมได้มอบหมายให้ สนพ. นำราคารับซื้อไฟฟ้าตามแนวทางของ กกพ. ไปพิจารณาถึงความเหมาะสม
ซึ่ง สนพ. และหน่วยงานต่างๆ ประกอบด้วย สำนักงาน กกพ. กฟผ. และ กฟภ. ได้ประชุมหารือร่วมกันแล้ว พบว่าควรให้มีการปรับปรุงราคารับซื้อไฟฟ้าตามแนวทางของ กกพ. ในส่วนของค่า Heat Rate โดยคำนึงถึงค่า Heat Rate เฉลี่ยของ IPP เอกชน และต้นทุนการผลิตและจัดหาไฟฟ้าของ กฟผ. ที่ประชุมจึงเห็นควรให้ลดค่า Heat Rate ลงจาก 7,711 บีทียูต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เป็น 7,409 บีทียูต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง ทั้งนี้ จากการประสานหารือกับสมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ทางสมาคมได้แจ้งว่าสามารถปรับค่า Heat Rate ลดลงได้ เป็น 7,660 บีทียู
ต่อกิโลวัตต์-ชั่วโมง เท่านั้น (3) การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำรอง (Standby Rate) กฟภ. ได้ขอให้ กกพ. พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำรองให้มีความเหมาะสม เพื่อลดภาระการลงทุนของ กฟภ. และสะท้อนต้นทุนการให้บริการที่แท้จริงของ SPP ระบบ Cogeneration และ (4) ข้อเสนอเพิ่มเติม มีดังนี้
1) ที่ประชุมเห็นควรให้ SPP ระบบ Cogeneration หาลูกค้าอุตสาหกรรมที่รับซื้อไฟฟ้าโดยตรงเพิ่มขึ้น
และเห็นควรให้มีการปรับปรุงรูปแบบสัญญา Firm สำหรับ SPP ระบบ Cogeneration ในกลุ่มนี้ ให้สามารถ
ลดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ โดยการลดปริมาณขายไฟฟ้าจะต้องแจ้งให้ กฟผ. ทราบล่วงหน้าภายใน
1 เดือน 2) ให้ กกพ. ไปพิจารณากำหนดแนวทางและหลักเกณฑ์ เพื่อให้ SPP ระบบ Cogeneration สามารถบริหารจัดการในการจัดหาก๊าซธรรมชาติเอง ผ่านข้อกำหนด TPA Code ได้ รวมถึงให้ SPP ระบบ Cogenerationสามารถเข้าร่วม SPP-Power Pool ได้ทันที เมื่อรัฐมีนโยบายจัดตั้งขึ้น และ 3) ให้มีการกำหนดพื้นที่ดำเนินการโครงการ SPP ระบบ Cogeneration โดยให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียง เฉพาะโรงไฟฟ้าที่มีการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นให้แก่โรงงานที่ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม หรือกลุ่มโรงงานขนาดใหญ่ที่อยู่นอกนิคมอุตสาหกรรมแต่มีการใช้ไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นปริมาณมากเท่านั้น โดยเงื่อนไขสัดส่วนการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำหรือน้ำเย็นให้เป็นไปตามที่ กกพ. กำหนด
5.SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 - 2568 ตามที่ได้มีการประชุมหารือ สรุปได้ดังนี้ กลุ่มที่ 1 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 (ต่ออายุสัญญา) ให้มีระยะเวลาการต่อสัญญา3 ปีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 60 เมกะวัตต์ และราคารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ และกลุ่มที่ 2 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562 – 2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่) ให้มีระยะเวลาสัญญา25 ปีปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 30 MW และไม่เกินร้อยละ 30 ของกำลังผลิตสุทธิ (Net Generation) ไฟฟ้ารวมไอน้ำ และจะต้องไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม และราคารับซื้อไฟฟ้าอยู่ที่ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอ กบง. เพื่อพิจารณา ดังนี้ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 - 2568 ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ และให้นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป (2) มอบหมายให้ กกพ. พิจารณาปรับปรุงรูปแบบสัญญา Firm ของ SPP ระบบ Cogeneration ในกลุ่มนี้ ให้สามารถลดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ และพิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำรองให้มีความเหมาะสมต่อไป และ (3) มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานดำเนินการศึกษา SPP-Power Pool เพื่อนำเสนอ กบง. / กพช. ต่อไป
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบการปรับแนวทางการดำเนินการกับ SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาในปี 2560 – 2568 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2558 โดยดำเนินการตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ พร้อมทั้งเห็นควรให้นำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณาต่อไป ซึ่งมีรายละเอียดแนวทางการดำเนินการดังนี้
กลุ่มที่ 1 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2560 – 2561 (ต่ออายุสัญญา)
ระยะเวลาสัญญา | 3 ปี |
ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า | ไม่เกิน 60 MW และไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม |
ราคารับซื้อไฟฟ้า ณ ราคาก๊าซ 263 บาท/MMBTU | 2.3753 บาท/kWh |
- อัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) | 8,282 BTU/kWh |
- ค่าบำรุงรักษา (O&M) | 0.1871 บาท/kWh |
- กองทุนพัฒนาไฟฟ้า | 0.0100 บาท/kWh |
กลุ่มที่ 2 : SPP ระบบ Cogeneration ที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาภายในปี 2562 – 2568 (ก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่)
ระยะเวลาสัญญา |
25 ปี |
ปริมาณการรับซื้อไฟฟ้า | ไม่เกิน 30 MW และไม่เกินร้อยละ 30 ของกำลังผลิตสุทธิ (Net Generation) ไฟฟ้ารวมไอน้ำ และจะต้องไม่เกินกว่าปริมาณขายไฟฟ้าตามสัญญาเดิม |
อัตรารับซื้อไฟฟ้า | 2.8186 บาท/kWh |
- อัตราการใช้ความร้อน (Heat Rate) | 7,409 BTU/kWh |
- ค่าพลังไฟฟ้า (CP1) | 0.5000 บาท/kWh |
- ค่าปฏิบัติการโรงไฟฟ้า (CP2) | 0.3100 บาท/kWh |
- ค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิง (EP1) ณ ราคาก๊าซ 263 บาท/MMBTU | 1.9486 บาท/kWh |
- ค่าใช้จ่ายต้นทุนผันแปร (EP2) | 0.0500 บาท/kWh |
- กองทุนพัฒนาไฟฟ้า | 0.0100 บาท/kWh |
โครงการ SPP ระบบ Cogeneration ที่ได้รับสิทธิ การก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ |
ให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ ในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม |
หมายเหตุ ค่าพลังไฟฟ้า (CP1) ข้างต้นประเมิน ณ อัตราแลกเปลี่ยน 34 บาท/USD ข้างต้นประเมินภายใต้สมมติฐานการเดินเครื่องร้อยละ 80
2.รวมทั้งได้มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมดังนี้
2.1 เห็นควรมอบหมายให้ กกพ. พิจารณาปรับปรุงรูปแบบสัญญา Firm ของ SPP ระบบ Cogeneration ในกลุ่มนี้ ให้สามารถลดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบได้ รวมถึงพิจารณากำหนดหลักเกณฑ์การขอลดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบล่วงหน้า เพื่อให้ SPP ระบบ Cogeneration สามารถหาลูกค้าอุตสาหกรรมที่รับซื้อไฟฟ้าโดยตรงเพิ่มขึ้น และลดปริมาณการขายไฟฟ้าเข้าระบบลงเรื่อยๆ
2.2 ควรแจ้งให้ SPP ระบบ Cogeneration ทราบว่าสามารถบริหารจัดการการจัดหาก๊าซธรรมชาติเอง ผ่านข้อกำหนด TPA Code ได้ และเห็นควรมอบหมายให้ กกพ. พิจารณาทบทวนการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับ IPP และ SPP ให้มีความเหมาะสมรวมถึงให้ SPP ระบบ Cogeneration สามารถเข้าร่วม SPP-Power Pool ได้ทันที เมื่อรัฐมีนโยบายจัดตั้งขึ้น
2.3 จากการตรวจสอบพบว่า มีโรงไฟฟ้า SPP ระบบ Cogeneration เดิมที่จะสิ้นสุดอายุสัญญาบางแห่ง ไม่ได้มีที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม แต่ตั้งอยู่ติดหรืออยู่บริเวณใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรม และมีการจำหน่ายไฟฟ้าและไอน้ำให้แก่ลูกค้าในนิคม ดังนั้นเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของ กพช. และเพื่อให้เกิดความชัดเจน จึงเห็นควรให้มีการกำหนดพื้นที่ดำเนินการโครงการ SPP ระบบ Cogeneration โดยให้ดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ในพื้นที่เดิมหรือพื้นที่ใกล้เคียงนิคมอุตสาหกรรม สวนอุตสาหกรรม
2.4 เห็นควรให้ กกพ. พิจารณาทบทวนหลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำรองให้มีความเหมาะสม เพื่อลดภาระการลงทุนของ กฟภ. และสะท้อนต้นทุนการให้บริการที่แท้จริงของการ SPP ระบบ Cogeneration
เรื่องที่ 2 การยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าสำหรับโครงการนำร่อง
(Pilot Project) การส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี 100 เมกะวัตต์
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2558 สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เห็นชอบข้อเสนอโครงการปฏิรูปเร็ว (Quick win) เรื่อง โครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (ระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร) ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบหลักการ การดำเนินโครงการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์รูฟอย่างเสรี (โครงการส่งเสริมฯ) โดย (1) เน้นให้เป็นการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองในบ้านและอาคารเป็นหลักแล้วจึงขายไฟฟ้าส่วนที่เกินให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายให้น้อยที่สุด โดยราคารับซื้อไฟฟ้า
ต้องไม่ก่อภาระต่อประชาชน (2) มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) รับไปดำเนินโครงการฯ โดยให้ดำเนินการในรูปแบบโครงการนำร่อง (Pilot Project) ก่อน และให้ กฟภ. และ กฟน. คัดเลือกพื้นที่
ในการดำเนินโครงการนำร่อง (3) ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วย พพ. สนพ. และการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ประเมินผลโครงการฯ หากได้ผลดีสามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนด ก็ให้พิจารณาแนวทางขยายผลการปฏิบัติไปทั่วทุกภูมิภาค
ของประเทศ และ (4) รายงานความก้าวหน้าการดำเนินโครงการส่งเสริมฯ ให้ กบง. ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
2.เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2559 กบง. ได้มีมติรับทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการนำร่องการส่งเสริม
การติดตั้งโซลาร์รูฟแบบเสรี ที่ พพ. นำเสนอและมีประเด็นให้พิจารณาเพิ่มเติมดังนี้ (1) ประเด็นการซื้อขายไฟฟ้า
ในอนาคต อาจต้องมีการพิจารณาราคาให้เหมาะสม (2) ควรมีการศึกษาระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าให้ชัดเจนก่อนดำเนินการ (3) การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายควรมีการศึกษาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาทางเทคนิค จากการ
เกิดกระแสไฟฟ้าไหลย้อนจากการดำเนินการโครงการนำร่อง และ (4) เพื่อให้การดำเนินการเกิดความชัดเจนมากขึ้น ควรมีการจัดตั้งคณะทำงานที่จะเข้ามากำกับดูแลการดำเนินการดังกล่าว
3.เมื่อวันที่ 25 มกราคม 2559 พพ. ได้จัดตั้งคณะทำงานกำหนดแนวทางและประสานงาน กำกับติดตามโครงการนำร่อง การส่งเสริมการการติดตั้งโซลาร์รูฟแบบเสรี โดยมี พพ. เป็นประธานฯ และเลขานุการคณะทำงานฯ โดยองค์ประกอบของคณะทำงานฯ ประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักๆ เช่น สนพ. และการไฟฟ้าฯ ซึ่งต่อมา พพ. ได้รายงานผลการพิจารณาแนวทางการดำเนินงานโครงการนำร่องฯ ให้ กบง. ทราบแล้ว เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2559 และได้รายงานแนวทางการดำเนินงานโครงการนำร่องฯ จำนวน 100 เมกะวัตต์ ให้คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) รับทราบ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2559
4.คณะทำงานฯ ได้ร่วมกันจัดทำร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่องฯ และ พพ.
ได้ทำหนังสือลงวันที่ 30 มีนาคม 2559 ส่งให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เพื่อพิจารณาจัดทำระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้องพร้อมรับฟังความเห็น ซึ่งต่อมาเมื่อวันที่ 1 เมษายน 2559 คณะอนุกรรรมการกำกับการดูแลการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้พิจารณาร่างหลักเกณฑ์และแนวทางการดำเนินการโครงการนำร่องฯ ดังกล่าว และได้มีการปรับแก้ไขและส่งให้ ฝ่ายกฎหมาย สกพ. พิจารณา และอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อพิจารณาจัดทำระเบียบและประกาศที่เกี่ยวข้อง
5.เนื่องจากในโครงการนำร่องฯ เป็นการส่งเสริมให้มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองเป็นหลัก ไม่มีการรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินที่ไหลย้อนเข้าระบบสายจำหน่าย ดังนั้น เพื่อให้โครงการนำร่องฯ มีแรงจูงใจให้ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ
มากขึ้น พพ. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงมีความเห็นว่า ควรพิจารณาให้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ
ด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเรียกเก็บจากผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร เฉพาะผู้เข้าร่วมในโครงการนำร่องฯ ครั้งนี้ จำนวน 100 เมกะวัตต์ โดยให้การไฟฟ้า
ฝ่ายจำหน่าย และ กกพ. พิจารณาถึงการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ โดยเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม 2559 พพ. ได้นำเสนอให้คณะอนุกรรมการกำกับดูแลการจัดหาไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน พิจารณา เรื่อง การยกเว้นค่าธรรมเนียมเชื่อมต่อระบบ ในส่วนค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เฉพาะกลุ่มที่เชื่อมต่อ
ที่ระดับแรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลท์ ตามที่ระบุไว้ในร่างหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการนำร่องฯ ข้อ 10 คือ ยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ สำหรับบ้านอยู่อาศัย จำนวน 10,000 บาท และสำหรับอาคารธุรกิจหรือโรงงาน จำนวน 15,000 บาท ซึ่งคณะอนุกรรมการกำกับดูแลฯ ได้มีความเห็นว่า สมควรนำเสนอ กบง. พิจารณาเห็นชอบให้เสนอ
ขอความร่วมมือการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย คือ กฟน. และ กฟภ. ยกเว้นในส่วนค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบ
ด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เฉพาะกลุ่มที่เชื่อมต่อที่ระดับแรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลท์ สำหรับโครงการนำร่องฯ จำนวน 100 เมกะวัตต์ โดยในเบื้องต้น พพ. ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายที่ กฟน. และ กฟภ. ต้องรับภาระในการยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ โดยรวมประมาณ 49.60 ล้านบาท
มติของที่ประชุม
เห็นชอบในหลักการให้การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ยกเว้นค่าธรรมเนียมที่การไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายเรียกเก็บจากผู้ผลิตไฟฟ้าด้วยระบบผลิตไฟฟ้าด้วยแสงอาทิตย์สำหรับบ้านและอาคาร ภายใต้โครงการนำร่อง จำนวน 100 เมกะวัตต์ ในส่วนของค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า เฉพาะกลุ่มที่เชื่อมต่อที่ระดับแรงดันต่ำกว่า
12 กิโลโวลท์
เรื่องที่ 3 แนวทางการบริหารจัดการน้ำมันปาล์มในกิจการพลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบ
แนวทางการดำเนินการเสริมความมั่นคงระบบไฟฟ้าภาคใต้ โดยให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
เพิ่มชั่วโมงการเดินเครื่องโรงไฟฟ้ากระบี่เต็มกำลังการผลิต และให้พิจารณาใช้น้ำมันปาล์มดิบในการผลิตไฟฟ้าของโรงไฟฟ้ากระบี่ในสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 10 ของปริมาณการใช้น้ำมันเตา เพื่อลดปัญหาด้านการขนส่งน้ำมันเตา ทั้งนี้ ให้คำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าเป็นสำคัญ และค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นให้ถือเป็นค่าใช้จ่ายตามนโยบายภาครัฐในสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ
2. เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน
ให้พิจารณาดำเนินการตามแนวทางการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ระยะเร่งด่วน ตามที่ได้มีการประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ต่อไป ทั้งนี้เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2558 กนป.
ได้เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานเสนอ กพช. กำหนดให้โรงไฟฟ้ากระบี่เพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิต
ในโรงไฟฟ้าเป็นเดือนละ 10,000 ตัน และให้ซื้ออย่างต่อเนื่อง
3. เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2558 กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือถึงกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งว่า กระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การให้โรงไฟฟ้ากระบี่เพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบผลิตไฟฟ้าเป็นเดือนละ 10,000 ตัน และให้ซื้ออย่างต่อเนื่อง เป็นมาตรการที่สามารถแก้ไขปัญหาเกษตรกรได้ แต่จะทำให้เกิดภาระค่าไฟฟ้าแก่ประชาชนทั้งประเทศ จึงเห็นควรให้มีการพิจารณาในโอกาสต่อไปว่าจะดำเนินการอย่างไรให้สามารถแก้ไขปัญหาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง
4. ต่อมาเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2559 กระทรวงมหาดไทย (มท.) ได้มีหนังสือถึงกระทรวงพลังงาน
เสนอข้อเสนอเชิงนโยบายในการแก้ไขปัญหาผลผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบของจังหวัดกระบี่
โดยขอให้ กฟผ. ใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตกระแสไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น เป็นเดือนละ 10,000 ตัน และให้รับซื้อเฉพาะในพื้นที่จังหวัดกระบี่เท่านั้น และเมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2559 กนป. เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานนำเสนอ กพช. เพื่อพิจารณากำหนดสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มดิบทดแทนน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า
ของโรงไฟฟ้ากระบี่ในอัตราที่เหมาะสม
5. ผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปได้ ดังนี้ (1) กฟผ. ได้ดำเนินการตามมติ กพช.
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2556 โดยได้นำน้ำมันปาล์มดิบ 10,000 ตัน มาผลิตไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ ระหว่างวันที่ 17 สิงหาคม 2556 – 20 มกราคม 2557 โดยคิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม 48.78 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกระทบต่อค่า Ft 0.06 สตางค์ต่อหน่วย และได้ดำเนินการตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2558 โดยได้ดำเนินการจัดซื้อน้ำมันปาล์มดิบปริมาณ 15,000 ตัน มาผลิตไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ ระหว่างวันที่ 23 ตุลาคม 2558 – 21 ธันวาคม 2558 คิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม 494.79 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกระทบต่อ
ค่า Ft 0.89 สตางค์ต่อหน่วย (2) สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการตามข้อเสนอของ กนป. และ มท. โดยได้จัดการประชุมหารือร่วมกับผู้แทนกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) และผู้แทน กฟผ. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 เพื่อหารือตามข้อเสนอในการนำน้ำมันปาล์มดิบ 10,000 ตันต่อเดือน มาใช้ในการผลิตไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตา
ในโรงไฟฟ้ากระบี่ โดย กฟผ. ได้วิเคราะห์การนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – ธันวาคม 2559 เป็นเวลา 8 เดือน เดือนละ 10,000 ตัน เบื้องต้นคาดการณ์ว่าจะใช้น้ำมันปาล์มดิบประมาณ 72,828 ตัน เนื่องจากช่วงเดือนพฤษภาคม – มิถุนายน 2559 จะมีการหยุดซ่อมโรงไฟฟ้ากระบี่ ทั้งนี้ จากการใช้น้ำมันปาล์มดิบ 72,828 ตัน จะทำให้เกิดผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าคิดเป็นค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มประมาณ 1,474.38 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลกระทบต่อค่า Ft ประมาณ 1.26 สตางค์ต่อหน่วย
6. เมื่อวันที่ 22 เมษายน 2559 สนพ. พพ. สำนักงาน กกพ. และ กฟผ. ได้หารือร่วมกัน เพื่อหาข้อสรุปแนวทางการนำน้ำมันปาล์มดิบมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าร่วมกับน้ำมันเตาที่โรงไฟฟ้ากระบี่ ก่อนนำเสนอ กพช. พิจารณา ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกัน ดังนี้ (1) การนำน้ำมันปาล์มดิบมาผลิตไฟฟ้าเดือนละ 10,000 ตัน ตามข้อเสนอ ส่งผลกระทบทำให้เกิดค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่มประมาณ 1,474.38 ล้านบาท คิดเป็นผลกระทบค่า Ft ประมาณ 1.26 สตางค์
ต่อหน่วย หรือคิดเป็นการอุดหนุนน้ำมันปาล์มดิบประมาณ 20.24 บาท/กิโลกรัม ซึ่งเป็นจำนวนเงินที่สูงมากและ
ไม่คุ้มค่าในการดำเนินการ (2) ปริมาณและราคาน้ำมันปาล์มดิบมีการปรับขึ้นลงตามฤดูกาล โดยจะมีสภาวะล้นตลาดช่วงเดือนกรกฏาคมถึงเดือนตุลาคม (ปริมาณสต๊อค มากกว่า 400,000 ตัน) และเกิดขึ้นเฉพาะบางปีเท่านั้น ดังนั้น การรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อผลิตไฟฟ้าในระยะเวลานานติดต่อกัน โดยเฉพาะช่วงที่น้ำมันปาล์มดิบมีไม่มากจะเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณและเป็นภาระค่าใช้จ่ายให้แก่ประชาชนโดยไม่จำเป็น และอาจนำไปสู่ภาวะการขาดแคลน น้ำมันปาล์มดิบขึ้นได้ เนื่องด้วยแนวทางการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ 10,000 ตันต่อเดือน เพื่อนำมาผสมกับน้ำมันเตา
ในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้ากระบี่ จะส่งผลให้ประชาชนทั้งประเทศต้องรับภาระค่า Ft เฉลี่ยเพิ่ม 1.26 สตางค์
ต่อหน่วย จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 1,474.38 ล้านบาท จึงเห็นควรหามาตรการอื่นในการช่วยเหลือชาวเกษตรกรสวนปาล์มน้ำมันที่เหมาะสมและสามารถแก้ปัญหาทั้งระบบได้อย่างแท้จริง ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงได้เสนอให้ช่วยเหลือรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อนำมาผสมกับน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้ากระบี่ในปริมาณการรับซื้อ
ที่เหมาะสมเป็นคราวๆ ไป โดยพิจารณาจากปริมาณสต๊อคและราคาน้ำมันปาล์มดิบประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่มากเกินไป ทั้งนี้ เพื่อความคล่องตัวและรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ในการพิจารณาให้ความช่วยเหลือดังกล่าว เห็นควรขอให้ กพช. มอบหมายให้ กบง. เป็นผู้พิจารณา
มติของที่ประชุม
1.เห็นชอบหลักการในการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบเพื่อนำมาผสมกับน้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้า
ที่โรงไฟฟ้ากระบี่ในปริมาณการรับซื้อที่เหมาะสมเป็นคราวๆ ไป เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร โดยพิจารณาจากปริมาณ
สต๊อกและราคาน้ำมันปาล์มดิบประกอบด้วย เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าที่มากเกินไป และให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
2. Ft และให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานการ กำกับดูแลการดำเนินงาน โดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าและผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ เพื่อความคล่องตัวและรวดเร็วทันต่อสถานการณ์ในการพิจารณาการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ
เรื่องที่ 4 การเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น
สรุปสาระสำคัญ
1.เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2558 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 - 2579 (AEDP2015) โดยมีเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตการใช้ไบโอดีเซล ในปี 2579 เป็น 14 ล้านลิตรต่อวัน และในคราวประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 5 เมษายน 2559 นายกรัฐมนตรีได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงพลังงานเร่งดำเนินการศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในน้ำมันไบโอดีเซลสำหรับรถยนต์ชนิดต่างๆ ให้เป็นรูปธรรมภายใน 3 เดือน
2.กระทรวงพลังงาน (พน.) ได้ดำเนินการส่งเสริมการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันตามประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ 6)
พ.ศ. 2558 กำหนดให้น้ำมันดีเซลต้องมีส่วนผสมของไบโอดีเซล ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.5 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม 2558 ซึ่งทำให้รถยนต์ดีเซลทุกประเภทใช้น้ำมันดีเซลที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซล
ไม่เกินร้อยละ 7 หรือที่เรียกว่าไบโอดีเซล บี7 ในส่วนของการส่งเสริมการผลิตและการใช้น้ำมันไบโอดีเซล
ในสัดส่วนที่สูงขึ้น ที่ผ่านมากรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ทำการทดสอบน้ำมัน
ไบโอดีเซล บี10 และบี20 สำหรับรถประเภทต่างๆ ดังนี้ (1) รถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก (รถบรรทุกส่วนบุคคล) ผลการทดสอบการใช้งานไบโอดีเซล บี10 ที่ระยะทางวิ่งทดสอบ 100,000 กิโลเมตร สรุปว่าสามารถใช้ไบโอดีเซล บี10 ได้ โดยไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ แต่มีข้อแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นและไส้กรองเร็วขึ้น (2) รถบรรทุก
ผลการทดสอบการใช้งานไบโอดีเซล บี20 ที่ระยะทางวิ่งทดสอบ 100,000 กิโลเมตร สรุปว่าสามารถใช้ไบโอดีเซล บี20 ได้ โดยไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์ แต่มีข้อแนะนำให้เปลี่ยนน้ำมันหล่อลื่นและไส้กรองเร็วขึ้น
3.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และ พน. ร่วมกับ Japan International Cooperation Agency (JICA) ทำการศึกษาเพื่อปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไบโอดีเซลด้วยเทคโนโลยี H-FAME ทำให้ไบโอดีเซลมีคุณภาพดีขึ้น โดยลดค่าโมโนกลีเซอไรด์และเพิ่มค่า Oxidation stability ทำให้สามารถผสมสัดส่วนที่สูงขึ้นได้ ทั้งนี้ได้มีการทดสอบการใช้งานไบโอดีเซล บี20 ด้วยเทคโนโลยี H-FAME กับรถดีเซลขนาดเล็ก (ISUZU) ระยะวิ่งทดสอบ 50,000 กิโลเมตร สามารถใช้งานได้โดยไม่มีผลกระทบกับเครื่องยนต์
4.ประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ 128) กำหนดให้รถยนต์ประหยัดพลังงานเครื่องยนต์ดีเซลที่มีขนาดความจุกระบอกสูบไม่เกิน 1,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร ที่ใช้เชื้อเพลิงประเภท
ไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 เป็นส่วนผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิง
ได้ เสียภาษีสรรพสามิตในอัตราร้อยละ 12 ตามมูลค่า ซึ่งต่ำกว่ารถยนต์ประหยัดพลังงานปกติ ร้อยละ 2 ซึ่งตามข้อมูลของกรมการขนส่งทางบก ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2558 พบว่ารถยนต์บรรทุกส่วนบุคคลมีจำนวนรวมทั้งสิ้น 5.7 ล้านคัน หรือคิดเป็นประมาณร้อยละ 60 ของจำนวนรถยนต์ดีเซลทั้งหมด ทั้งนี้หากมีการขยายผลการลดอัตราภาษีสรรพสามิตครอบคลุมถึงกลุ่มรถดังกล่าวจะทำให้การเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในน้ำมันดีเซลมีผลสัมฤทธิ์
มากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ปัญหาอุปสรรคในการส่งเสริมการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น คือ ปัจจุบันยังไม่มีการจำหน่ายรถยนต์ประหยัดพลังงานที่สามารถใช้ไบโอดีเซล บี10 ได้ และยังไม่มีการกำหนดมาตรฐานน้ำมัน
ไบโอดีเซล บี10 ตลอดจนการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล บี10 เป็นทางเลือก
5. เมื่อพิจารณาจากผลการศึกษาและมาตรการด้านภาษีสรรพสามิตของกระทรวงการคลัง ที่สนับสนุนให้เกิดการใช้ไบโอดีเซล บี10 จึงเห็นควรผลักดันให้เกิดการใช้ไบโอดีเซล บี10 เป็นทางเลือก เพื่อให้เกิดการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในน้ำมันดีเซลอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ (1) การศึกษาวิจัยเพื่อเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันปาล์มในน้ำมันดีเซล ในส่วนนี้ปัจจุบันดำเนินการโดยการขยายผลการศึกษาการปรับปรุงคุณภาพน้ำมันไบโอดีเซลด้วยเทคโนโลยี H-FAME ทำให้น้ำมันไบโอดีเซลมีคุณภาพดีขึ้น โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผู้ผลิตไบโอดีเซล/ผู้ค้าน้ำมัน หน่วยงานราชการ/ทหาร และกระทรวงพลังงาน (2) การดำเนินงานตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงพลังงาน ประกอบด้วย กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน และกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน หน่วยงานราชการอื่นๆ ประกอบด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานภาคเอกชน ประกอบด้วย บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ และบริษัทผู้ค้าน้ำมัน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแนวทางการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น โดยมอบหมายให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยให้คณะอนุกรรมการบริหารจัดการเชื้อเพลิงเอทานอลและไบโอดีเซล (ตามคำสั่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ 1/2557 ลงวันที่ 25 กรกฎาคม 2557) ดำเนินการขับเคลื่อนการเพิ่มสัดส่วนการใช้น้ำมันไบโอดีเซลให้สูงขึ้น และนำมารายงานให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบเป็นระยะต่อไป
2. เห็นชอบให้ดำเนินการเพื่อการผลิตไบโอดีเซลที่ได้รับการปรับปรุงคุณภาพแล้วในเชิงพาณิชย์ และดำเนินโครงการนำร่องการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี10 ในรถราชการและ/หรือทหาร
3. เห็นชอบให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล บี10 เป็นทางเลือกภายในปี 2561 และพิจารณาดำเนินการ
เพิ่มสัดส่วนน้ำมันปาล์มตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558 – 2579 (AEDP 2015) ต่อไป
4. เห็นชอบให้นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามข้อ
1 – 3 ต่อไป
เรื่องที่ 5 รายงานความก้าวหน้าการลอยตัวราคา NGV
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2559 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบ Roadmap การปรับโครงสร้างราคาก๊าซ NGV ดังนี้ (1) เห็นชอบให้ลอยตัวราคาขายปลีกก๊าซ NGV ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร แบบมีเงื่อนไขโดยตั้งแต่วันที่ 21 มกราคม 2559 ถึง 15 กรกฎาคม 2559 ขอความร่วมมือให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กำหนดเพดานราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ทั่วไปที่ 13.50 บาทต่อกิโลกรัม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวหากต้นทุนราคาก๊าซ NGV อยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 13.50 บาทต่อกิโลกรัม ให้ปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ทั่วไปลงเพื่อให้สะท้อนต้นทุน และตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2559 เป็นต้นไป ให้ปรับราคาก๊าซ NGV สำหรับรถยนต์ทั่วไปให้สะท้อนต้นทุน ตามหลักเกณฑ์การคำนวณราคาก๊าซ NGV ตามผลการศึกษาของสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยให้ใช้ค่าใช้จ่ายดำเนินการเฉพาะเอกชนที่ 3.4367 บาทต่อกิโลกรัม ในการคำนวณราคาขายปลีกก๊าซ NGV และในส่วนของต้นทุนของราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ให้ใช้ราคาเฉลี่ย Pool Gas ของเดือนที่ผ่านมาในการคำนวณ และให้มีการปรับราคาขายปลีกก๊าซ NGV ให้สะท้อนกับต้นทุนราคาเฉลี่ย Pool Gas ของเดือนที่ผ่านมา ในทุกวันที่ 16 ของแต่ละเดือน และขอความร่วมมือให้ ปตท. คงราคาขายปลีกก๊าซ NGV ที่ 10.00 บาทต่อกิโลกรัมสำหรับในส่วนของราคาก๊าซ NGV สำหรับรถโดยสารสาธารณะต่อไปและปรับเพิ่มวงเงินช่วยเหลือสำหรับกลุ่มรถโดยสารสาธารณะเดิมที่ได้รับในวงเงิน 9,000 บาทต่อเดือนเป็น 10,000 บาทต่อเดือน และกลุ่มรถสาธารณะเดิมที่ได้รับ 35,000 บาทต่อเดือนเป็น 40,000 บาทต่อเดือน โดยให้ช่วยเหลือรถโดยสารสาธารณะไปจนกว่าจะมีกลไกถาวรอื่นมาดูแลแทน เช่น พรบ. กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง
2. เห็นชอบการปรับค่าขนส่งก๊าซ NGV นอกรัศมี 50 กิโลเมตรจากสถานีหลักตามระยะทางจริง โดยขอความร่วมมือ ปตท. ให้คิดค่าขนส่งโดยใช้อัตราค่าขนส่งก๊าซ NGV นอกรัศมี 50 กิโลเมตรจากสถานีหลักที่ 0.0150 บาทต่อกิโลกรัมต่อกิโลเมตร ในการคำนวณแต่สูงสุดได้ไม่เกิน 4 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ให้มีผลตั้งแต่วันที่
21 มกราคม 2559 เป็นต้นไป โดยให้ ปตท. ไปหารือร่วมกับ สนพ. ถึงแนวทางการทยอยปรับค่าขนส่งดังกล่าว เพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ โดยตั้งแต่วันที่ 16 พฤษภาคม 2559 ถึงวันที่ 15 มิถุนายน 2559 ราคาขายปลีกก๊าซ NGV (ภายในรัศมี 50 กิโลเมตร จากสถานีก๊าซธรรมชาติหลัก) อยู่ที่ 12.63 บาทต่อกิโลกรัม
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
กบง. ครั้งที่ 46 - วันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2560
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 13/2560 (ครั้งที่ 46)
เมื่อวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2560 เวลา 14.00 น.
1. สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
2. หลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(พลเอก อนันตพร กาญจนรัตน์)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายทวารัฐ สูตะบุตร)
เรื่องที่ 1 สถานการณ์พลังงานและแนวโน้มราคาพลังงานในตลาดโลก
สรุปสาระสำคัญ
ทีม Prism บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกให้ที่ประชุมทราบ ดังนี้ (1) ราคาน้ำมันดิบช่วงเดือนตุลาคม 2560 มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากกลุ่มโอเปคมีท่าทีที่จะขยายระยะเวลาในการลดปริมาณการผลิตจากเดิมที่จะสิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2561 ไปเป็นสิ้นปี 2561 และเหตุความไม่สงบทางการเมืองระหว่างประเทศสหรัฐฯ กับประเทศอิหร่าน ทั้งนี้คาดการณ์ว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2560 ราคาน้ำมันดิบยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากนักลงทุนเริ่มซื้อน้ำมันดิบล่วงหน้าเพิ่มมากขึ้น (2) ราคาก๊าซ LPG ยังอยู่ในระดับทรงตัว โดยราคา CP (Contract Price) ในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ 577.5 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน โดยปัจจัยที่กดดันราคาก๊าซ LPG คือ อุณหภูมิของหลายประเทศไม่ต่ำเท่าที่คาดการณ์ไว้ทำให้ปริมาณความต้องการก๊าซ LPG เพื่อสร้างความอบอุ่นไม่เพิ่มขึ้นมาก รวมทั้งรัฐบาลของประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายให้ปรับลดปริมาณสำรองก๊าซ LPG ลงจำนวน 10 วัน ทำให้มีการนำก๊าซ LPG ที่เหลือจากการที่จำนวนวันสำรองลดลงออกมาใช้ ส่งผลให้ประเทศญี่ปุ่นลดการนำเข้าก๊าซ LPG ลง และท่อส่งก๊าซ LPG ของประเทศอินเดียได้มีการ ซ่อมบำรุงแล้วเสร็จพร้อมที่จะเดินระบบได้ (3) ราคาถ่านหินในภาพรวมยังมีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากประเทศออสเตรเลียและโคลัมเบียประสบปัญหาไม่สามารถส่งออกถ่านหินได้ รวมทั้งปริมาณความต้องการของประเทศจีนยังอยู่ในระดับสูง และ (4) ราคาก๊าซ LNG ในเดือนตุลาคม 2560 ราคาตลาด Asian Spot และ NBP มีทิศทางปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ และปริมาณความต้องการของประเทศอินเดียสำหรับภาคไฟฟ้าและอุตสาหกรรมเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งปริมาณความต้องการของประเทศฝรั่งเศสเพิ่มขึ้นเนื่องจากนำมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าแทนพลังงานนิวเคลียร์ ส่วนราคาตลาด Henry Hub ยังทรงตัวเนื่องจากอุณหภูมิของหลายประเทศไม่ต่ำลงเท่าที่คาดการณ์ ทั้งนี้ในภาพรวมคาดการณ์ว่าราคาก๊าซ LNG ยังมีแนวโน้มที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมันดิบ
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 2 หลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบ เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) โดย (1) เปลี่ยนหลักเกณฑ์การอ้างอิงราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากเดิมที่อ้างอิงด้วยราคา CP ที่ประกาศรายเดือนเป็นอ้างอิงด้วยราคา LPG Cargo จากข้อมูล Spot Cargo ( FOB Arab Gulf ) ของ Platts เฉลี่ยรายสัปดาห์แทนโดย ราคานำเข้าเท่ากับ LPG cargo + X (ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า) (2) กำหนดเพดานการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG (Subsidy Cap) โดยจำกัดปริมาณเงินการชดเชยราคาสูงสุดในแต่ละเดือนให้ไม่เกินร้อยละ 5 ของฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของเดิม (ทั้งบัญชีน้ำมันและบัญชี LPG) (3) ปรับกลไกการอ้างอิงราคาก๊าซ LPG จากเดิมที่ใช้ราคาขายปลีกจากการคำนวณด้วยโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ LPG เป็นการใช้ราคาขายปลีกของผู้ค้าแทน (4) มอบหมายสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ดำเนินการประเมินผลการปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซ LPG เป็นรายอาทิตย์ รวบรวมข้อมูลราคาขายปลีกก๊าซ LPG ของภาคครัวเรือนและภาคขนส่งในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จากผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 7 และศึกษาค่าการตลาดที่เหมาะสมของก๊าซ LPG ทั้งในภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง (5) มอบหมายกรมธุรกิจพลังงานรวบรวมและตรวจสอบปริมาณและราคานำเข้าก๊าซ LPG ของผู้ค้าก๊าซเพื่อเปรียบเทียบกับราคา ณ โรงกลั่นที่คำนวณตามหลักเกณฑ์ Import Parity และรายงาน กบง. ต่อไป (6) มอบหมายสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน (พลังงานจังหวัด) ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลราคาขายปลีกก๊าซ LPG ของสถานีบริการ ทุกจังหวัด ทั่วประเทศ และ (7) มอบหมายผู้ค้าน้ำมันเชื้อเพลิงตามมาตรา 7 แจ้งราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งต่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
2. จากการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การอ้างอิงราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากเดิมที่อ้างอิงด้วยราคา CP ที่ประกาศรายเดือนเป็นอ้างอิงด้วยราคา LPG cargo เฉลี่ยรายสัปดาห์แทน พบว่า เมื่อราคาก๊าซ LPG Cargo และอัตราแลกเปลี่ยน เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละสัปดาห์ ทำให้ราคา ณ โรงกลั่นเปลี่ยนแปลง ในขณะที่ภาษีและกองทุนน้ำมัน#2 คงที่ ส่งผลให้ราคาขายส่งเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เมื่อกำหนดให้ราคาขายปลีกคงที่ค่าการตลาดจะเปลี่ยนแปลงตามไปในแต่ละสัปดาห์ซึ่งจะมีโครงสร้างราคาคล้ายน้ำมันมากยิ่งขึ้น และจากความแตกต่างของ ค่าการตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปจะส่งผลกระตุ้นให้เกิดการแข่งขันของตลาดค้าปลีกก๊าซ LPG มากยิ่งขึ้น สำหรับการติดตามดูแลราคาขายปลีกของก๊าซ LPG ภาคครัวเรือน สนพ. จะส่งโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ที่เปลี่ยนแปลงรายสัปดาห์ให้กรมการค้าภายใน เพื่อใช้ในการจัดทำราคาแนะนำรายสัปดาห์ต่อไป ส่วนการรวบรวมราคาขายปลีกก๊าซ LPG ของภาคครัวเรือและภาคขนส่งในเขตกรุงเทพฯ จากผู้ค้ามาตรา 7 สนพ. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำโปรแกรมให้ผู้ค้ามาตรา 7 แจ้งราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่งผ่านทางหน้าเวปไซต์ ของ สนพ. และจะนำราคาขายปลีกแสดงหน้าเว็ปไซต์ ของ สนพ. เพื่อผู้บริโภคจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไป ในส่วนของ ทุกจังหวัดทั่วประเทศ (ยกเว้นกรุงเทพฯ) ได้มอบหมายให้พลังงานจังหวัดตรวจสอบราคาขายจริงของก๊าซ LPG ทั้งภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง โดย สนพ. ได้กำหนดแบบฟอร์มการตรวจสอบราคาขายปลีกก๊าซ LPG และรายละเอียดของการเก็บข้อมูล เพื่อให้พลังงานจังหวัดดำเนินการตามที่ กบง. มีมติมอบหมาย
3. เนื่องจากกลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ (โรงแยกก๊าซธรรมชาติของ ปตท. ปตท.สผ. และบริษัทฯ ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (UAC)) ใช้ก๊าซธรรมชาติซึ่งเป็นทรัพยากรในประเทศมาผลิตก๊าซ LPG ทำให้ต้นทุน ก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ต่ำกว่าก๊าซ LPG ที่นำเข้าอย่างมีนัยสำคัญทำให้ผู้นำเข้าก๊าซ LPG ไม่สามารถแข่งขันกับ กลุ่มโรงแยกฯ ได้ และในทางกลับกันหากต้นทุนการนำเข้าก๊าซ LPG ต่ำกว่าต้นทุนก๊าซ LPG จากกลุ่มโรงแยก ก๊าซธรรมชาติ กองทุนน้ำมันฯ ต้องชดเชยให้กับกลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติเพื่อไม่ให้โรงแยกก๊าซ LPG ขาดทุน ดังนั้นเพื่อให้ต้นทุนก๊าซ LPG จากทุกแหล่งจัดหามีต้นทุนที่ใกล้เคียงกันและแข่งขันกันได้ภายใต้ระบบการค้าเสรี ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอกลไกการบริหารจัดการโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ใหม่ ดังนี้ (1) หลักเกณฑ์การคำนวณอัตรากองทุน#1 ของกลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ คือ อัตรากองทุน#1 ของโรงแยกก๊าซฯ1-3 เท่ากับ ราคานำเข้า – (ต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ1-3+ กรอบราคาสำหรับกำกับการแข่งขัน) โดยที่ โรงแยกก๊าซฯ1-3 คือ โรงแยกก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด และบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) ซึ่งต้นทุนของโรงแยกก๊าซฯ1 – 3 เปลี่ยนแปลงทุกสามเดือน โดยกรอบราคาสำหรับกำกับการแข่งขัน ประกอบด้วย 1) กรอบราคาฯ เท่ากับ +0.67 บาทต่อกิโลกรัม กรณี (ราคานำเข้า – ต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ1-3 > +0.67) 2) กรอบราคาฯ เท่ากับ –0.67 บาทต่อกิโลกรัม กรณี (ราคานำเข้า – ต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ1-3 < –0.67) และ 3) กรอบราคาฯ เท่ากับ 0 บาทต่อกิโลกรัม กรณี (ราคานำเข้า – ต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ1-3 0.67) และราคานำเข้า คือ ราคา LPG cargo + X (ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า) โดยมอบหมายให้ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเป็นผู้ลงนามในประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย และอัตราเงินคืนกองทุนสำหรับก๊าซ ซึ่งอัตราในประกาศให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์เดิมอัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะคงที่ตลอดทั้งเดือน แต่ตามหลักเกณฑ์ใหม่อัตราเงินส่งเข้ากองทุนจะเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ (2) กลไกการกำหนดอัตราเงินกองทุน#2 โดยเดือนพฤศจิกายน 2560 กองทุนน้ำมันในส่วน LPG ยังมีรายรับจากกองทุน#1 จากกลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติประมาณ 1,300 ล้านบาท ซึ่งสามารถนำมาใช้ในการรักษาเสถียรภาพราคาขายปลีกโดยผ่านกลไกกองทุน#2 ได้ ในอดีตที่ผ่านมา กบง. จะพิจารณาอัตรากองทุน# 2 โดยคำนึงถึงรายรับจากกองทุน#1 แนวโน้มสถานการณ์ราคาตลาดโลก ฐานะกองทุนน้ำมัน รวมถึงระดับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่เหมาะสม ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอความเห็นว่าการกำหนดอัตราเงินกองทุน#2 ยังคงต้องเป็นการพิจารณาของ กบง. เหมือนในอดีตที่ผ่านมา และ (3) กำหนดเพดานการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG (Subsidy Cap) ซึ่ง ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2560 กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมีฐานะสุทธิ 36,879 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน 32,230 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG 4,649 ล้านบาท คาดว่าเดือนพฤศจิกายน 2560 ต้องใช้เงินในการรักษาระดับราคาก๊าซ LPG ประมาณ 1,000 ล้านบาท ดังนั้นจากเงินที่มีอยู่ในบัญชี LPG จะสามารถใช้ได้ 4.5 เดือนเท่านั้น หากยังมีรายจ่ายระดับ 1,000 ล้านบาท ทุกเดือน และในเดือนที่ 4 สำนักงานบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องจัดทำแนวทางการใช้เงินของ LPG เมื่อเงิน ในบัญชี LPG ถูกใช้หมด โดยไปยืมเงินบัญชีน้ำมัน และมีการลงบัญชีบันทึกไว้ รวมทั้งรายงานให้ กบง. ทราบเป็นระยะๆ
มติของที่ประชุม
1. รับทราบกลไกการบริหารจัดการโครงสร้างราคาก๊าซ LPG ใหม่
2. เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณอัตรากองทุน#1 ดังนี้
กรณีที่ราคานำเข้าแตกต่างจากต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ เกินกว่า 0.67 บาทต่อกิโลกรัม ให้มีอัตรากองทุน#1 ของโรงแยกก๊าซฯ ดังนี้
ทั้งนี้กรณีที่ราคานำเข้าแตกต่างจากต้นทุนโรงแยกก๊าซฯ ไม่เกิน 0.67 บาทต่อกิโลกรัม ให้อัตรากองทุน#1เท่ากับศูนย์
3. เห็นชอบมอบหมายให้ผู้ค้ามาตรา 7 แจ้งราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง เพื่อสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจะนำราคาขายปลีกโชว์ขึ้นหน้าเวปไซต์ ของ สนพ. เพื่อผู้บริโภคจะได้ใช้ประโยชน์ต่อไป
4. เห็นชอบมอบหมายให้พลังงานจังหวัดตรวจสอบราคาขายปลีกก๊าซ LPG ภาคครัวเรือนและภาคขนส่ง
5. เห็นชอบมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย และอัตราเงินคืนกองทุนสำหรับก๊าซตามหลักเกณฑ์การคำนวณโครงสร้างราคาก๊าซ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2560 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบการคำนวณอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของ บริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (UAC) โดยใช้ราคาต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซฯ ของตนเอง (Cost Plus) โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ศึกษาต้นทุนให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยในระหว่างนี้ให้ใช้ต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG เท่ากับต้นทุนของบริษัท ปตท. สผ. สยาม จำกัด ไปพลางก่อน
2. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้รวบรวมและศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำหลักเกณฑ์คำนวณอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของ UAC ประกอบด้วย โรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Petroleum Production Plant (PPP) ของบริษัท UAC มีขนาดกำลังการผลิตรวมประมาณ 19,681 ตันต่อปี โดยนำก๊าซธรรมชาติที่เผาทิ้งในการผลิตน้ำมันดิบ (Associated Gas) จากแหล่งบูรพา ของบริษัท สยามโมเอโกะ จำกัด และแหล่งเสาเถียร ของบริษัท ปตท. สผ. จำกัด (มหาชน) มาแปรสภาพและแยกเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมต่างๆ ประกอบด้วย ก๊าซธรรมชาติอัด (CNG) ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซโซลีนธรรมชาติ (NGL) โดยมีสัดส่วนการผลิตเฉลี่ยของ CNG:LPG:NGL อยู่ที่ประมาณ 50:40:10 โดยมีเงินลงทุนรวมทั้งสิ้นประมาณ 730 ล้านบาท ส่วนหลักเกณฑ์การคำนวณต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ได้พิจารณาดังนี้ (1) อัตราส่วนต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG อยู่ที่ร้อยละ 40 โดยพิจารณาจากการปันส่วนต้นทุน (Cost Allocation) ต่อมวลของผลิตภัณฑ์ CNG:LPG:NGL ที่ 50:40:10 (2) ต้นทุนการผลิตรวม ซึ่งประกอบด้วย ค่าวัตถุดิบ ค่าใช้จ่ายในการลงทุน (CAPEC) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Operation cost) (3) ปริมาณก๊าซ LPG โดยโรงงาน PPP มีความสามารถในการรับก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ 1.8 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แต่ตั้งแต่ต้นปี 2560 ไม่สามารถผลิตได้อย่างเต็มศักยภาพ เนื่องด้วยหลุมผลิตแหล่งบูรพาประสบปัญหาไม่สามารถจ่ายก๊าซฯ ที่นำมาใช้เป็นวัตถุดิบได้อย่างสม่ำเสมอ โดยในช่วงที่ผ่านมาโรงงาน PPP รับก๊าซฯ อยู่ประมาณ 1.2 - 1.4 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (ประมาณร้อยละ 60 - 77 ของความสามารถ) ทั้งนี้ คาดการณ์ว่าแหล่งบูรพาจะกลับมาผลิตได้เต็มที่ในช่วงต้นปี 2561 และทำให้การใช้กำลังการผลิต (utilization rate) ปรับตัวดีขึ้น และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตและต้นทุนการผลิตไม่ผันผวนมากจนเกินไป ปริมาณก๊าซที่จะใช้ในการคำนวณต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ต่อหน่วย (บาทต่อกิโลกรัม) จึงคิดจากการใช้กำลังการผลิตที่ร้อยละ 70 ของความสามารถในการผลิตทั้งหมด (6,300 ตันต่อปี) หรือเท่ากับ 12 ตันต่อวัน (4) ระยะเวลา จะคำนวณทุกสามเดือนโดยใช้ค่าเฉลี่ยต้นทุนย้อนหลังสามเดือนก่อนหน้า เช่น ราคาต้นทุนในเดือนพฤศจิกายน 2560 – มกราคม 2561 จะใช้ต้นทุนจริงของเดือนสิงหาคม – ตุลาคม 2560 ซึ่งสอดคล้องกับการคำนวณต้นทุนของโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัทอื่น
3. จากหลักเกณฑ์การคำนวณข้างต้น ทำให้ต้นทุนจริงของการผลิตก๊าซ LPG ต่อหน่วยของ UAC ของไตรมาสที่ 1 – 4 ของปี 2560 อยู่ที่ 15.68 15.42 16.44 และ 15.85 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ สำหรับราคาต้นทุนก๊าซ LPG ประจำเดือนพฤศจิกายน 2560 – มกราคม 2561 อยู่ที่ 15.96 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบด้วย ค่าเนื้อก๊าซธรรมชาติ 3.47 บาทต่อกิโลกรัม ค่า CAPEX 6.12 บาทต่อกิโลกรัม และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ (Operation Cost) 6.37 บาทต่อกิโลกรัม โดยเฉลี่ยต้นทุนการผลิตของ UAC อยู่ที่ระดับราคา 16 บาทต่อกิโลกรัม สูงกว่าต้นทุนที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. สผ. สยาม และของบริษัท ปตท. ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 15 และ 13 บาทต่อกิโลกรัมตามลำดับ เนื่องด้วยขนาดกำลังการผลิต (capacity) ที่แตกต่างกันส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินการของ UAC สูงกว่าของบริษัทอื่น โดยโรงงาน PPP ของบริษัท UAC ผลิตก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 360 ตันต่อเดือน ในขณะที่โรงแยกก๊าซฯ ของบริษัท ปตท.สผ.สยาม และบริษัท ปตท. ผลิตได้ในระดับ 6,500 และ 310,000 ตันต่อเดือนตามลำดับ หรือที่สัดส่วนการผลิต UAC:ปตท. สผ.สยาม:ปตท. ประมาณ 1:18:860
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบกำหนดต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (UAC) เดือนพฤศจิกายน 2560 ให้เท่ากับต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. สผ. สยาม จำกัด
2. มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน รับข้อสังเกตของที่ประชุมไปศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการคำนวณต้นทุนการผลิตก๊าซ LPG ของโรงแยกก๊าซฯ ของตนเอง (Cost Plus) ของบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (UAC) และนำมาเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาอีกครั้ง
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 20 ตุลาคม 2560 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) มีมติเห็นชอบ เรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ดังนี้ (1) เปลี่ยนหลักเกณฑ์การอ้างอิงราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากเดิมที่อ้างอิงด้วยราคา CP ที่ประกาศรายเดือนเป็นอ้างอิงด้วยราคา LPG cargo จากข้อมูล Spot Cargo (FOB Arab Gulf) ของ Platts เฉลี่ยรายสัปดาห์แทนโดย ราคานำเข้าเท่ากับ LPG cargo + X (ค่าใช้จ่ายในการนำเข้า) (2) กำหนดเพดานการอุดหนุนราคาก๊าซ LPG (Subsidy Cap) โดยจำกัดปริมาณเงินการชดเชยราคาสูงสุดในแต่ละเดือนให้ไม่เกินร้อยละ 5 ของฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของเดิม (ทั้งบัญชีน้ำมันและบัญชี LPG) และ (3) ปรับกลไกการอ้างอิงราคาก๊าซ LPG จากเดิมที่ใช้ราคาขายปลีกการคำนวณด้วยโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซ LPG เป็นการใช้ราคาขายปลีกของผู้ค้าแทน
2. สถานการณ์ก๊าซ LPG ในเดือนพฤศจิกายน 2560 สรุปได้ดังนี้ ปริมาณการผลิตภายในประเทศอยู่ที่ ประมาณ 525,918 ตัน ความต้องการใช้อยู่ที่ประมาณ 537,798 ตัน ปริมาณความต้องการใช้ไม่เพียงพออยู่ที่ 11,880 ตัน ซึ่งจะมีการนำเข้าก๊าซ LPG มาชดเชยปริมาณที่ขาด โดยคาดว่าปริมาณนำเข้าอยู่ที่ 47,500 ตัน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นการนำเข้ามาเพื่อการส่งออก (re - export) จำนวน 3,500 ตัน ส่วนปริมาณการส่งออกจากปริมาณการผลิตภายในประเทศประมาณ 35,600 ตัน
3. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ในเดือนพฤศจิกายน 2560 สรุปได้ว่า ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลก (CP) เดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ 577.50 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ราคาไม่เปลี่ยนแปลงจากเดือนตุลาคม 2560 ราคาก๊าซ LPG Cargo สัปดาห์ที่ 1 (วันที่ 30 ตุลาคม 2560 – 3 พฤศจิกายน 2560) อยู่ที่ 566.90 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อน 4.00 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน ราคาก๊าซ LPG นำเข้า (LPG Cargo + X) อยู่ที่ 20.4776 บาทต่อกิโลกรัม (614 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2560 ที่ 0.2440 บาทต่อกิโลกรัม สำหรับตันทุนการผลิตก๊าซ LPG ภายในประเทศระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2560 – มกราคม 2561 สรุปได้ดังนี้ ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ อยู่ที่ 13.3723 บาทต่อกิโลกรัม (401 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) ปรับตัวเพิ่มขึ้น จากเดือนก่อน 0.0674 บาทต่อกิโลกรัม ต้นทุนราคาก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. สผ. สยามจำกัด อยู่ที่ 14.50 บาทต่อกิโลกรัม (434 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) ปรับตัวลงจากเดือนก่อน 0.6000 บาทต่อกิโลกรัม และต้นทุนก๊าซ LPG จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) (UAC) อยู่ที่ 15.96 บาทต่อกิโลกรัม (479 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) และสำหรับอัตราแลกเปลี่ยน เฉลี่ยสัปดาห์ที่ 1 (วันที่ 30 ตุลาคม 2560 – 3 พฤศจิกายน 2560) อยู่ที่ 33.3391 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ อ่อนค่าลงจากจากสัปดาห์ก่อน 0.0422 บาทต่อ เหรียญสหรัฐฯ
4. จากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกที่ทรงตัว และการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การอ้างอิงราคาก๊าซ LPG นำเข้าจากเดิมที่อ้างอิงด้วยราคา CP ที่ประกาศรายเดือน (CP+X) เป็นอ้างอิงด้วยราคา LPG Cargo (LPG Cargo +X) ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ที่อ้างอิงราคานำเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) ปรับลดลง 0.2440 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 20.7216 บาทต่อกิโลกรัม (621.9712 เหรียญสหรัฐฯต่อตัน) เป็น 20.4776 บาทต่อกิโลกรัม ฝ่ายเลขานุการฯ ได้เสนอแนวทางการกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้ (1) ต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ในเดือนพฤศจิกายน 2560 มีราคาอยู่ที่ 13.3723 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อบวกกับอัตราเงินสำหรับส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ที่ 0.67 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้กรอบการกำหนดเพดานราคาขั้นสูงของโรงแยกก๊าซธรรมชาติ อยู่ที่ 14.0423 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) 6.4353 บาทต่อกิโลกรัม จึงเห็นสมควรเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากโรงแยก ก๊าซธรรมชาติ ที่อัตรา 6.4353 บาทต่อกิโลกรัม (2) ต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท.สผ. สยาม จำกัด ในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ 14.5000 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อบวกกับอัตราเงินสำหรับส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันที่ 0.67 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้กรอบการกำหนดเพดานราคาขั้นสูงของโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. สผ.สยาม จำกัด อยู่ที่ 15.1700 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อ ตั้งต้นของก๊าซ LPG อยู่ที่ 5.3076 บาทต่อกิโลกรัม จึงเห็นสมควรเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่อัตรา 1.3421 บาทต่อกิโลกรัม (เนื่องจากต้องหักภาษีและกองทุนฯ #2 เท่ากับ 3.9655 บาทกิโลกรัม) (3) ต้นทุนโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ UAC ในเดือนพฤศจิกายน 2560 อยู่ที่ 15.9600 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อบวกกับอัตราเงินสำหรับส่งเสริมให้เกิดการแข่งขัน ที่ 0.67 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้กรอบการกำหนดเพดานราคาขั้นสูงของโรงแยกก๊าซธรรมชาติของ UAC อยู่ที่ 16.63 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งต่ำกว่าราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้า ซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG อยู่ที่ 3.8476 บาทต่อกิโลกรัม จึงเห็นสมควรเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ จากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่อัตรา 3.876 บาทต่อกิโลกรัม ประกอบกับกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนก๊าซ LPG ยังคงมีเงินสะสมอยู่ 4,649 ล้านบาท ณ วันที่ 29 ตุลาคม 2560 ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ เพื่อรักษาเสถียรภาพราคา 2 แนวทาง ดังนี้ แนวทางที่ 1 คงราคาขายปลีก ที่ 21.15 บาทต่อกิโลกรัม โดยกองทุนน้ำมันฯ ปรับลดอัตราเงินชดเชย 0.2440 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมชดเชยที่ 6.5965 บาทต่อกิโลกรัม เป็นชดเชย 6.3525 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกคงเดิมที่ 21.15 บาทต่อกิโลกรัม ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 941 ล้านบาทต่อเดือน และแนวทางที่ 2 ปรับราคาขายปลีก เป็น 21.82 บาทต่อกิโลกรัม ปรับเพิ่มขึ้น 10 บาทต่อถัง 15 กก. โดยกองทุนน้ำมันฯ ปรับลดอัตราเงินชดเชย 0.8702 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิมชดเชยที่ 6.5965 บาทต่อกิโลกรัม เป็นชดเชย 5.7263 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งส่งผลให้ราคาขายปลีกเพิ่มขึ้น 0.67 บาทต่อกิโลกรัม จาก 21.15 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 21.82 บาทต่อกิโลกรัม (หรือ 10 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม) ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ มีรายจ่าย 720 ล้านบาทต่อเดือน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบแนวทางการปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ตามแนวทางที่ 1 คงราคาขายปลีก กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงชดเชย 6.5965 บาทต่อกิโลกรัม ดังนี้
(1) ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่ผลิตในราชอาณาจักรโดยโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง กิโลกรัมละ 6.4353 บาท ทั้งนี้ไม่รวมถึงก๊าซที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร และก๊าซที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย
(2) ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่ผลิตในราชอาณาจักรโดยโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย ที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง กิโลกรัมละ 5.3076 บาท
(3) ให้กำหนดอัตราเงินชดเชยของกองทุนสำหรับก๊าซที่จำหน่ายเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิง กิโลกรัมละ 6.3525 บาท ทั้งนี้ไม่รวมถึงก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร
(4) ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนสำหรับก๊าซที่ซื้อหรือได้มาจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ของบริษัท ปตท.สผ.สยาม จำกัด อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร กิโลกรัมละ 1.3421 บาท
(5) กรณีก๊าซที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 ให้กำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนกิโลกรัมละ 0.70 บาท แต่ทั้งนี้ไม่รวมถึงก๊าซที่นำเข้า มาในราชอาณาจักรหรือก๊าซที่ผลิตจากก๊าซที่นำเข้ามาใช้ในราชอาณาจักรตามที่ได้แจ้งต่อกรมธุรกิจพลังงานก่อนนำเข้ามาในราชอาณาจักร
(6) กรณีก๊าซที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออกไปนอกราชอาณาจักร ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และได้รับเงินชดเชยจากองทุนน้ำมันแล้วให้ส่งเงินชดเชยคืนกองทุน กิโลกรัมละ 6.3525 บาท
2. เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ฉบับที่ 26 พ.ศ. 2560 เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย และอัตราเงินคืนกองทุน สำหรับก๊าซ
ทั้งนี้ มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปดำเนินการออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2560 เป็นต้นไป
กบง.ครั้งที่76 -วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 2/2562 (ครั้งที่ 76)
วันพุธที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09.00 น.
1. แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 (PDP2018)
2. กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ....
3. แนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ของกระทรวงพลังงาน
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายเพทาย หมุดธรรม)
แทนผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผน
สรุปสาระสำคัญ
คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในการประชุมเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562
ได้พิจารณาแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018) และมีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 (PDP2018) โดยให้มีการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี
หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผนอย่างมีนัยสำคัญ (2) มอบหมายให้
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพของระบบส่งไฟฟ้าของประเทศ เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้า (Grid connection) ในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในอนาคต (Grid Modernization) และเสนอให้กระทรวงพลังงาน พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
(3) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาแนวทางการจัดหาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผน PDP2018 ซึ่งครอบคลุมถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลาดำเนินโครงการ พื้นที่ ปริมาณและราคารับซื้อไฟฟ้า เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ ความพร้อมและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว และการยอมรับชนิดของเชื้อเพลิงในด้านสิ่งแวดล้อมในการจัดหากำลังการผลิตที่เหมาะสม (4) เห็นชอบให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการตามแนวทางของ กบง. ในข้อ (3) และเสนอผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ กฟผ. ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป และ (5) มอบหมายให้ กบง. และ กกพ. ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชน ปีละ 100 เมกะวัตต์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ต่อมาเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2562 สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานได้ประชุมหารือ กับ กกพ. และ กฟผ. เพื่อเตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานรับไปจัดทำแผนปฏิบัติการของแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 - 2580 (PDP2018) ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มีมติไว้เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 เพื่อนำเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณา
เรื่องที่ 2 ร่างประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. ....
สรุปสาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานและผลการวิจัยในต่างประเทศที่ระบุว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ช่วยลดการปล่อย PM 2.5 ได้ประกอบกับสถานการณ์ราคาปาล์มน้ำมันตกต่ำ การเพิ่มปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 จะช่วยเพิ่มการใช้น้ำมันปาล์มในประเทศได้ รวมทั้งการกำหนดมาตรฐานคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ยังจะช่วยให้อุตสาหกรรมยานยนต์สามารถกำหนดแผนการพัฒนาเทคโนโลยียานยนต์ให้รองรับการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม แต่เนื่องจากปัจจุบันการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 กำหนดให้จำหน่ายให้แก่ Fleet รถขนาดใหญ่เฉพาะกลุ่ม และต้องขอความเห็นชอบจากกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ก่อน ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้ ธพ. ออกประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีส่วนผสมของไบโอดีเซลร้อยละ 20 หรือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 เป็นการเร่งด่วน เพื่อให้สามารถจำหน่ายในสถานีบริการทั่วไปได้ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562
2. เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2562 ธพ. ได้จัดประชุมหารือกับผู้ผลิตรถยนต์ขนาดใหญ่และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 เพื่อรับฟังความคิดเห็นต่อร่างประกาศกำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 เพื่อจำหน่ายเป็นการทั่วไป และได้ยกร่างประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. .... เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 เป็น 2 ช่องทาง ได้แก่ (1) การจำหน่ายให้กับกลุ่มรถขนส่ง ขนาดใหญ่ที่สมัครใจ และมีศักยภาพในการบำรุงรักษารถของตนเอง โดยเป็นรุ่นรถที่ค่ายรถยนต์รับรองให้ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 หรือไม่รับรองก็ได้ แต่งต้องแจ้งความสมัครใจในการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 และผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 จะขอความเห็นชอบจาก ธพ. ก่อนการจำหน่าย และ (2) การจำหน่ายในสถานีบริการผู้ค้าน้ำมันทั่วไป จะมีการให้ข้อมูลรุ่นรถที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้ใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ได้ และเงื่อนไขการรับรองที่ผู้ผลิตรถยนต์กำหนดให้ประชาชนทั่วไปได้ทราบ โดยจัดทำเป็นบัญชีรายชื่อรุ่นรถแนบท้ายประกาศ ธพ. รวมถึงจะมีการประชาสัมพันธ์ในเว็บไซต์ ธพ. และจัดทำเอกสารให้ผู้ค้าน้ำมันประชาสัมพันธ์แนะนำรวมทั้งติดตั้งป้าย ณ สถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ให้เห็นเด่นชัด
3. สาระสำคัญของร่างประกาศฯ มีดังนี้ (1) กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 (2) กำหนดให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ใช้เฉพาะกับรถยนต์ที่ผู้ผลิตรถยนต์รับรองให้สามารถใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ได้ (3) กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ตามกรณีน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 7 แต่ปรับเปลี่ยนสัดส่วนผสมไบโอดีเซลเป็นร้อยละ 19 - 20 โดยปริมาตร โดยกำหนดให้เติมสีแดง และมีการระบุรายละเอียดรุ่นรถ/ปี ค.ศ. ที่ผลิต/เงื่อนไขในการรับรอง (ถ้ามี) ตามข้อมูลที่ผู้ผลิตรถจัดส่งให้ ธพ. เพื่อรับรองว่ารถยนต์สามารถใช้งานน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ได้ ตามแนบท้ายประกาศฯ ทั้งนี้ ธพ. ได้นำร่างประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล พ.ศ. .... เผยแพร่บนเว็บไซต์เพื่อรับฟังความคิดเห็น ระหว่างวันที่ 25 - 29 มกราคม 2562 และจะประกาศในราชกิจจานุเบกษาภายในวันที่ 31 มกราคม 2562 เพื่อให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
เรื่องที่ 3 แนวทางการสนับสนุนโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ของกระทรวงพลังงาน
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะรัฐมนตรีในการประชุมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2561 ได้มีมติมอบหมายให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ดำเนินโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดยจะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมดำเนินงานในกิจการของรัฐในรูปแบบ Public Private Partnership (PPP) ในการพัฒนาท่าเรือก๊าซและท่าเรือสินค้าเหลว เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการขนถ่ายก๊าซธรรมชาติ และสินค้าเหลวของท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดซึ่งอยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด โดยโครงการดังกล่าวเป็นโครงการเร่งด่วนภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) ที่มีแผนดำเนินการสรรหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนให้แล้วเสร็จภายในไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดหาเอกชนเข้าร่วมลงทุนในช่วงที่ 1 (การก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่ประกอบไปด้วย พื้นที่ถมทะเลหลังท่า พื้นที่บ่อเก็บตะกอนดินเลน งานส่วนท่าเรือก๊าซ และงานส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น)
2. เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 กระทรวงอุตสาหกรรมได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อขอความอนุเคราะห์ให้กระทรวงพลังงานพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานของภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานในโครงการดังกล่าวจากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อให้การดำเนินโครงการบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของรัฐบาล ซึ่ง กระทรวงพลังงาน มีความเห็นว่า การส่งเสริมการลงทุนพัฒนาโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 จะช่วยสร้างความเข้มแข็งให้กับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศได้ในระยะยาว และเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติของประเทศตามเป้าหมายของกระทรวงพลังงาน ทั้งนี้ การออกใบอนุญาตในส่วนที่เกี่ยวข้อง (ใบอนุญาตเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ และใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ) ให้กับผู้รับสัมปทานโครงการตามมติคณะรัฐมนตรี ดังกล่าวจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุน และเพิ่มการแข่งขันในธุรกิจก๊าซธรรมชาติของประเทศ รวมทั้งทำให้การดำเนินโครงการภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกบรรลุตามเป้าหมายของรัฐบาล กระทรวงพลังงานจึงเห็นสมควรเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ ในส่วนที่เกี่ยวข้อง (ใบอนุญาตเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ และใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ) ให้กับภาคเอกชนที่ได้รับสัมปทานโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 (ช่วงที่ 1) จากการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
มติของที่ประชุม
ที่ประชุมรับทราบ
สรุปสาระสำคัญ
1. จากสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 กระทรวงพลังงานมีแนวทางในการช่วยลดผลกระทบจากปัญหาดังกล่าว โดยการส่งเสริมใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ในรถบรรทุกขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายภาคขนส่ง รวมทั้งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ทั้งนี้ ธพ. จะมีการออกประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันดีเซล สำหรับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้สามารถจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ในสถานีบริการน้ำมันได้
2. คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ชดเชยให้กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ในอัตรา 4.00 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วปกติ 5 บาทต่อลิตร จนถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 ต่อมา กบง. เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561 มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ชดเชยให้กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร เป็นอัตรา 4.50 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป โดยลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ที่ผู้ค้ามาตรา 7 จำหน่ายต้องได้รับความเห็นชอบจากอธิบดี ธพ. ตามกฎหมายว่าด้วยการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง แต่ไม่รวมถึงลักษณะและคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ในรายละเอียดตามแนบท้ายประกาศ ธพ.
3. เพื่อให้ประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ สอดคล้องกับประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันดีเซลฯ จึงมีความจำเป็นต้องแก้ไขเพิ่มเติมประกาศ กบง. เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ทั้งนี้ ขอให้มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานดำเนินการออกประกาศ กบง. พร้อมกับประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันดีเซลมีผลบังคับใช้
มติของที่ประชุม
มอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานออกประกาศคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง การกำหนดอัตราเงินส่งเข้ากองทุน อัตราเงินชดเชย อัตราเงินคืนกองทุน และอัตราเงินกองทุนคืนสำหรับน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้มีผลบังคับใช้พร้อมกับที่ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะ และคุณภาพของน้ำมันดีเซลมีผลบังคับใช้
กบง.ครั้งที่ 79 วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2562 (ครั้งที่ 79)
วันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 13.30 น.
1. การจัดหาไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันตก
2. หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
3. การส่งเสริมน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ต่อเนื่อง
4. ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายศิริ จิระพงษ์พันธ์)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
เรื่องที่ 1 การจัดหาไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันตก
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2562 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติดังนี้ (1) เห็นชอบแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561-2580 (PDP 2018) โดยให้มีการทบทวนใหม่ทุก 5 ปี หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายของแผนอย่างมีนัยสำคัญ (2) มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ศึกษาและจัดทำแผนการพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าของประเทศเพื่อเสริมความมั่นคงของระบบไฟฟ้า เพิ่มประสิทธิภาพระบบส่งไฟฟ้า เป็นศูนย์กลางซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค รวมถึงการเชื่อมโยงกับระบบจำหน่าย เพื่อให้สามารถรองรับการเพิ่มขึ้นของพลังงานหมุนเวียนในอนาคตและเสนอให้กระทรวงพลังงานพิจารณาต่อไป (3) มอบหมายให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาแนวทางการจัดหาโรงไฟฟ้าให้เป็นไปตามที่ระบุไว้ในแผน PDP 2018 ซึ่งครอบคลุมถึงหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการรับซื้อไฟฟ้า ระยะเวลาดำเนินโครงการ พื้นที่ ปริมาณและราคารับซื้อไฟฟ้า เทคโนโลยีและเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า รวมถึงประเด็นอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยคำนึงถึงความมั่นคงของระบบไฟฟ้าภาคตะวันตกและภาคใต้ ความพร้อมและการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานที่มีอยู่แล้ว และการยอมรับชนิดของเชื้อเพลิงในด้านสิ่งแวดล้อม ในการจัดหากำลังการผลิตที่เหมาะสม (4) เห็นชอบให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการตามแนวทางของ กบง. ในข้อ (3) และเสนอผลการดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ กฟผ. ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป และ (5) มอบหมายให้ กบง. และ กกพ. ร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการโครงการพลังงานแสงอาทิตย์โซลาร์ภาคประชาชน ปีละ 100 เมกะวัตต์ 10 ปี ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
2. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 กบง. ได้มีมติเห็นชอบกรอบ แนวทาง และแผนการดำเนินงานภายใต้แผน PDP 2018 ดังนี้ ส่วนที่ 1 โรงไฟฟ้าทดแทนและโรงไฟฟ้าใหม่ภาคตะวันตกในปี 2567-2568 (1) ให้ กกพ. ดำเนินการเจรจากับกลุ่มผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) ในการดำเนินการโรงไฟฟ้าภาคตะวันตกเดิม ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2567 และการก่อสร้างใหม่ ขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2568 (2) ให้ กกพ. พิจารณาเปรียบเทียบการดำเนินการในข้อ (1) กับการเปิดให้มีการประมูลโรงไฟฟ้าใหม่ภาคตะวันตกขนาดกำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ เพื่อจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบในปี 2568 และ (3) ให้นำเสนอผลการดำเนินการตามข้อ (1) และ (2) ให้ กบง. พิจารณา และส่วนที่ 2 โรงไฟฟ้าขนาด 540 เมกะวัตต์ ของบริษัท เนชั่นแนล เพาเวอร์ ซัพพลาย จำกัด (มหาชน) (NPS) ให้ กกพ. ดำเนินการเจรจาราคารับซื้อไฟฟ้ากลุ่มบริษัท NPS ในกรณีการเปลี่ยนเชื้อเพลิงจากถ่านหินเป็นก๊าซธรรมชาติ โดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ให้ กกพ. ยืนยันว่าการปฏิบัติดังกล่าวสามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดกับกฎหมาย และเสนอดำเนินการต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบให้ กฟผ. ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าต่อไป
3.โรงไฟฟ้าในภาคตะวันตกตามแผน PDP 2018 ในช่วงปี 2561 – 2570 มีแผนดังนี้ (1) ปี 2563 ปลดไตรเอนเนอยี่ เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 700 เมกะวัตต์ (2) ปี 2567 สร้างโรงไฟฟ้าทดแทน เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 700 เมกะวัตต์ (3) ปี 2568 ปลดผลิตไฟฟ้าราชบุรี เครื่องที่ 1-2 เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติและน้ำมันขนาด 1,440 เมกะวัตต์ (4) ปี 2568 สร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 700 เมกะวัตต์ และ (5) ปี 2570 ปลดผลิตไฟฟ้าราชบุรี ชุดที่ 1-3 เชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติ ขนาด 2,041 เมกะวัตต์
4.โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าประกอบไปด้วยสองส่วนหลัก (Two-Part Tariff) ดังนี้ (1) ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment: AP) ประกอบไปด้วย (AP1) เพื่อชดเชยเงินลงทุนในการก่อสร้างโรงไฟฟ้า และ (AP2) เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายคงที่อื่นๆในเการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า เช่น ค่าใช้จ่ายปฏิบัติการและบำรุงรักษาคงที่ โดยค่าใช้จ่าย AP1 และ AP2 จะถูกกำหนดใน Schedule 2 ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และ (2) ค่าใช้จ่ายผันแปร (Energy Payment: EP) ประกอบไปด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อชดเชยค่าเชื้อเพลิงและประกันประสิทธิภาพโรงไฟฟ้า (Fuel Payment) และค่าใช้จ่ายผันแปรอื่นๆที่เกิดจากการผลิตไฟฟ้า (VOM) โดยค่าใช้จ่าย Energy Payment จะถูกกำหนดใน Schedule 3 ของสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ทั้งนี้ ในกรณีที่ต้องลงทุนก่อสร้างระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเชื่อมโยงกับระบบของ กฟผ. จะมีค่าใช้จ่ายที่เรียกว่า ค่าใช้จ่ายในการเชื่อมโยงระบบ (New Transmission Facility: NTF) ซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้าจะเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายและโอนทรัพย์สินให้ กฟผ. ก่อนการเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้า โดย กฟผ. จะจ่ายคืนค่าใช้จ่ายให้เป็นรายเดือน ตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งหลักเกณฑ์กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าดังกล่าว เป็นหลักเกณฑ์ที่ใช้ประกอบสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ที่ผ่านมาและยังคงนำมาใช้ในการกำหนดโครงสร้างค่าไฟฟ้า IPP ในครั้งนี้
5. การเปรียบเทียบโรงไฟฟ้า IPP ใช้วิธีการเปรียบเทียบ Levelized Unit Price (LUP) โดย LUP ประกอบด้วย NPV[รายได้(AP+EP)]/NPV[หน่วยไฟฟ้าที่ผลิต] ตลอดอายุสัญญาซื้อขายไฟฟ้า โดยได้ใช้ Evaluation Model เป็นเครื่องมือในการคำนวณ LUP เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบโครงการ IPP ทั้งนี้ในการเปรียบเทียบโครง IPP จำเป็นจะต้องกำหนดสมมติฐานในการคำนวณ LUP เช่น อัตราส่วนลด (Discount Rate), อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) และการเปลี่ยนแปลงของ Fx, CPI และการเปลี่ยนแปลงของ CPI, ราคาก๊าซธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงของราคาก๊าซธรรมชาติ รวมถึง Dispatch Factor ตลอดอายุโครงการลักษณะเดียวกันเพื่อให้สามารถเปรียบเทียบกันได้ ทั้งนี้สมมติฐานที่สำคัญใน Evaluation model เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบมีดังนี้ (1) อัตราส่วนลดเท่ากับร้อยละ 8(2) Dispatch Factor เท่ากับร้อยละ 92.45 (3) อัตราแลกเปลี่ยน (Fx) เท่ากับ 31.8 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (คงที่)(4) US CPI และ Thai CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.5 ต่อปี โดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยจากปี 2556 (ปี 2561 เป็นปีฐาน) (5) USD Indexation Allowance (ค่า AP) เท่ากับ ร้อยละ 50 ต่อร้อยละ 50 และ (6) ราคาก๊าซฯ เท่ากับ 244.2 บาทต่อล้านบีทียู (ราคาคงที่ตาม PDP 2018) โดยในการเปรียบเทียบครั้งนี้กำหนดให้ใช้ Gulf PD เป็นโครงการเปรียบเทียบเนื่องจากโครงการ Gulf PD เป็นโครงการที่มีขนาด เทคโนโลยี และกำหนดเวลาเดินเครื่องเชิงพาณิขย์ (COD) ที่เทียบเคียงกับโครงการที่เสนอโดยกลุ่มบริษัทราชบุรี (RATCH) ทั้งนี้โครงการ Gulf PD มีข้อมูลเบื้องต้นดังนี้ (1) PPA (PPA1+PPA2) เท่ากับ 2,500 เมกะวัตต์ (1,250 เมกะวัตต์ บวก 1,250 เมกะวัตต์) (2) ด้าน Technology ใช้ Gas Turbine Combined Cycle (3) ด้าน Plant Configuration เป็นแบบ 2x625 บวก 2x625 เมกะวัตต์ และ (4) SCOD ในปี 2567 (มีนาคม 2567 และ ตุลาคม 2567)
6.ปริมาณที่จะเจรจารับซื้อไฟฟ้า มี 2 กรณี คือ (1) กรณีที่ 700 เมกะวัตต์ อายุสัญญาฯ 25 ปี และสามารถเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2567 และ (2) กรณี 1,400 เมกะวัตต์ อายุสัญญาฯ 25 ปี และสามารถเริ่มจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ในปี 2567 จำนวน 700 เมกะวัตต์ และปี 2568 จำนวน 700 เมกะวัตต์ โดยได้พิจารณาข้อเสนอเทคนิคเบื้องต้น และพิจารณาราคารับซื้อไฟฟ้าเทียบเคียงกันได้กับรายอื่น (Reference price) ที่มีปีเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ ใกล้เคียงกับปีที่เริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ของโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่ (TECO) ใหม่ รวมถึง พิจารณานำเงินทุนที่สามารถประหยัดได้จากการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภคที่มีอยู่เดิม เช่น ระบบสายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น มาปรับพิจารณาราคารับซื้อ นอกจากนี้ เงื่อนไขและหลักเกณฑ์ประกอบราคารับซื้อจะต้องเป็นไปตามแนวทางที่ถือปฏิบัติของสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ IPP ทั่วไป เช่น ค่าความพร้อมจ่าย (Availability Payment) ประสิทธิภาพของการใช้พลังงาน (Heat Rate) เป็นต้น
7.บริษัท RATCH ได้ยื่นข้อเสนอ ดังนี้ (1) กำหนดวัน SCOD กรณี 700 เมกะวัตต์ คือ เดือนมีนาคม 2567 ส่วนกรณี 1,400 เมกะวัตต์ คือ เดือนมีนาคม 2567 และเดือนมกราคม 2568 (2) ข้อเสนอเทคนิค โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม (Combined Cycle) กังหันก๊าซและกังหันไอน้ำเชื่อมต่อกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าในรูปแบบเพลาเดี่ยว (Single-shaft) เดียวกัน จำนวน 1 ชุด กรณี 700 เมกะวัตต์ และ 2 ชุด กรณี 1,400 เมกะวัตต์ โดยจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบสายส่ง กฟผ. 230 กิโลโวลต์ ไปยังสถานีไฟฟ้าราชบุรี 2 ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร และใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงหลัก ผ่านการเชื่อมต่อท่อส่งใหม่จากสถานีควบคุมก๊าซธรรมชาติ (BVW#12) ของ ปตท. ระยะทางประมาณ 9.4 กิโลเมตร โดยมีน้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิงสำรอง (3) ต้นทุนที่สามารถประหยัดได้จากโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอยี่ (TECO) เดิม ประกอบด้วย ระบบเชื่อมโยงไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ที่สถานีไฟฟ้าราชบุรี 2 เดิมที่ TECO เชื่อม กรณี 700 เมกะวัตต์ สามารถใช้สายส่งเดิมได้โดยไม่ต้องปรับปรุง ส่วนกรณี 1,400 เมกะวัตต์ ต้องเปลี่ยนสายไฟฟ้าเพื่อให้สามารถรับไฟฟ้าได้มากขึ้น ค่าใช้จ่ายประมาณ 200 ล้านบาท โดยใช้เสาส่งและ Right-of-Way เดิม (ประมาณ 7 กิโลเมตร) ซึ่งจะคิดเป็นต้นทุนในส่วนของ New Transmission Facility (NTF) Right-of-Way ของท่อน้ำดิบและท่อน้ำเสียเดิม จากแม่น้ำแม่กลองประมาณ 11 กิโลเมตร แต่ปรับปรุงสถานีสูบน้ำเดิมให้มีความเหมาะสม ก่อสร้างท่อน้ำเสียทดแทนท่อเดิม และเปลี่ยนเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ขึ้น พื้นที่เดิมของโรงไฟฟ้า TECO จำนวน 210 ไร่ (ไม่คิดราคาที่ดิน) และระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กรณี 700 เมกะวัตต์ ไม่ต้องดำเนินการปรับปรุง แต่กรณี 1,400 เมกะวัตต์ จะต้องดำเนินการปรับปรุงระบบท่อส่งก๊าซธรมชาติเพิ่มเติมเพื่อให้สามารถจ่ายก๊าซได้เพียงพอ กล่าวโดยสรุป ต้นทุนที่สามารถประหยัดได้จากโรงไฟฟ้า TECO เดิม ประกอบด้วย แนวสายส่งและ Right-of-Way 7 กิโลเมตร จำนวน 200 ล้านบาท และท่อก๊าซฯ ท่อน้ำเสีย และอื่นๆ อีก 700 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นเป็นต้นทุนที่สามารถประหยัดได้จำนวน 900 ล้านบาท (4) ข้อเสนอ Heat Rate ทั้ง 2 กรณีมีค่า Heat Rate เฉลี่ย 6,184 บีทียูต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (5) วงเงินลงทุนโครงการ (ไม่รวม VAT และ Working Capital) กรณี 700 เมกะวัตต์ 21,969 ล้านบาท และกรณี 1,400 เมกะวัตต์ 36,476 ล้านบาท และ (6) ข้อเสนอด้านราคาของ RATCH จำนวน 4 ครั้ง แต่ละครั้งแบ่งเป็นกรณี 700 เมกะวัตต์ และกรณี 1,400 เมกะวัตต์ ประกอบด้วยข้อเสนอครั้งที่หนึ่ง เท่ากับ 2.3090 บาทต่อหน่วย และ 2.1356 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ ข้อเสนอครั้งที่สอง เท่ากับ 2.2466 บาทต่อหน่วย และ 2.0365 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ ข้อเสนอครั้งที่สาม เท่ากับ 2.2160 บาทต่อหน่วย และ 1.9967 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ และข้อเสนอครั้งที่สี่ เท่ากับ 2.2160 บาทต่อหน่วย และ 1.9930 บาทต่อหน่วย ตามลำดับ
8.ผลการเปรียบเทียบระหว่าง RATCH และ Gulf PD พบว่า Heat Rate โครงการที่ RATCH เสนอทั้ง 2 กรณีมีค่า Heat Rate เฉลี่ย 6,184 บีทียูต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ดีกว่าโรงไฟฟ้า GULF PD โดยจะทำให้การใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยลดลง ในขณะที่ อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (LUP) เปรียบเทียบเฉพาะผลรวมค่า AP และ EP ซึ่งเป็นเฉพาะส่วนของโรงไฟฟ้า โดยไม่รวมค่า AFC (ค่าระบบส่งไฟฟ้า: NTF) กรณี GULF PD มี LUP 1.9858 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (BOI 8 ปี + 50% 5 ปี) บวกเพิ่ม 0.0110 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (เสมือนได้รับ BOI 3 ปี ให้เท่ากับ RATCH) ทำให้ LUP ของ GULF PD เท่ากับ 1.9968 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และนำมาใช้เป็นราคาฐาน ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบ ณ ฐานสิทธิประโยชน์การรับการส่งเสริมการลงทุน (BOI) บนฐานเดียวกันกับข้อเสนอ RATCH จะพบว่า กรณี 700 เมกะวัตต์ สูงกว่า GULF PD 0.2191 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และกรณี 1,400 เมกะวัตต์ ต่ำกว่า GULF PD 0.0038 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง และจากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า ข้อเสนอของ RATCH กรณี 1,400 เมกะวัตต์ (2 units ในพื้นที่เดียวกัน) สามารถใช้ประโยชน์จากการใช้ Common Facilities เช่น สายส่งไฟฟ้า ท่อก๊าซ บ่อน้ำดิบ และการ Operation ร่วมกันได้ ถึงแม้ว่ากรณี 1,400 เมกะวัตต์ จำเป็นต้องดำเนินการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเดิม เช่น ท่อก๊าซฯ และสายส่ง ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงเพิ่มขึ้นมากกว่ากรณี 700 เมกะวัตต์ แต่ผลของการใช้ common Facilities ร่วมกันส่งผลต่อ LUP มากกว่าการประหยัด จึงทำให้ LUP กรณี 1,400 เมกะวัตต์ ต่ำกว่ากรณี 700 เมกะวัตต์ (1 unit) นอกจากนี้ ในการจัดหาเครื่องจักรหรือ EPC (2 Units หรือ 1 Unit) ในกรณีของ RATCH อาจไม่สามารถต่อรองราคาสู้ได้เมื่อเทียบกับโครงการ GULF 8 units ซึ่งได้รับการคัดเลือก 2 โครงการ รวม 5,000 เมกะวัตต์ (8x625 เมกะวัตต์) แต่อย่างไรก็ตาม อัตรา LUP ที่ RATCH เสนอกรณี 2 Units 1,400 เมกะวัตต์ 1.9930 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง ต่ำกว่า GULF PD 0.0038 บาทต่อกิโลวัตต์ชั่วโมง (เมื่อเปรียบเทียบ ณ ฐาน BOI บนฐานเดียวกัน) ซึ่งมีเหตุมาจากการที่สามารถประหยัดต้นทุนบางส่วนจากการใช้ Facilities เดิมของโรงไฟฟ้า TECO และการใช้เครื่องจักรที่มีประสิทธิภาพดีกว่า (ค่า Heat Rate ที่ดีกว่า)
9.การเปรียบเทียบการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ และกรณีเจรจา 1,400 เมกะวัตต์ สามารถสรุปได้ดังนี้ (1) ความคุ้มค่าการลงทุนส่วนโรงไฟฟ้า (EPC ต่อเมกะวัตต์: AP1) กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ มีต้นทุน EPC สูงกว่า (AP1 สูงกว่า) กรณีเจรจา 1,400 เมกะวัตต์ เนื่องจากไม่สามารถใช้ Common Facility ร่วมกันได้ และการแยกสั่งซื้อเครื่องจักรแต่ละโครงการ ทำให้ไม่เกิด Economy of Scale (2) ค่าใช้จ่ายในการ Operation (AP2) กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ มีต้นทุนสูงกว่ากรณีเจรจา 1,400 เมกะวัตต์ เนื่องจากมีค่าใช้จ่าย เช่น ค่าบริหารจัดการโรงไฟฟ้า ค่าอะไหล่เครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น ที่ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ (3) กระบวนการรับซื้อ กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ มีค่าใช้จ่ายในการเปิดประมูลและต้องใช้เวลาในกระบวนการรับซื้อ ในขณะที่กรณีเจรจา 1,400 เมกะวัตต์ ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปิดประมูลและสามารถดำเนินการได้ในระยะเวลาสั้น (4) ความเสี่ยงในการพัฒนาโครงการ กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ โครงการมีที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใหม่จะต้องใช้ระยะเวลาในการพัฒนาโครงการ (EIA และกระบวนการมีส่วนร่วมของของชุมชน) นานกว่าและมีความเสี่ยงที่ 700 เมกะวัตต์ (เปิดประมูล) อาจจะ COD ไม่ทันตามที่กำหนดใน PDP 2018 (5) ระบบส่งเชื่อมโยง กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ มีค่าใช้จ่ายก่อสร้างสายส่งใหม่ ประมาณ 360 ล้านบาท และต้องหา Right of Way ใหม่ (สมมติฐานว่าระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร บน Right of Way ใหม่) ในขณะที่ กรณีเจรจา 1,400 เมกะวัตต์ ต้องเปลี่ยนสายส่งใหม่ให้สามารถรองรับปริมาณไฟฟ้าได้มากกว่าเดิม 2 เท่า มีค่าใช้จ่ายประมาณ 110 ล้านบาท (เสาส่งและ Right of Way เดิม) และ (6) ผลกระทบต่อชุมชนในการก่อสร้าง New Facilities กรณีการเปิดประมูล 700 เมกะวัตต์ ชุมชนจะได้รับผลกระทบจากการรอนสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมเพื่อก่อสร้างสายส่งไฟฟ้าและท่อก๊าซสำหรับโครงการที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ใหม่ ดังนั้น ในภาพรวมกรณีดำเนินโครงการ 1,400 เมกะวัตต์ สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเดิมที่มีระบบโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว ไม่ส่งผลกระทบจากการรอนสิทธิ์ที่ดินต่อประชาชน อีกทั้งโครงการอยู่ในพื้นที่ตั้งโรงไฟฟ้าเดิมที่ได้รับการยอมรับจากชุมชนอยู่แล้ว ทำให้มีความแน่นอนที่จะสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ครบทั้ง 1,400 เมกะวัตต์ ตามกำหนดการในแผน PDP 2018 ซึ่งจะสร้างความมั่นคงในพื้นที่ภาคตะวันตกและยังสามารถช่วยเสริมความมั่นคงในพื้นที่ภาคใต้และเขตนครหลวงตามนโยบายของภาครัฐในการจัดทำแผน PDP 2018
มติของที่ประชุม
1.รับทราบการใช้หลักเกณฑ์โครงสร้างค่าไฟฟ้า IPP ซึ่งเป็นหลักการเดียวกับที่ใช้รับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (IPP) ในอดีต (Gulf PD 2,500 เมกะวัตต์) และนำมาใช้ในครั้งนี้
2.รับทราบผลการวิเคราะห์ข้อเสนอของกลุ่มผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (กลุ่ม RATCH) ในกรณี 1,400 เมกะวัตต์ ซึ่งมีข้อเสนอราคาต่ำกว่า Gulf PD 2,500 เมกะวัตต์ 0.0038 บาทต่อหน่วย
3.เห็นชอบให้กลุ่ม RATCH ดำเนินการโรงไฟฟ้า 1,400 เมกะวัตต์ ตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยให้กลุ่ม RATCH เป็นผู้รับผิดชอบเงินลงทุนการปรับปรุงท่อส่งก๊าซธรรมชาติและสายส่งไฟฟ้าเพื่อรองรับโครงการ
4.มอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับกลุ่ม RATCH ให้สามารถดำเนินโครงการได้ตามกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า PDP 2018
เรื่องที่ 2 หลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
สรุปสาระสำคัญ
1.คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว โดยราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย ซึ่งคำนวณจากหลักการเสมอภาคการนำเข้า (Import Parity) จากตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย (ประเทศสิงคโปร์) โดยมีส่วนประกอบหลักสองส่วนคือ ราคาน้ำมันดีเซลและค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ซึ่งประกอบด้วย ค่าขนส่ง ค่าประกันภัย ค่าสูญเสีย และค่าสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง โดยจากการติดตามผลลัพธ์การปรับปรุงหลักเกณฑ์การคำนวณราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน 2561 เป็นต้นมา พบว่าราคา ณ โรงกลั่นที่ภาครัฐใช้ในการติดตามมีค่าต่ำกว่าราคาที่ผู้ประกอบการใช้ในการซื้อขายจริงในตลาดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งเกิดจากความแตกต่างในส่วนของการอ้างอิงราคาน้ำมันดีเซลจากการที่ผู้ประกอบการยังคงยึดหลักเกณฑ์เดิมในการซื้อขาย กล่าวคืออ้างอิงด้วยราคา MOPS Gasoil 500 ppm บวกด้วย ค่าปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน มิได้อ้างอิงด้วยราคา MOPS Gasoil 50 ppm ตามที่มีการเปลี่ยนแปลง โดยให้เหตุผลว่าตลาดกลางภูมิภาคเอเชียยังคงซื้อขายกันด้วยมาตรฐาน Gasoil 500 ppm เป็นส่วนใหญ่
2. ประเทศไทยซื้อขายน้ำมันดีเซลโดยอ้างอิงตามมาตรฐานยูโร 4 ซึ่งตรงตามคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็วที่มีปริมาณกำมะถันอยู่ที่ 50 ppm (MOPS Gasoil 50 ppm) ตามมติ กบง. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2561 และจากการติดตามปริมาณการซื้อขายน้ำมันดีเซลตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย ของ S&G Global Platts ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 เป็นต้นมา พบว่าการซื้อขายด้วยมาตรฐาน Gasoil 10 ppm มีแนวโน้มสูงกว่า Gasoil 500 ppm ในขณะที่ไม่มีการซื้อขาย Gasoil 50 ppm ในตลาด และราคา MOPS Gasoil 50 ppm เกิดจาการประเมินของ S&G Global Platts ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาความแตกต่างราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซลของภาครัฐและผู้ประกอบการ ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอให้ปรับปรุงการอ้างอิงราคาน้ำมันดีเซล จากราคา MOPS Gasoil 50 ppm เป็นค่าเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคา MOPS Gasoil 500 ppm และราคา MOPS Gasoil 10 ppm ที่สัดส่วนร้อยละ 8.16 และร้อยละ 91.84 ตามลำดับ ซึ่งเป็นสัดส่วน Gasoil 500 ppm กับ 10 ppm ที่มีการซื้อขายจริง ในตลาดกลางภูมิภาคเอเชีย ให้เป็น Gasoil 50 ppm
3.ผลจากการปรับหลักเกณฑ์การคำนวณ ราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่นน้ำมันดีเซล เฉลี่ยตั้งแต่ 1 มกราคม – 30 เมษายน 2562 เพิ่มขึ้น 0.0614 บาทต่อลิตร (0.3067 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล) โดยที่ค่าพรีเมียม เท่ากับ ค่าขนส่ง World Scale ด้วยเรือขนาด LR1 แบบ Long Term Charter จากประเทศสิงคโปร์ถึงศรีราชา บวก ค่าขนส่งทางท่อจากศรีราชาถึงกรุงเทพฯ บวก ค่าประกันภัยร้อยละ 0.084 ของ C&F บวก ค่าสูญเสียร้อยละ 0.3 ของ CIF บวก ค่าสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง 0.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
มติของที่ประชุม
เห็นชอบให้ใช้ MOPS Gasoil 10 ppm และ MOPS Gasoil 500 ppm ในการคำนวณราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย ดังนี้
ราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วอ้างอิงราคากลางของตลาดภูมิภาคเอเชีย = (0.9184 x MOPS Gasoil 10 ppm + 0.0816 x MOPS Gasoil 500 ppm + พรีเมียม) ที่ 60 oF x อัตราแลกเปลี่ยน /158.984
โดยที่
พรีเมียม= ค่าขนส่ง World Scale ด้วยเรือขนาด LR1 แบบ Long Term Charter (สิงคโปร์ – ศรีราชา) + ค่าขนส่งทางท่อ (ศรีราชา – กรุงเทพฯ) + ค่าประกันภัยร้อยละ 0.084 ของ C&F + ค่าสูญเสียร้อยละ 0.3 ของ CIF + ค่าสำรองน้ำมันเพื่อความมั่นคง 0.68 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล
เรื่องที่ 3 การส่งเสริมน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ต่อเนื่อง
สรุปสาระสำคัญ
1.คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2561 มีมติเห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จากชดเชย 2.50 บาทต่อลิตร เป็นชดเชย 4.00 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 5 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2561 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2562 และ กบง. เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2561 เห็นชอบปรับอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ชดเชยให้กับน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เพิ่มขึ้น 0.50 บาทต่อลิตร เป็นอัตรา 4.50 บาทต่อลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม 2561 เป็นต้นไป และ ต่อมา กบง. เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2562 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก 3 เดือน ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2562
2.โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 30 เมษายน 2562 ของน้ำมันเบนซิน น้ำมันแก๊สโซฮอล 95 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล 91 E10 น้ำมันแก๊สโซฮอล E20 น้ำมันแก๊สโซฮอล E85 น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เป็นดังนี้ (1) อัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ อยู่ที่ 8.0800 2.1200 2.1200 -0.7800 -6.3800 0.2000 และ -4.5000 บาทต่อลิตร ตามลำดับ (2) ค่าการตลาด อยู่ที่ 2.5976 1.9084 2.0624 2.2225 4.3643 2.1424 และ 2.6538 บาทต่อลิตร ตามลำดับ และ (3) ราคาขายปลีก อยู่ที่ 34.46 30.05 29.78 27.04 21.29 28.09 และ 23.09 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ประมาณการสภาพคล่องกองทุนน้ำมันฯ ณ วันที่ 28 เมษายน 2562 มีรายรับจากกลุ่มน้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล อยู่ที่ 1,281 ล้านบาทต่อเดือน น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว อยู่ที่ 1,281 ล้านบาทต่อเดือน ในขณะที่มีภาระชดเชยก๊าซ LPG อยู่ที่ 345 ล้านบาทต่อเดือน สุทธิแล้วกองทุนน้ำมันฯ มีรายรับ 1,267 ล้านบาทต่อเดือน และมีฐานะสุทธิ 33,035 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมัน อยู่ที่ 39,345 ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบที่ 6,310 ล้านบาท โดยหากสถานการณ์ราคาน้ำมันไม่ผันผวนมากและอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ แต่ละผลิตภัณฑ์คงเดิม คาดว่าอีกประมาณ 4 เดือน จะทำให้เงินกองทุนน้ำมันฯ มีวงเงินสะสมเต็มเพดาน 40,000 ล้านบาท ตามที่พระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. .... กำหนดไว้
3.ปัจจุบันราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 มีราคาต่ำกว่าดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 5 บาทต่อลิตร โดยกระทรวงพลังงานได้ส่งเสริมการจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อย่างเป็นทางการตั้งแต่วันที่ 2 กรกฎาคม 2561 และกรมธุรกิจพลังงานได้ออกประกาศคุณภาพน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 เพื่อให้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 สามารถจำหน่ายที่สถานีบริการได้ตั้งแต่วันที่ 31 มกราคม 2562 ซึ่งทำให้ปริมาณการจำหน่ายเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดย ณ วันที่ 28 เมษายน 2562 มีสถานีบริการที่จำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จำนวน 269 สถานี และจำหน่ายให้กับ Fleet จำนวน 173 แห่ง ปริมาณการจำหน่ายอยู่ที่ 38.3 ล้านลิตรต่อเดือน มีปริมาณการใช้ไบโอดีเซล (ทั้งดีเซลหมุนเร็ว และ ดีเซลหมุนเร็ว บี20) อยู่ที่ 4.850 ล้านลิตรต่อวัน และมีปริมาณการใช้ CPO รวมทั้งสิ้น 4.217 ล้านกิโลกรัมต่อวัน (128,268 ตันต่อเดือน)
4. แนวทางการส่งเสริมน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 จากสถานการณ์น้ำมันปาล์มดิบล้นตลาดและปัญหาเรื่องฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) กระทรวงพลังงานมีแนวทางในการช่วยเหลือโดยการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ในรถบรรทุกขนาดใหญ่มากขึ้น เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และลดค่าใช้จ่ายภาคขนส่ง รวมทั้งแก้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5) อย่างไรก็ดีการส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 กระทรวงพลังงานได้ใช้กลไกกองทุนน้ำมันฯ โดยชดเชยน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ที่ 4.50 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 5 บาทต่อลิตร ซึ่งกองทุนน้ำมันฯ รับภาระประมาณ 63 ล้านบาทต่อเดือน ดังนั้น เพื่อส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 อย่างต่อเนื่อง ฝ่ายเลขานุการฯ เห็นควรให้ใช้กองทุนน้ำมันฯ เพื่อรักษาระดับราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ให้ถูกกว่าน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก 3 เดือน (ถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2562)
มติของที่ประชุม
เห็นชอบขยายระยะเวลาให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ต่ำกว่าราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 5 บาทต่อลิตร ต่อไปอีก 2 เดือน (ถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2562)
เรื่องที่ 4 ภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว สรุปสาระสำคัญ 1. เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2561 กระทรวงการคลังได้มีประกาศกฎกระทรวง กำหนดพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต ฉบับที่ 4 พ.ศ. 2561 ดังนี้ (1) น้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันเกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนักและน้ำมันดีเซลที่มีปริมาณกำมะถันไม่เกินร้อยละ 0.005 โดยน้ำหนัก ลิตรละ 6.44 บาท (2) น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่เกินร้อยละ 7 ลิตรละ 5.98 บาท และ (3) น้ำมันดีเซลที่มีไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันผสมอยู่ไม่น้อยกว่าร้อยละ 19 แต่ไม่เกินร้อยละ 20 ลิตรละ 5.152 บาท 2.วิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) โรงกลั่นน้ำมันขายน้ำมันดีเซลพื้นฐานจำนวน 93 ลิตร ให้กับผู้ค้าน้ำมันต้องเสียภาษีที่อัตรา 6.44 บาทต่อลิตร รวมเป็นเงิน 598.92 บาท ผู้ค้าน้ำมันนำน้ำมันดีเซลพื้นฐาน 93 ลิตร ผสมไบโอดีเซล 7 ลิตร (ไม่เสียภาษี) รวมเป็น 100 ลิตร ต้องเสียภาษีอัตรา 5.98 บาทต่อลิตร รวมเป็นเงิน 598 บาท แต่น้ำมันในส่วนนี้ได้เสียภาษีไปก่อนแล้ว 598.92 บาท ผู้ค้าน้ำมันจึงขอคืนภาษี 0.92 บาท ส่งผลให้รายได้ของกรมสรรพสามิตหายไป 0.92 บาทต่อน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) 100 ลิตร ประกอบกับขั้นตอนการขอคืนเงินภาษีต้องตรวจสอบเอกสารเป็นจำนวนมากและใช้เวลานาน ส่วนวิธีการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 โรงกลั่นน้ำมันขายน้ำมันดีเซลพื้นฐาน 80 ลิตร ให้กับผู้ค้าน้ำมันต้องเสียภาษีที่อัตรา 6.44 บาทต่อลิตร รวมเป็นเงิน 515.20 บาท เมื่อนำน้ำมันดีเซลพื้นฐาน 80 ลิตร ผสมไบโอดีเซล 20 ลิตร รวมเป็น 100 ลิตร ต้องเสียภาษีที่อัตรา 5.152 บาทต่อลิตร รวมเป็นเงิน 515.20 บาท แต่น้ำมันในส่วนนี้ได้เสียภาษีไปก่อนแล้ว 515.20 บาท ผู้ค้าน้ำมันจึงไม่ต้องขอคืนภาษีหรือส่งเงินเพิ่ม ปัญหาทางปฏิบัติคือจะไม่มีการบันทึกการขอคืนภาษีหรือส่งเงินภาษีเพิ่ม ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ 3.สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ได้หารือร่วมกับ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง และ กรมสรรพสามิต เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาทางปฏิบัติและรายได้ของกระทรวงการคลัง การคำนวณภาษีของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 บี10 และ บี20 ที่เป็นทศนิยมต้องปัดขึ้น ดังนี้ (1) อัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (บี7) ปรับเพิ่ม 0.01 บาทต่อลิตร เป็น 5.99 บาทต่อลิตร (2) อัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี10 เท่าเดิมที่ 5.80 บาทต่อลิตร และ (3) อัตราภาษีสรรพสามิตของน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ปรับเพิ่ม 0.001 บาทต่อลิตร เป็น 5.153 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ ในการกำหนดช่วงภาษีขึ้นอยู่กับกระทรวงการคลังพิจารณาตามความเหมาะสม มติของที่ประชุม ที่ประชุมรับทราบ
กบง.ครั้งที่ 1/2568 (ครั้งที่ 71) วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 1/2568 (ครั้งที่ 71)
วันพฤหัสบดีที่ 27 มีนาคม 2568
2. การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
3. แนวทางการลดค่าไฟฟ้าจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
สรุปสาระสำคัญ
1. ในปี 2567 (เดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567) คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน (คณะอนุกรรมการฯ) มีการประชุมจำนวน 4 ครั้ง โดยมีผลการดำเนินงานที่สำคัญ ดังนี้ (1) เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2567 คณะอนุกรรมการฯ รับทราบผลการดำเนินงานของมาตรการบริหารจัดการพลังงาน ปี พ.ศ. 2566 และแผนบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ปี พ.ศ. 2567 และที่ประชุมมีข้อสังเกตต่อปัญหาการผลิตก๊าซธรรมชาติ ในช่วง 3 เดือน (มกราคม 2566 - มีนาคม 2566) มีการเรียกใช้ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยต่ำกว่าแผน จากความจำเป็นที่ต้องมีการบริหาร LNG Inventory ที่ล้นถังเก็บ รวมถึงที่ประชุมเสนอให้พิจารณาให้บริหาร Bypass Gas เพื่ออนุญาตให้ส่งผ่านเกินกว่าประกาศหลักเกณฑ์การกำกับดูแลการบริหารจัดการ Bypass Gas ของ กกพ. ในกรณีมีสถานการณ์ฉุกเฉิน และพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าใช้จ่ายการบริหารจัดการน้ำมันที่ใช้ผลิตไฟฟ้าตามมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคา ประเด็นการประสานขอยกเว้นภาษีศูนย์สำหรับน้ำมันที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าและหลักเกณฑ์การส่งผ่านค่าใช้จ่ายที่เกิดจากการยกเลิกน้ำมันที่ได้รับความเห็นชอบให้ใช้ในการผลิตไฟฟ้า (2) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 (เฉพาะกิจ) คณะอนุกรรมการฯ รับทราบผลกระทบด้านพลังงานเหตุเพลิงไหม้ถังจัดเก็บสารไพโรไลซิส แก๊สโซลีน ของบริษัท มาบตาพุด แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2567 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานให้เตรียมพร้อมรับมืออย่างใกล้ชิดและปฏิบัติตามแผนหากเกิดเหตุฉุกเฉิน เพื่อป้องกันมิให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางพลังงานและประชาชน (3) เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 คณะอนุกรรมการฯ ได้ติดตามสถานการณ์การบริหารจัดการช่วงแหล่ง JDA-A18 หยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ ตั้งแต่วันที่ 29 กรกฎาคม – 13 สิงหาคม 2567 และได้มีการพิจารณาการขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มโดยปรับปรุงอัตรารับซื้อไฟฟ้าประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย และการขยายมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี สิ้นสุดมาตรการวันที่ 31 ธันวาคม 2568 รวมทั้งพิจารณา (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2567 – 2570) (แผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมฯ) และ (4) เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 คณะอนุกรรมการฯ พิจารณาข้อหารือประเด็นอาจเกิดเหตุขัดข้องและผลกระทบหากไม่สามารถขยายอายุโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วม น้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ที่จะสิ้นอายุในปี พ.ศ. 2567 โดยได้รายงานข้อมูลความเสียหายต่อประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ตามหนังสือกระทรวงพลังงาน ด่วนที่สุด ที่ พน 0204/905 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2567 และรับทราบแผนและผลการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงานสะสม ระหว่างเดือนมกราคม ถึงเดือนพฤศจิกายน 2567 จำนวน 6 มาตรการ และมอบหมายฝ่ายเลขานุการสรุปผลการดำเนินงานเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 เสนอต่อ กบง. เพื่อทราบต่อไป
2. ผลการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ในช่วงเดือนมกราคม 2567 ถึง เดือนธันวาคม 2567 สามารถสรุปผลการดำเนินงานได้ดังนี้ (1) การเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8 หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป้าหมาย 0.2940 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.2497 ล้านตันเทียบเท่า LNG 2) การนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้า หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กฟผ. เป้าหมาย 0.0670 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.1117 ล้านตันเทียบเท่า LNG 3) การรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เป้าหมาย 0.0193 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.0390 ล้านตันเทียบเท่า LNG 4) การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติมจาก สปป.ลาว โครงการเทินหินบุน หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กฟผ. เป้าหมาย 0.0108 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.0063 ล้านตันเทียบเท่า LNG 5) มาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เป้าหมาย 0.1131 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.4308 ล้านตันเทียบเท่า LNG และ 6) การจัดหาก๊าซในประเทศและเพื่อนบ้านให้ได้มากที่สุด หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) เป้าหมาย 0.1244 ล้านตันเทียบเท่า LNG ผลการดำเนินงาน 0.1649 ล้านตันเทียบเท่า LNG
3. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 สามารถสรุปผลประโยชน์ทางการเงิน (Financial Benefit) จากการดำเนินงานตามมาตรการได้ประมาณ 8,557 ล้านบาท โดยมีผลประโยชน์ทางการเงินในแต่ละมาตรการ ดังนี้ (1) เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8 อยู่ที่ 3,860 ล้านบาท (2) การนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้า อยู่ที่ 1,694 ล้านบาท (3) การรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น อยู่ที่ 152 ล้านบาท (4) การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติมจาก สปป. ลาว อยู่ที่ 28 ล้านบาท (5) มาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม อยู่ที่ 994 ล้านบาท และ (6) การจัดหาก๊าซในประเทศและเพื่อนบ้านให้ได้มากที่สุด อยู่ที่ 1,830 ล้านบาท
4. เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2567 คณะอนุกรรมการฯ มีมติรับทราบแผนบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ปี พ.ศ. 2568 และมอบหมายฝ่ายเลขานุการประสานข้อมูลรวบรวมแผนการดำเนินงานมาตรการ ปี 2568 เพิ่มเติม (หากมี) และรายงานต่อ กบง. ทราบต่อไป สามารถสรุปแผนการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ปี พ.ศ. 2568 ได้ดังนี้ (1) การเพิ่ม การผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8 หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กฟผ. เป้าหมาย 0.4860 ล้านตันเทียบเท่า LNG (2) การนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้า หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กฟผ. เป้าหมาย 0.0640 ล้านตันเทียบเท่า LNG (3) การรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ สำนักงานกกพ. เป้าหมาย 0.0388 ล้านตันเทียบเท่า LNG (4) การรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติมจาก สปป.ลาว โครงการเทินหินบุน หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ กฟผ. เป้าหมาย 0.0108 ล้านตันเทียบเท่า LNG และ (5) มาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม หน่วยงานรับผิดชอบ ได้แก่ พพ. เป้าหมาย 0.1131 ล้านตันเทียบเท่า LNG
5. ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ได้เริ่มดำเนินการตามมาตรการทั้ง 5 มาตรการดังกล่าวแล้ว ดังนี้ (1) มาตรการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 8 โดย กพช. เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 มีมติเห็นชอบการเลื่อนแผนการปลดเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะ เครื่องที่ 8 – 11 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (2) มาตรการนำโรงไฟฟ้าแม่เมาะ หน่วยที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้า โดย กพช. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 มีมติเห็นชอบให้ กฟผ. นำโรงไฟฟ้าพลังความร้อนแม่เมาะ เครื่องที่ 4 กลับมาผลิตไฟฟ้าในช่วงปี 2565 - 2568 เพื่อรองรับสถานการณ์วิกฤติราคาพลังงาน (3) มาตรการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติม จาก สปป.ลาว (โครงการเทินหินบุน) โดย กพช. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบมาตรการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี จำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ในอัตราการรับซื้อไฟฟ้าตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบัน ทั้งนี้ กพฝ. ลงนามในข้อตกลงเพิ่มเติมกับบริษัทเทินหินบุนเพื่อรับซื้อไฟฟ้าพลังงานน้ำระยะสั้นเพิ่มเติม (ครั้งที่ 3) แล้ว เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2567 และเริ่มรับซื้อไฟฟ้าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 (4) มาตรการรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นจากพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น โดย กพช. เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2567 มีมติเห็นชอบการขยายมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิมและนอกเหนือกลุ่มสัญญาเดิม ในอัตรารับซื้อ 2.20 บาทต่อหน่วย (เชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) 1.00 บาทต่อหน่วย (พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน และแบบทุ่นลอยน้ำ) และ 0.50 บาทต่อหน่วย (พลังงานลม) ทั้งนี้ กกพ. ได้มีประกาศเชิญชวนรับซื้อไฟฟ้าระยะสั้นเพื่อรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านพลังงานจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้า (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2568 แล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2568 และ (5) มาตรการขอความร่วมมือประหยัดพลังงานในภาคธุรกิจ/อุตสาหกรรม โดยมีการดำเนินการเป็นไปตามภารกิจปกติของกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
มติของที่ประชุม
รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ปี พ.ศ. 2567 และแผนบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน ปี พ.ศ. 2568
เรื่องที่ 2 การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2567 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ดังนี้ (1) เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 และ (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) พิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
2. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกอ่อนตัวลง เนื่องจากสภาวะอากาศที่อุ่นขึ้นทำให้ ความต้องการใช้โพรเพนของตลาดยุโรปในการทําความร้อนลดลง ประกอบกับความต้องการใช้ก๊าซ LPG ในเอเชียตะวันออกค่อนข้างคงที่ ในขณะที่อุปทานก๊าซ LPG จากตะวันออกกลางยังคงมีอย่างเพียงพอ และมี การส่งออกก๊าซ LPG จากประเทศสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศจีน ประเทศเกาหลีใต้ ประเทศเม็กซิโก ประเทศแคนาดา เพิ่มมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ติดตามสถานการณ์ราคา ก๊าซ LPG พบว่า ราคา LPG ตลาดโลกในเดือนธันวาคม 2567 ถึงเดือนมีนาคม 2568 ลดลงประมาณ 62.93 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 10 จาก 630.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในเดือนธันวาคม 2567 ลดลงเป็น 567.40 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ณ วันที่ 18 มีนาคม 2568 โดยจากราคาก๊าซ LPG Cargo (เฉลี่ย 2 สัปดาห์) ที่ปรับตัวลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายนำเข้า (X) ปรับตัวเพิ่มขึ้น และอัตราแลกเปลี่ยนอ่อนตัวลงเล็กน้อย ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้าซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) ปรับตัวลดลง 0.2718 บาทต่อกิโลกรัม จาก 20.9499 บาทต่อกิโลกรัม (618.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เป็น 20.6781 บาทต่อกิโลกรัม (608.52 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จ่ายเงินชดเชยลดลง จาก 2.4190 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 2.1472 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ขนาดถัง 15 กิโลกรัม อยู่ที่ 423 บาท
3. เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2567 กบน. เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาก๊าซ LPG โดยให้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบได้ไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้โอนเงินในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปไปใช้ในบัญชีกลุ่มก๊าซ LPG และให้โอนคืนบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปในภายหลัง โดย ณ วันที่ 18 มีนาคม 2568 มีฐานะกองทุนสุทธิ ติดลบ 62,396 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 16,276 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 46,120 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนการผลิตและจัดหา (กองทุนน้ำมันฯ #1) มีรายรับ 1,355 ล้านบาทต่อเดือน และในส่วนการจำหน่ายภาคเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ #2) มีรายจ่าย 703 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนบัญชีก๊าซ LPG มีรายรับ 652 ล้านบาทต่อเดือน
4. จากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ส่งผลให้ราคาก๊าซ LPG นำเข้ารวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ณ วันที่ 18 มีนาคม 2568 อยู่ที่ 609 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เทียบได้กับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ประมาณ 391 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศอยู่ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม แต่เนื่องจากฐานะกองทุนบัญชีก๊าซ LPG ยังคงติดลบสูง 46,120 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชี LPG มีรายรับเพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ดังนั้น ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับราคาก๊าซ LPG ดังนี้ แนวทางที่ 1 คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่น ก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 หรือแนวทางที่ 2 ปรับขึ้นราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปที่ 21.8524 บาท ต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 438 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้วิเคราะห์สภาพคล่องและฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG โดยมีสมมติฐานราคาตลาดโลกที่ 609 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน พบว่า ณ วันที่ 18 มีนาคม 2568 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG อยู่ที่ ติดลบ 46,120 ล้านบาท ทั้งนี้ หากปรับราคาก๊าซ LPG ตามแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 2 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG จะอยู่ที่ประมาณ ติดลบ 44,164 ล้านบาท หรือติดลบ 43,324 ล้านบาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2568 ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีกรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2568
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
เรื่องที่ 3 แนวทางการลดค่าไฟฟ้าจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ
สรุปสาระสำคัญ
1. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้มีหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ได้มีหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เมื่อวันที่ 27 มกราคม 2568 เรื่องแนวทางการลดค่าไฟฟ้าจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ โดยมีข้อเสนอมาตรการบรรเทาผลกระทบค่าไฟฟ้าจากนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) ที่ได้รับการสนับสนุน ในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) โดย กกพ. มีความเห็นว่า เนื่องจากค่าใช้จ่ายในการสนับสนุนอัตรา Adder และ Feed-in Tariff (FiT) ถูกกำหนดให้เป็นอัตราค่าบริการอันมีลักษณะให้การอุดหนุนเชิงนโยบาย (Policy Expenses: PE) ซึ่งภาครัฐโดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) อาจกำหนดแนวนโยบายให้มีการปรับปรุงอัตรารับซื้อไฟฟ้าเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ตามสถานการณ์และต้นทุนที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ กกพ. ได้ประกาศปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ประจำเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน 2568 แล้ว โดยมีค่าไฟฟ้าเรียกเก็บรวมเฉลี่ยที่ 4.151 บาทต่อหน่วย ซึ่งมีสัดส่วนของค่า PE ดังกล่าว คิดเป็นเงินค่าไฟฟ้าประมาณ 0.17 บาทต่อหน่วย (จำแนกเป็นค่า Adder 0.086 บาทต่อหน่วย ค่า FiTa 0.078 บาทต่อหน่วย และค่ากองทุนพัฒนาไฟฟ้า 0.005 บาทต่อหน่วย) ตามโครงสร้างค่าไฟฟ้าในปัจจุบัน
2. สมาคมผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน สมาคมพลังงานหมุนเวียนไทย (RE100) สมาคมพลังงานลม (ประเทศไทย) สมาคมอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ไทย และสมาคมการค้าก๊าซชีวภาพไทย ได้มีหนังสือ กราบเรียนนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กพช. แสดงความคิดเห็นต่อข้อเสนอการลดค่าไฟฟ้า 17 สตางค์ จาก 4.15 บาทต่อหน่วย ลดเหลือ 3.98 บาทต่อหน่วย ซึ่งสัดส่วนในการลดค่าไฟฟ้ามาจากการจ่ายค่าไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder และ FiT การยกเลิกหรือแก้ไขสัญญารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนจะส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการซึ่งผู้ผลิตไฟฟ้าหลายรายอาจจะต้องยุติการประกอบกิจการผลิตไฟฟ้าตามสัญญาที่ได้รับจากรัฐ และส่งผลกระทบต่อสถาบันการเงิน ความน่าเชื่อถือต่อการลงทุนในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนในประเทศ และทางด้านกฎหมาย ทั้งนี้ กลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเห็นด้วย กับนโยบายการลดค่าไฟฟ้าให้แก่ประชาชน แต่ราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่ม Adder และ FiT ไม่ใช่ตัวแปรหลักที่จะทำให้ค่าไฟฟ้าลดลง
3. เพื่อให้ข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานต่อแนวทางการทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการสนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ Feed-in Tariff (FiT) ผ่านการอุดหนุนราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุน Adder และ FiT สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงทำให้ค่าไฟฟ้าปรับลดลงทันที 0.17 บาทต่อหน่วย สามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้จริง และไม่ขัดต่อกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเสนอให้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการลดค่าไฟฟ้าจากค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐตามข้อเสนอของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ซึ่งมีองค์ประกอบ หน้าที่และอำนาจ ดังนี้ (1) องค์ประกอบ โดยที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ) เป็นประธานกรรมการ และผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้แทนการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ผู้แทนการไฟฟ้านครหลวง ผู้แทนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เป็นกรรมการ และมีผู้อำนวยการกองนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน เป็นกรรมการและเลขานุการ และผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ และ (2) หน้าที่และอำนาจ ดังนี้ 1) พิจารณาข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานให้ภาคนโยบายทบทวนและปรับปรุงเงื่อนไขการสนับสนุนทั้งในรูปแบบส่วนเพิ่มราคารับซื้อไฟฟ้า (Adder) และ Feed-in Tariff (FiT) ผ่านการอุดหนุนราคารับซื้อไฟฟ้าในกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) เพื่อให้การอุดหนุน Adder และ FiT สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงทำให้ค่าไฟฟ้าปรับลดลงทันที 0.17 บาทต่อหน่วย 2) เสนอแนวทางการดำเนินการตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน หรือแนวทางอื่น ๆ ที่สามารถปฏิบัติได้จริง และเป็นไปตามกฎ ระเบียบที่เกี่ยวข้อง 3) เชิญผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม และให้ข้อมูลข้อเท็จจริง 4) รายงานผลการปฏิบัติงานพร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน และ 5) ปฏิบัติงานอื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานหรือประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานมอบหมาย
มติของที่ประชุม
เห็นชอบร่างคำสั่งคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน ที่ ../2568 เรื่อง แต่งตั้งคณะอนุกรรมการพิจารณาแนวทางการกำหนดอายุสัญญาการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Non-Firm เพื่อลดผลกระทบค่าไฟฟ้า และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอร่างคำสั่งต่อประธานกรรมการบริหารนโยบายพลังงานพิจารณาลงนามต่อไป
กบง.ครั้งที่ 6/2567 (ครั้งที่ 70) วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 6/2567 (ครั้งที่ 70)
วันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม 2567
1. การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
เรื่องที่ 1 การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ดังนี้ (1) เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 และ (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) พิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
2. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อย เนื่องจากสาธารณรัฐเกาหลีและสาธารณรัฐประชาชนจีนมีความต้องการใช้ LPG ลดลงจากการที่ไม่จำเป็นต้องใช้ LPG เพื่อทำความร้อนในฤดูหนาว รวมถึงการปิดซ่อมบำรุงโรงงานของจีนที่ส่งผลให้ความต้องการโพรเพนมีการชะลอตัวในช่วงที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ติดตามสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG พบว่า ราคา LPG ตลาดโลกในเดือนกันยายน 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 25.55 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 4 จาก 604.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในเดือนกันยายน 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 630.33 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2567 โดยจากราคาก๊าซ LPG Cargo เฉลี่ย 2 สัปดาห์ และค่าใช้จ่ายนำเข้า (X) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่น ที่อ้างอิงราคานำเข้าซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.0121 บาทต่อกิโลกรัม จาก 23.3813 บาทต่อกิโลกรัม (670.69 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เป็น 23.3934 บาท ต่อกิโลกรัม (675.87 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จ่ายเงินชดเชยเพิ่มขึ้นจาก 4.8504 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 4.8625 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG ขนาดถัง 15 กิโลกรัม อยู่ที่ 423 บาท
3. เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 กบน. เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาก๊าซ LPG โดยให้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบได้ไม่เกิน 48,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้โอนเงินในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปไปใช้ในบัญชีกลุ่มก๊าซ LPG และให้โอนคืนบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปในภายหลัง โดย ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2567 มีฐานะกองทุนสุทธิ ติดลบ 82,497 ล้านบาท แยกเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 35,263 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 47,234 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนการผลิตและจัดหา (กองทุนน้ำมันฯ #1) มีรายรับ 1,954 ล้านบาทต่อเดือน และในส่วนการจำหน่ายภาคเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ #2) มีรายจ่าย 1,549 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG มีรายรับ 405 ล้านบาทต่อเดือน
4. จากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่งผลให้ราคาก๊าซ LPG นำเข้ารวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ณ วันที่ 12 ธันวาคม 2567 อยู่ที่ 676 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เทียบได้กับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ประมาณ 403 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศอยู่ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม แต่เนื่องจากฐานะกองทุนบัญชีก๊าซ LPG ยังคงติดลบสูงถึง 47,234 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชี LPG มีรายรับเพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพ ของประชาชน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับราคาก๊าซ LPG ดังนี้ แนวทางที่ 1 คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคา ขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 หรือแนวทางที่ 2 ปรับขึ้นราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปที่ 21.8524 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 438 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้วิเคราะห์สภาพคล่องและฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG โดยมีสมมติฐานราคาตลาดโลกที่ 676 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน พบว่า ณ วันที่ 8 ธันวาคม 2567 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG อยู่ที่ ติดลบ 47,234 ล้านบาท ทั้งนี้ หากปรับราคาก๊าซ LPG ตามแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 2 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG จะอยู่ที่ประมาณ ติดลบ 46,019 ล้านบาท หรือติดลบ 45,110 ล้านบาท ณ วันที่ 31 มีนาคม 2568 ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีกรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2568
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2568 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้พิจารณา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2568 และได้มีมติ ดังนี้ (2) เห็นชอบการพิจารณารับซื้อไฟฟ้านอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทชีวมวลหรืออื่น ๆ นอกจากชีวมวล จากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) หรือการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ที่กรอบราคารับซื้อไฟฟ้าสูงสุดไม่เกินต้นทุนการผลิตไฟฟ้าที่หลีกเลี่ยงได้จากการใช้เชื้อเพลิงนำเข้า ในราคาสูงสุด ณ ปัจจุบัน (Avoided Cost) (2) มอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ร่วมกันกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้า และเงื่อนไขอื่น ๆ สำหรับผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีการผลิตและใช้เองอยู่แล้วในปัจจุบันและมีพลังงานส่วนเหลือที่จะจำหน่ายเข้าสู่ระบบให้มีความเหมาะสม เป็นธรรมทั้งผู้ผลิตและผู้ใช้ไฟฟ้า โดยคำนึงถึงประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า และเสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) พิจารณาให้ความเห็นชอบ และมอบหมายให้ กกพ. รับไปดำเนินการกำหนดหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าต่อไป และ (3) มอบหมายให้ กบง. พิจารณาและบริหารการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มให้มีความเหมาะสมเป็นไปตามนโยบาย โดยคำนึงถึงประเภทเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าให้ทันต่อสถานการณ์ และรายงานให้ กพช. ทราบต่อไป โดยต่อมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 กบง. ได้พิจารณา เรื่อง การทบทวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2565 และได้มีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าประเภทชีวมวล หรืออื่น ๆ นอกเหนือจากชีวมวล จากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. และ กฟภ. หรือ กฟน. สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปีไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ดังนี้ (1) กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรา รับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย และ (2) กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ และพลังงานลม) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม
2. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2568 กพช. ได้พิจารณา เรื่อง มาตรการบริหารจัดการด้านพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน และได้มอบหมายให้ กกพ. พิจารณาดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของมติ กบง. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 โดยขยายกรอบระยะเวลารับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจากปี 2565 ออกไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี สิ้นสุด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2568 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ได้มีมติเห็นชอบการขยายมาตรการบริหารจัดการพลังงานที่จะหมดอายุในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 โดยมอบหมายให้ พพ. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทบทวนข้อมูลระยะเวลาคืนทุน ตัวเลขผลกระทบของมาตรการรับซื้อคืนไฟฟ้าส่วนเกินโซลาร์หลังคาภาคอุตสาหกรรม 1.00 บาทต่อหน่วย ต่ออัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และประสาน สนพ. เสนอ กบง. และ กพช. พิจารณามาตรการรับซื้อคืนไฟฟ้าโซลาร์หลังคาภาคอุตสาหกรรม 1.00 บาท ต่อหน่วย ระยะเวลามาตรการ 2 ปี รวมทั้งเสนอขอขยายเวลามาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จาก SPP/VSPP สัญญาเดิม ระยะสั้น 2 ปี (วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ขยายสัญญาปีต่อปี และกำหนดเงื่อนไขสิทธิ์บอกเลิกสัญญาหากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ปรับเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าเป็น 1.00 บาทต่อหน่วย เพื่อให้เกิดการจูงใจเข้าร่วมโครงการมากขึ้น โดยเมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567 กบง. ได้พิจารณา เรื่อง อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ และได้มีมติเห็นชอบ อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน และแบบทุ่นลอยน้ำ) โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการ ลงทุนใหม่ ที่มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงหรือบริการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอื่น และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้าซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อ ไม่เกิน 2 ปี (เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 2568 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบ Non-Firm ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 1.00 บาท ต่อหน่วย
3. การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มที่ผ่านมา มีผู้ประกอบกิจการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เข้าร่วมโครงการประมาณ 20 ราย รวมกำลังการผลิตประมาณ 25 เมกะวัตต์ ปัจจุบันมีผู้ที่ขายไฟฟ้าเข้าระบบอยู่ 1 ราย ซึ่งค่อนข้างน้อย พพ. จึงได้วิเคราะห์สาเหตุและเสนอแนะการปรับเพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ที่จูงใจมากขึ้น ซึ่ง พพ. ประเมินแล้วพบว่าการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดการติดตั้งเท่ากับ 800 กิโลวัตต์ ในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ หากมีการ เปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเพิ่มด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าไม่เกิน 2 ปี พบว่า จะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) ประมาณร้อยละ 14 ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจยื่นขอ รับสิทธิลดหย่อนภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จะทำให้ระยะเวลาคืนทุนลดลงและค่า IRR เพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ ราคารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย เทียบกับราคา Marginal Cost (บาทต่อหน่วย) จะไม่มีผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า
4. พพ. เห็นสมควรเสนอมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ระยะที่ 2 เพื่อให้ การดำเนินมาตรการบริหารจัดการพลังงานที่จะสิ้นสุดระยะเวลาดำเนินการในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และจูงใจให้ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เข้าร่วมโครงการมากขึ้น โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจาก SPP และ/หรือ VSPP จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของ กฟผ. และ กฟภ. หรือ กฟน. สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ดังนี้ (1) กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย และ (2) กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย และประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม ทั้งนี้ รายละเอียดและเงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มในส่วนของพลังงานแสงอาทิตย์ ได้ครอบคลุมในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ตามมติ กบง. วันที่ 25 กันยายน 2567 เรื่อง อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ พพ. จึงเห็นสมควรยกเลิกมติ กบง. วันที่ 25 กันยายน 2567 เรื่อง อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ เพื่อให้เกิดความชัดเจนในการออกประกาศ กกพ. ต่อไป
5. มาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม นอกจากจะช่วยเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแล้ว ยังเกิดประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยเฉพาะกรณี SPP ชีวมวล และยังช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวตลาดจร (Spot LNG) ซึ่งในปี 2567 คาดว่าจะมีการนำเข้าถึง 97 ลำเรือ รวมทั้งเกิดประโยชน์จากการลดภาระต้นทุนค่าไฟฟ้าทั้งในภาวะปกติและสถานการณ์ฉุกเฉิน ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อมูลแนวโน้มราคาค่าไฟฟ้าต่อหน่วยของการผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิง LNG (LNG Unit Cost) เฉลี่ยปี 2567 พบว่า อัตรารับซื้อไฟฟ้าสูงสุดของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ซึ่งอยู่ที่ 2.20 บาทต่อหน่วย ยังคง ต่ำกว่าประมาณการต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจาก LNG เฉลี่ยปี 2567 ซึ่งอยู่ที่ 2.60 บาทต่อหน่วย โดยเป็นไปตามกรอบราคารับซื้อไฟฟ้า Avoided Cost ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์ ต่อประเทศในภาพรวม
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบยกเลิกมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน เรื่อง อัตราการรับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2567
2. เห็นชอบมาตรการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ระยะที่ 2 ภายใต้มาตรการ บริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้า รายเล็ก (SPP) และ/หรือผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) จากสัญญาเดิม และนอกเหนือจากกลุ่มสัญญาเดิม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติมจากผู้ผลิตไฟฟ้าที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ และมีความพร้อม ในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือการไฟฟ้านครหลวง สามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อไม่เกิน 2 ปี (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ทั้งนี้ กำหนดเงื่อนไขให้สิทธิ์แก่การไฟฟ้าสามารถบอกเลิกสัญญาได้ หากพบข้อจำกัดด้านศักยภาพของระบบโครงข่ายไฟฟ้า (Grid Capacity) โดยมีอัตรารับซื้อไฟฟ้า ดังนี้
2.1 กรณีโรงไฟฟ้าที่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทเชื้อเพลิงชีวมวล ก๊าซชีวภาพ และขยะ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 2.20 บาทต่อหน่วย
2.2 กรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า
(1) ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ) อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย
(2) ประเภทพลังงานลม อัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย
ทั้งนี้ อัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเพิ่มจากสัญญาเดิมจะมีอัตรารับซื้อไฟฟ้าไม่เกินกว่าอัตรารับซื้อไฟฟ้าในสัญญาเดิม
3. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
4. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติมอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) รับซื้อไฟฟ้าจากโครงการโรงไฟฟ้าพลังน้ำเทินหินบุน เพิ่มเติม จำนวน 20 เมกะวัตต์ จากกำลังผลิตไฟฟ้าเดิม 440 เมกะวัตต์ ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2565 เป็นระยะเวลา 6 เดือน ในอัตราค่าไฟฟ้าไม่มากกว่าสัญญาเดิม โดย กฟผ. ได้ดำเนินงานตามมติ กพช. โดยได้ ลงนามในหนังสือแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับโครงการเทินหินบุน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กพช. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี จำนวน 20 เมกะวัตต์ โดยนับจากวันลงนามข้อตกลงเพิ่มเติมเป็นระยะเวลา 1 ปี ทั้งนี้ ไม่เกินกว่าวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าประมาณ 1.85 บาทต่อหน่วยตามสัญญาเดิม เพื่อลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าและบรรเทาสถานการณ์ราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง และมอบหมายให้ กฟผ. ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมตามมติ กพช. ดังกล่าว โดยต่อมา กฟผ. ได้ดำเนินงานตามมติ กพช. โดยได้ลงนาม ในหนังสือแก้ไขเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าร่วมกับโครงการเทินหินบุน เพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2567 บริษัท Theun-Hinboun Power Company จำกัด (THPC) ได้มีหนังสือถึง กฟผ. เสนอให้พิจารณาขยายเวลารับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม จำนวน 20 เมกะวัตต์ เป็นระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 หรือช่วงเวลาตามที่พิจารณาเห็นว่าเหมาะสม โดยเสนอให้ใช้หลักการเดิมตามที่กำหนดในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และ THPC ฉบับปัจจุบัน ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ได้มีมติให้ กฟผ. ประสานสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เสนอวาระการขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. พิจารณาต่อไป โดยเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2567 กฟผ. ได้มีหนังสือถึง สนพ. เสนอให้นำเรื่อง การขยายเวลามาตรการการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี เสนอ กบง. และ กพช. เพื่อพิจารณา โดยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) อายุสัญญา ระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 (2) ราคารับซื้อไฟฟ้า เป็นไปตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบันที่กำหนดให้จ่ายเป็นสกุลบาท ที่ 0.9083 บาทต่อหน่วย และสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ที่ 0.02595 เหรียญสหรัฐฯ ต่อหน่วย โดยเมื่อคำนวนอัตราแลกเปลี่ยน 37.0105 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567) คิดเป็นอัตรารับซื้อไฟฟ้ารวมประมาณ 1.87 บาทต่อหน่วย (3) เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงจากหลักการเดิมตามที่ ระบุในข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ลงวันที่ 18 ธันวาคม 2566 และ (4) ไม่กระทบต่อระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ กฟผ. พิจารณาแล้วพบว่า การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมระยะสั้น ในด้านเทคนิคไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้า รวมทั้งในด้านต้นทุนจะสามารถลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าของประเทศ เนื่องจากการรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนจะมีต้นทุนที่ถูกกว่าต้นทุนการผลิตหน่วยสุดท้าย (Short Run Marginal Cost) โดย ณ เดือนมิถุนายน 2567 Short Run Marginal Cost ช่วง Peak มีราคา 2.261 บาทต่อหน่วย และช่วง Off-Peak 2.152 บาทต่อหน่วย นอกจากนี้ ปัจจุบันสถานการณ์ความขัดแย้งในภูมิภาคตะวันออกกลางยังไม่มีเสถียรภาพและราคาเชื้อเพลิงยังมีความผันผวน ดังนั้น การรับซื้อไฟฟ้าจากโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติมระยะสั้นจะช่วยลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาผันผวนได้
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบมาตรการการรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ระยะสั้น 1 ปี ภายใต้มาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤตราคาพลังงาน จำนวน 20 เมกะวัตต์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568 ในอัตรารับซื้อไฟฟ้าตามโครงสร้างสัญญาปัจจุบัน
2. มอบหมายให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ดำเนินการจัดทำข้อตกลงเพิ่มเติมสัญญาซื้อขายไฟฟ้าเพื่อรับซื้อไฟฟ้าโครงการเทินหินบุนเพิ่มเติม ตามข้อ 1
3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 – 2580 (ร่างแผน PDP2024) ได้พิจารณาเสนอให้มีการขยายอายุการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ขนาดกำลังผลิตตามสัญญารวม 650 เมกะวัตต์ ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2574 เพื่อให้สอดคล้องกับอายุสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าน้ำพอง ระยะเวลา 10 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2564 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2574) อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันกระบวนการจัดทำร่างแผน PDP2024 ยังไม่แล้วเสร็จ ส่งผลให้สถานะของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 จะต้องยึดกำหนดการตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ซึ่งเป็นแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยฉบับปัจจุบัน โดยตามแผน PDP2018 Rev.1 โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม น้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 จะสามารถผลิตไฟฟ้าได้จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. เนื่องจากโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 เป็นโรงไฟฟ้าหลักในพื้นที่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง - สินภูฮ่อม ที่มีต้นทุนราคาในการผลิตไฟฟ้าถูก ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิงก๊าซธรรมชาติเหลวแบบตลาดจร (Spot LNG) และจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้ ดังนั้น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จึงได้มีหนังสือถึงสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ขอให้เสนอคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) พิจารณาขยายการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) โดย กฟผ. ได้นำเสนอข้อมูลความพร้อมในด้านเทคนิค ด้านเชื้อเพลิง และด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อประกอบการพิจารณาขอขยายอายุ การเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี ดังกล่าว ดังนี้
2.1 ด้านเทคนิค โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 มีความพร้อมรองรับ การเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตามกรอบระยะเวลาการขอขยายอายุการเดินเครื่อง โดย กฟผ. มีแผนการบำรุงรักษา และตรวสอบสภาพของอุปกรณ์ให้พร้อมใช้งานอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ ระบบส่งไฟฟ้ามีความพร้อมให้สามารถ จ่ายไฟฟ้าได้อย่างมั่นคง เชื่อถือได้ มีคุณภาพเพียงพอตามเกณฑ์มาตรฐาน โดยการบริหารจัดการอุปกรณ์ระบบส่งไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี ไม่ส่งผลกระทบต่อแผนพัฒนาระบบส่งไฟฟ้าตามแผนงานที่ได้กำหนดไว้
2.2 ด้านเชื้อเพลิง กฟผ. มีความพร้อมด้านเชื้อเพลิงเพียงพอต่อการผลิตไฟฟ้าจากการ ขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี โดยเป็นการใช้ทรัพยากรภายในประเทศของแหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง - สินภูฮ่อม ที่มีต้นทุนถูกได้อย่างมีประโยชน์สูงสุด ช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิง Spot LNG โดยสามารถลดต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสุทธิประมาณ 5,263 ล้านบาท โดยมีรายละเอียดการเปรียบเทียบต้นทุนในการผลิตไฟฟ้า ดังนี้ (1) โรงไฟฟ้าน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ต้นทุน ผลิตไฟฟ้า 1.8844 บาทต่อหน่วย ประมาณการหน่วยผลิตไฟฟ้า 4,266 กิกะวัตต์ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน รวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิง 8,039 ล้านบาท (2) โรงไฟฟ้า Marginal เชื้อเพลิง Spot LNG ต้นทุนผลิตไฟฟ้า 3.1181 บาทต่อหน่วย ประมาณการหน่วยผลิตไฟฟ้า 4,266 กิกะวัตต์ชั่วโมง ค่าใช้จ่ายดำเนินงานรวมต้นทุนค่าเชื้อเพลิง 13,302 ล้านบาท ทำให้ต้นทุนในการผลิตไฟฟ้าสุทธิลดลง 5,263 ล้านบาท
2.3 ด้านสิ่งแวดล้อม กฟผ. ดำเนินการจัดทำรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกัน และแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม (รายงาน Monitor) และนำส่งผลรายงาน Monitor ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ทุก 6 เดือน เพื่อติดตามตรวจสอบและควบคุมคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้เป็นไปตามมาตรฐาน ดังนั้น การขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี จะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพิ่มมากขึ้นจากเดิม เนื่องจากการดำเนินงานและรายละเอียดโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพองไม่มีการเปลี่ยนแปลง
3. ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่า เห็นควรให้ความเห็นชอบการขยายอายุการเดินเครื่อง ของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) ด้วยเหตุผลความจำเป็น ดังนี้ (1) ร่างแผน PDP2024 มีข้อเสนอให้ขยายอายุการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ขนาดกำลังผลิตตามสัญญารวม 650 เมกะวัตต์ ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2574 เพื่อให้สอดคล้องกับอายุสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้าน้ำพอง อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันการจัดทำร่างแผน PDP2024 อยู่ในขั้นตอนของการนำความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย มาประกอบการปรับปรุงร่างแผน PDP2024 ซึ่งยังมีประเด็นความเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น การเพิ่มสัดส่วน การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในร่างแผน PDP2024 สัดส่วนกำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. เป็นต้น จึงส่งผลกระทบต่อการจัดทำแผน PDP2024 โดยหลังจากได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแล้วจะได้นำไปประกอบการปรับปรุง ร่างแผน PDP2024 และนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการพยากรณ์และจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า ของประเทศ และ กบง. พิจารณาต่อไป ก่อนที่จะนำร่างแผน PDP2024 ไปประกอบเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการด้านไฟฟ้าและแผนพลังงานชาติ เพื่อนำเสนอ กพช. และคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป โดยคาดว่าจะไม่สามารถประกาศใช้ได้ทันภายในปี 2567 จึงส่งผลให้ยังไม่สามารถขยายอายุการเดินเครื่องโรงไฟฟ้า พลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ขนาดกำลังผลิตตามสัญญารวม 650 เมกะวัตต์ ออกไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2574 ตามร่างแผน PDP2024 ได้ และ (2) โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ใช้แหล่งก๊าซธรรมชาติน้ำพอง - สินภูฮ่อม ที่มีราคาต้นทุนที่ถูกในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งจะช่วยลดการนำเข้าเชื้อเพลิง Spot LNG และจะช่วยลดต้นทุนการผลิตไฟฟ้าในภาพรวมของประเทศได้
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการขยายอายุการเดินเครื่องของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมน้ำพอง ชุดที่ 1 และ 2 ระยะเวลา 1 ปี (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2568) และมอบหมายให้การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อพิจารณา ให้ความเห็นชอบต่อไป
กบง.ครั้งที่ 5/2567 (ครั้งที่ 69) วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 5/2567 (ครั้งที่ 69)
วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567
1. การกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท)
เรื่องที่ 1 การกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลในน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2565 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการแนวทางการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล (บี100) ในสถานการณ์ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงภาวะปกติและภาวะวิกฤติ ดังนี้ ภาวะปกติ ระยะสั้น (พ.ศ. 2565 ถึง พ.ศ. 2566) กำหนดให้มีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว 2 เกรด คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 สำหรับใช้กับรถบรรทุกขนาดใหญ่ และระยะยาว (พ.ศ. 2567 เป็นต้นไป) กำหนดให้มีน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 เกรดเดียว สำหรับภาวะวิกฤติ คือ ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วสูงกว่า 30 บาทต่อลิตร โดยไม่มีการชดเชยราคาจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ) แบ่งเป็น 2 กรณี คือ หากราคาไบโอดีเซลสูงกว่า 1.5 เท่า หรือ 2.5 เท่า ของราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซลพื้นฐาน (บี0) ให้นำเสนอ กบง. พิจารณาปรับลดสัดส่วนผสมของไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เป็นร้อยละ 5 หรือร้อยละ 3 ตามลำดับ ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2565 กบง. ได้มีมติเห็นชอบมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านน้ำมันเชื้อเพลิงกลุ่มดีเซลหมุนเร็ว ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566 โดยกำหนดสัดส่วนการผสมน้ำมันไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ให้เป็นไปตามสัดส่วนการผสม ดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี7 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 10 โดยปริมาตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่า ร้อยละ 20 โดยปริมาตร และ กบง. ได้มีการขยายมติเห็นชอบการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลต่อไปอีก 3 ครั้ง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 วันที่ 15 กันยายน 2566 และวันที่ 14 ธันวาคม 2566 ตามลำดับ โดยต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้มีมติเห็นชอบ แนวทางการปรับลดชนิดน้ำมันดีเซลหมุนเร็วเหลือ 2 ชนิด คือ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา (หรือน้ำมัน บี7 ที่มีส่วนผสมไบโอดีเซลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 6.6 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร) และน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว บี20 (หรือน้ำมัน บี 20 ที่มีส่วนผสมไบโอดีเซลไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19 และไม่สูงกว่าร้อยละ 20 โดยปริมาตร) ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2567 เป็นต้นไป
2. สถานการณ์ราคาไบโอดีเซลวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 อยู่ที่ 48.33 บาทต่อลิตร โดยราคาไบโอดีเซลเฉลี่ยไตรมาส 1 ไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปี 2567 อยู่ที่ 35.76 บาทต่อลิตร 35.96 บาทต่อลิตร และ 35.59 บาทต่อลิตร ตามลำดับ ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2567 อยู่ที่ 46.38 บาทต่อกิโลกรัม ปรับตัวสูงขึ้นจากเดือนก่อนหน้าถึงร้อยละ 33 โดยราคา CPO เฉลี่ยไตรมาส 1 ไตรมาส 2 และไตรมาส 3 ของปี 2567 อยู่ที่ 33.37 บาทต่อกิโลกรัม 33.16 บาทต่อกิโลกรัม และ 33.16 บาทต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ทั้งนี้ ราคาไบโอดีเซลปรับตัวสูงขึ้นเนื่องจากผลผลิตปาล์มลดลง และสถานการณ์ราคาน้ำมันถั่วเหลืองที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันปาล์มสูงขึ้น ส่งผลให้ราคา CPO ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยกระทรวงพาณิชย์ได้ขอความร่วมมือไม่ให้ส่งออก CPO เพื่อรักษาสมดุลน้ำมันปาล์มในประเทศ ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้รายงานปริมาณสต๊อก CPO เดือนสิงหาคม 2567 อยู่ที่ 330,300 ตัน และคาดการณ์ปริมาณผลปาล์มน้ำมันเดือนกันยายน 2567 อยู่ที่ 1.29 ล้านตัน โดยปริมาณผลปาล์มที่ใช้ผลิตCPO เฉลี่ยอยู่ที่ 1.42 ล้านตัน คิดเป็น CPO 268,419 ตัน และมีความต้องการใช้ภายในประเทศ 205,868 ตัน ส่งออกรวม 114,466 ตัน คิดเป็นสต๊อกคงเหลือยกไปเดือนตุลาคม 2567 เท่ากับ 278,385 ตัน ซึ่งต่ำกว่าระดับสต๊อกที่เหมาะสมซึ่งอยู่ที่ประมาณ 300,000 ตัน ทั้งนี้ สศก. ได้คาดการณ์ปริมาณผลปาล์มน้ำมัน เดือนตุลาคม 2567 อยู่ที่ 1.11 ล้านตัน เดือนพฤศจิกายน 2567 อยู่ที่ 1.03 ล้านตัน และเดือนธันวาคม 2567 อยู่ที่ 1.01 ล้านตัน โดยลดลงตามลำดับ
3. ฝ่ายเลขานุการฯ มีความเห็นว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำมันไบโอดีเซลวันที่ 4 - 10 พฤศจิกายน 2567 ซึ่งอยู่ที่ 48.33 บาทต่อลิตร ปรับเพิ่มขึ้นจากเดือนตุลาคม 2567 ซึ่งอยู่ที่ 40.10 บาทต่อลิตร ส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาเพิ่มสูงขึ้นประมาณ 0.54 บาทต่อลิตร โดยหากกองทุนน้ำมันฯ ยังคงเก็บเงินกองทุนในอัตราปัจจุบันที่ 0.87 บาทต่อลิตร จะทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาปรับเพิ่มขึ้นประมาณ 0.58 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ระดับ 33.52 บาทต่อลิตร ทั้งนี้ การปรับลดสัดส่วนผสม ไบโอดีเซลในน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา จากร้อยละ 6.6 (น้ำมันดีเซล บี7) เป็นร้อยละ 5.0 (น้ำมันดีเซล บี5) จะสามารถลดต้นทุนน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาลงได้ประมาณ 0.46 บาทต่อลิตร โดยปริมาณการใช้ไบโอดีเซลลดลงประมาณ 0.97 ล้านลิตรต่อวัน (คิดจากปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลเฉลี่ยเดือนกันยายน 2567 ซึ่งอยู่ที่ 60.76 ล้านลิตรต่อวัน ปริมาณการใช้ไบโอดีเซลของน้ำมันดีเซล บี7 ประมาณ 4.01 ล้านลิตรต่อวัน และการใช้ ไบโอดีเซลของน้ำมันดีเซล บี5 ประมาณ 3.04 ล้านลิตรต่อวัน) หรือคิดเป็นปริมาณ CPO ในภาคพลังงานลดลงประมาณ 0.85 พันตันต่อวัน (เดือนกันยายน 2567 น้ำมันดีเซล บี7 ใช้ CPO ประมาณ 3.49 พันตันต่อวัน และน้ำมันดีเซล บี5 ใช้ CPO ประมาณ 2.64 พันตันต่อวัน) นอกจากนี้ การปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลดังกล่าวจะทำให้กองทุนน้ำมันฯ มีความยืดหยุ่นในการบริหารกองทุน มีสภาพคล่องดีขึ้น หรือในอนาคต อาจสามารถปรับลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันฯ ได้ ดังนั้น เพื่อให้ราคาไบโอดีเซล ราคา CPO และปริมาณ สต๊อกน้ำมันปาล์มอยู่ในระดับที่เหมาะสม ฝ่ายเลขานุการฯ จึงเห็นควรให้ปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซล อยู่ที่ร้อยละ 5.0 เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพของประชาชนได้เพิ่มขึ้น รวมถึงช่วยลดภาระกองทุนน้ำมันฯ ลง ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป ทั้งนี้ หากมีการปรับลดสัดส่วนผสมไบโอดีเซลจากร้อยละ 6.6 (น้ำมันดีเซล บี7) เป็นร้อยละ 5.0 (น้ำมันดีเซล บี5) ณ วันที่ 7 พฤศจิกายน 2567 โครงสร้างราคาน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดาที่มีสัดส่วนผสมไบโอดีเซลเป็นร้อยละ 5.0 (น้ำมันดีเซล บี5) จะมีราคา ณ โรงกลั่นลดลง จากเดิม 21.43 บาทต่อลิตร มาอยู่ที่ 20.97 บาทต่อลิตร โดยหากคงค่าการตลาดในระดับเดิมที่ 1.84 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาขายปลีกอยู่ในระดับเดิมที่ 32.94 บาทต่อลิตร จะทำให้สามารถพิจารณาปรับอัตราเงิน กองทุนน้ำมันฯ จากเดิมอยู่ที่ 0.87 บาทต่อลิตร เป็น 1.33 บาทต่อลิตร เพื่อช่วยลดภาระของกองทุนน้ำมันฯ ลงได้
4. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้หารือกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ถึงผลกระทบในการปรับสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล โดยทั้ง 2 หน่วยงานได้มีความเห็น ดังนี้
4.1 ธพ. ได้มีความเห็นว่า ไม่มีข้อขัดข้องต่อการดำเนินการดังกล่าว เนื่องจากในด้านเทคนิคไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้งานกับรถยนต์ ซึ่งในส่วนของการออกประกาศ ธพ. กำหนดลักษณะและคุณภาพ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา โดยกำหนดสัดส่วนผสมไปโอดีเซลเป็นไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๕.๐ โดยปริมาตร และไม่สูงกว่าร้อยละ ๗ โดยปริมาตร จะต้องมีขั้นตอนการดำเนินการซึ่งโดยทั่วไปใช้ระยะเวลารวม ๒๕ วัน นับจากวันที่ กบง. มีมติเห็นชอบ แต่ในกรณีที่เป็นนโยบายเร่งด่วนเพื่อบรรเทาผลกระทบด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง ก็สามารถดำเนินการโดยใช้ระยะเวลา ๑๔ วัน นับจากวันที่ กบง. มีมติเห็นชอบ ซึ่งเป็นเหตุผลความจำเป็น ตามข้อ ๔ ของคำแนะนำของคณะกรรมการพัฒนากฎหมาย เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องประกอบการจัดทำร่างกฎหมาย และต้องขอความร่วมมือจากสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ให้เร่งดำเนินการลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นกรณีพิเศษ ทั้งนี้ เห็นสมควรประสาน พพ. ในฐานะกรรมการ ในคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์ม และคณะอนุกรรมการเพื่อบริหารจัดการปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มด้านการตลาด ซึ่งแต่งตั้งภายใต้คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) และในฐานะผู้ช่วยเลขานุการใน กนป. นำเรื่องการปรับลดสัดส่วนไบโอดีเซลเป็นน้ำมันดีเซล บี5 แจ้งต่อคณะอนุกรรมการ ทั้ง ๒ คณะดังกล่าว และ กนป. เพื่อทราบ และแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อพิจารณาปริมาณสต๊อก และระดับราคาของน้ำมันปาล์มที่เหมาะสมต่อไป
4.2 พพ. ได้มีความเห็นว่า จากข้อมูลราคาไบโอดีเซลต่อราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซล บี0 ในช่วงวันที่ 1 มกราคม 2567 – วันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 พบว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2567 ราคาไบโอดีเซลสูงกว่า 1.5 เท่าของราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซล บี0 และตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม 2567 สูงกว่า 2.5 เท่าของราคา ณ โรงกลั่นของน้ำมันดีเซล บี0 ทั้งนี้ พพ. ได้ประมาณการสมดุลน้ำมันปาล์มโดยอาศัยข้อมูลของคณะอนุกรรมการบริหารจัดการสมดุลน้ำมันปาล์ม และคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ (กกร.) ย้อนหลัง 5 ปี สรุปได้ว่า (1) กรณีคงสัดส่วนผสมน้ำมันดีเซล บี7 พบว่าสต็อก CPO ปลายปีในเดือนธันวาคม 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 143,543 ตัน ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการบริโภค และผลผลิตจะเริ่มเข้าสู่ตลาด ตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 ถึงเดือนมิถุนายน 2568 ทำให้สต็อกกลางปีหน้าในเดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ประมาณ 412,709 ตัน และ (2) กรณีปรับสัดส่วนผสมเป็นน้ำมันดีเซล บี5 พบว่าสต็อก CPO ปลายปีในเดือนธันวาคม 2567 จะอยู่ที่ประมาณ 180,830 ตัน ซึ่งจะทำให้ปริมาณการใช้ CPO ในภาคพลังงานลดลงประมาณ 28,000 ตันต่อเดือน และผลผลิตจะเริ่มเข้าสู่ตลาดตั้งแต่เดือนมกราคม 2568 ถึงเดือนมิถุนายน 2568 ทำให้สต็อกกลางปีหน้าในเดือนมิถุนายน 2568 อยู่ที่ประมาณ 618,730 ตัน
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซลประเภทเมทิลเอสเตอร์ของกรดไขมันในน้ำมันกลุ่มดีเซลหมุนเร็วให้เป็นไปตามสัดส่วนการผสม ดังนี้ น้ำมันดีเซลหมุนเร็วธรรมดา ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5.0 และไม่สูงกว่าร้อยละ 7 โดยปริมาตร และน้ำมันดีเซลหมุนเร็วบี 20 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 19 และไม่สูงกว่าร้อยละ 20 โดยปริมาตร ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เป็นต้นไป จนกว่าจะมีมติคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานเปลี่ยนแปลง
2. มอบหมายให้ กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ออกประกาศ ธพ. เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของน้ำมันดีเซล (ฉบับที่ ..) พ.ศ. 2567 ให้สอดคล้องกับการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล ตามข้อ 1
3. มอบหมายให้กระทรวงพลังงาน โดยกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน ประสานฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ นำเสนอการกำหนดสัดส่วนการผสมไบโอดีเซล
กบง.ครั้งที่ 4/2567 (ครั้งที่ 68) วันพุธที่ 25 กันยายน 2567
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 4/2567 (ครั้งที่ 68)
วันพุธที่ 25 กันยายน 2567
1. แผนการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ค.ศ. 2025 - 2050
2. การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
4. อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ
5. แผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู)
เรื่องที่ 1 แผนการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ค.ศ. 2025 - 2050
สรุปสาระสำคัญ
1. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้จัดทำแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน พ.ศ. 2567 - 2580 (แผนพลังงานชาติ) ซึ่งมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ และสอดรับกับการกำหนดเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ของประเทศภายในปี ค.ศ. 2050 ทั้งนี้ การเร่งจัดหาพลังงานสะอาดที่พึ่งพาได้เพื่อช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHG) พร้อมรักษาความสามารถในการตอบสนองความต้องการด้านพลังงานโดยการผลักดันการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน เป็นแนวทางหนึ่งซึ่งจะช่วยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนพร้อมการสร้างความมั่นคงทางพลังงานได้ สนพ. จึงได้ศึกษาและจัดทำแนวทางการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงาน ที่ครอบคลุมมิติ ด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐศาสตร์ และสังคม ที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศ โดยกำหนดวิสัยทัศน์และเป้าหมายให้ประเทศไทยมีความพร้อมในการใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงานตั้งแต่ปี ค.ศ. 2030 และเติบโต อย่างยั่งยืนจนเป็นหนึ่งในทางเลือกที่สำคัญสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี ค.ศ. 2050 โดยมียุทธศาสตร์ 4 ด้านประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน นอกจากนี้ สนพ. ได้แต่งตั้งคณะทำงานขับเคลื่อนด้านนโยบายไฮโดรเจนของประเทศไทย (คณะทำงานฯ) โดยมีผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (ผอ.สนพ.) เป็นประธาน และมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน เพื่อพิจารณาเสนอแนะเป้าหมายและนโยบายการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ตลอดจนจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการการขับเคลื่อนนโยบายไฮโดรเจนของประเทศไทย
2. คณะทำงานฯ ได้จัดทำแผนการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ค.ศ. 2025 – 2050 และแผนปฏิบัติการการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ระยะสั้น ค.ศ. 2025 - 2030 โดยได้พิจารณาให้เชื่อมโยงกับแผนพลังงานชาติ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2567 - 2580 (PDP 2024) ซึ่งกำหนดสัดส่วนผสมไฮโดรเจนกับก๊าซธรรมชาติในสัดส่วนร้อยละ 5 ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2573 เป็นต้นไป และแผนปฏิบัติการด้านพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2567 - 2580 (AEDP 2024) ซึ่งกำหนดให้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงชีวภาพทางเลือกอื่น มีเป้าหมาย ณ ปี พ.ศ. 2580 เท่ากับ 4 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ เพื่อส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนสำหรับกลุ่มเป้าหมาย (โรงไฟฟ้า โรงงานอุตสาหกรรม และยานยนต์) ทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล ด้วยการพัฒนาโครงการนำร่อง มาตรการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนสำหรับกลุ่มผู้ใช้ พัฒนากลไกราคาที่มีการพิจารณาเกณฑ์การปล่อย GHG โดยระยะสั้น ค.ศ. 2025 - 2030 เป็นช่วงของการเตรียมพร้อม ระยะกลาง ค.ศ. 2031 - 2040 เป็นช่วงของการเริ่มต้นพัฒนาตลาดผู้ใช้ในเชิงพาณิชย์ และระยะยาว ค.ศ. 2041 - 2050 เป็นช่วงของการสนับสนุนให้เกิดการเติบโตของตลาดอย่างยั่งยืน
2.2 ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม เพื่อสนับสนุนให้เกิดการผลิตไฮโดรเจนในประเทศ ลดการพึ่งพาการนำเข้าด้วยการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ มาตรการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการ และพัฒนาตลาดและกลไกการซื้อขายคาร์บอน โดยระยะสั้น เป็นช่วงของการวิจัยและพัฒนา ระยะกลาง เป็นช่วงของการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้แก่ผู้ประกอบการไฮโดรเจนในประเทศ และระยะยาว เป็นช่วงของการมุ่งสู่ความยั่งยืน
2.3 ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน รองรับการเติบโตของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง การใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน รวมถึงการซื้อขายไฮโดรเจนระหว่างประเทศ ด้วยการพัฒนาโครงข่ายระบบท่อสำหรับเชื้อเพลิงผสม พัฒนาระบบจัดเก็บ ขนส่ง และสถานีเติมไฮโดรเจน พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีไฮโดรเจน และแอมโมเนีย หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ และกรอบเวลาการดำเนินงาน โดยระยะสั้น เป็นช่วงของการเตรียมความพร้อม ระยะกลาง เป็นช่วงของการพัฒนาระบบรองรับตลาดเชิงพาณิชย์ และระยะยาว เป็นช่วงของการขยายโครงสร้าง พื้นฐานรองรับตลาดใหม่
2.4 ยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน เพื่อเตรียมความพร้อมด้านกฎหมาย มาตรฐาน และข้อกำหนดต่าง ๆ รองรับการจัดหาและการใช้งานไฮโดรเจนตลอดห่วงโซ่คุณค่า โดยระยะสั้น เป็นช่วงของการเตรียมความพร้อม จำเป็นต้องเตรียมการด้านกฎหมาย กฎระเบียบ และมาตรฐานต่าง ๆ รองรับการใช้ในเชิงพาณิชย์ให้ครอบคลุมการดำเนินการในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การขนส่ง ไปจนถึงการใช้งาน ระยะกลางและระยะยาว เป็นช่วงของการติดตาม ประเมิน และปรับปรุง โดยเป็นช่วงของการเติบโต ของตลาดผู้ใช้ไฮโดรเจนสำหรับภาคพลังงานในระยะกลางและระยะยาว อาจมีการพัฒนารูปแบบธุรกิจ และเทคโนโลยีใหม่ ทำให้ต้องมีการศึกษา ติดตาม และทบทวนกฎหมาย ระเบียบ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องเป็นระยะ
3. แผนปฏิบัติการการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ระยะสั้น ค.ศ. 2025 - 2030 เป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการใช้และการจัดหาไฮโดรเจนสำหรับประเทศไทยที่จะผลักดัน ให้เกิดการใช้และการผลิตไฮโดรเจนในเชิงพาณิชย์ภายในปี ค.ศ. 2030 โดยการนำไฮโดรเจนไปใช้ใน 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาคการผลิตไฟฟ้า ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง ทั้งนี้ สาระสำคัญของยุทธศาสตร์ที่ 1 พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้ ประกอบด้วยกลยุทธ์ (1) พัฒนาโครงการนำร่อง (2) มาตรการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนสำหรับกลุ่มผู้ใช้ไฮโดรเจน และ (3) พัฒนากลไกราคาที่มีการพิจารณาเกณฑ์การปล่อย GHG ยุทธศาสตร์ที่ 2 ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม ประกอบด้วยกลยุทธ์ (1) ส่งเสริม การวิจัยและพัฒนารูปแบบธุรกิจใหม่ (2) มาตรการสนับสนุนด้านการเงินและการลงทุนสำหรับผู้ประกอบการ และ (3) พัฒนาตลาดและกลไกการซื้อขายคาร์บอน ยุทธศาสตร์ที่ 3 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย กลยุทธ์ (1) พัฒนาโครงข่ายระบบท่อสำหรับเชื้อเพลิงผสม (2) พัฒนาระบบจัดเก็บ ขนส่ง และสถานี เติมไฮโดรเจน และ (3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับเทคโนโลยีไฮโดรเจนและแอมโมเนีย และยุทธศาสตร์ที่ 4 ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน ประกอบด้วยกลยุทธ์การปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน
มติของที่ประชุม
รับทราบแผนการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจนในภาคพลังงาน ค.ศ. 2025 - 2050
เรื่องที่ 2 การทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้มีมติเห็นชอบการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ดังนี้ (1) เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 และ (2) มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง (กบน.) พิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
2. สถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกมีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากภูมิภาคเอเชียกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวทำให้ผู้ซื้อในเอเชียรวมถึงประเทศอินเดียและญี่ปุ่นเตรียมกักตุนเชื้อเพลิงสำหรับใช้ทำความร้อน โดยในอนาคตราคาบิวเทนอาจเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับราคาโพรเพน เนื่องจากความต้องการบิวเทนเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของสหรัฐอเมริกามักจะเพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้ติดตามสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG พบว่า ราคา LPG ตลาดโลกในเดือนมิถุนายน 2567 ถึงเดือนกันยายน 2567 เพิ่มขึ้นประมาณ 46.34 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน หรือคิดเป็นร้อยละ 8 จาก 558.44 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ในเดือนมิถุนายน 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 604.78 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน ณ วันที่ 18 กันยายน 2567 โดยจากราคาก๊าซ LPG Cargo เฉลี่ย 2 สัปดาห์ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น แม้ว่าค่าใช้จ่ายนำเข้า (X) ปรับตัวลดลง และอัตราแลกเปลี่ยนแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ราคา ณ โรงกลั่นที่อ้างอิงราคานำเข้าซึ่งเป็นราคาซื้อตั้งต้นของก๊าซ LPG (Import Parity) ปรับตัวลดลง 0.2259 บาทต่อกิโลกรัม จากเดิม 22.6265 บาทต่อกิโลกรัม (659.11 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) เป็น 22.4006 บาทต่อกิโลกรัม (658.76 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน) ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ จ่ายเงินชดเชยลดลงจาก 4.0956 บาทต่อกิโลกรัม เป็น 3.8697 บาทต่อกิโลกรัม เพื่อให้ราคา ขายปลีกก๊าซ LPG ขนาดถัง 15 กิโลกรัม อยู่ที่ 423 บาท
3. เมื่อวันที่ 5 มกราคม 2566 กบน. เห็นชอบให้ใช้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในการรักษาเสถียรภาพราคาก๊าซ LPG โดยให้เงินกองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชีก๊าซ LPG ติดลบได้ไม่เกิน 48,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้โอนเงินในส่วนของบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปไปใช้ในบัญชีกลุ่มก๊าซ LPG และให้โอนคืนบัญชีน้ำมันสำเร็จรูปในภายหลัง โดย ณ วันที่ 22 กันยายน 2567 มีฐานะกองทุนสุทธิ ติดลบ 101,343 ล้านบาท แยกเป็น บัญชีน้ำมันติดลบ 53,875 ล้านบาท บัญชีก๊าซ LPG ติดลบ 47,468 ล้านบาท ทั้งนี้ ในส่วนการผลิต และจัดหา (กองทุนน้ำมันฯ #1) มีรายรับ 1,336 ล้านบาทต่อเดือน และในส่วนการจำหน่ายภาคเชื้อเพลิง (กองทุนน้ำมันฯ #2) มีรายจ่าย 1,182 ล้านบาทต่อเดือน ส่งผลให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนบัญชีก๊าซ LPG มีรายรับ 154 ล้านบาทต่อเดือน
4. จากสถานการณ์ราคาก๊าซ LPG ตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นตามฤดูกาล ส่งผลให้ราคาก๊าซ LPG นำเข้ารวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า ณ วันที่ 18 กันยายน 2567 อยู่ที่ 659 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน เทียบได้กับราคาขายปลีกก๊าซ LPG ที่ประมาณ 415 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม ขณะที่ราคาขายปลีกในประเทศอยู่ที่ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม แต่เนื่องจากฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG ยังคงติดลบสูงถึง 47,468 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ ในส่วนของบัญชี LPG มีรายรับเพิ่มขึ้น และไม่ส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชน ฝ่ายเลขานุการฯ จึงขอเสนอแนวทางการปรับราคาก๊าซ LPG ดังนี้ แนวทางที่ 1 คงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคา ขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 หรือแนวทางที่ 2 ปรับขึ้นราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซ LPG ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มไปที่ 21.8524 บาทต่อกิโลกรัม กรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีกก๊าซ LPG อยู่ที่ประมาณ 438 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ทั้งนี้ ฝ่ายเลขานุการฯ ได้วิเคราะห์สภาพคล่องและฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG โดยมีสมมติฐานราคาตลาดโลกที่ 659 เหรียญสหรัฐฯ ต่อตัน พบว่า ณ วันที่ 22 กันยายน 2567 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG อยู่ที่ ติดลบ 47,468 ล้านบาท หากปรับราคาก๊าซ LPG ตามแนวทางที่ 1 หรือแนวทางที่ 2 จะทำให้ ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 ฐานะกองทุนน้ำมันฯ บัญชีก๊าซ LPG จะอยู่ที่ประมาณ ติดลบ 47,006 ล้านบาท หรือติดลบ 46,091 ล้านบาท ตามลำดับ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบคงราคาขายส่งหน้าโรงกลั่นก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ 20.9179 บาทต่อกิโลกรัม โดยมีกรอบเป้าหมายเพื่อให้ราคาขายปลีก LPG อยู่ที่ประมาณ 423 บาทต่อถัง 15 กิโลกรัม มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2567
2. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ ประสานคณะกรรมการบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพิจารณาบริหารจัดการเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงให้สอดคล้องกับแนวทางการทบทวนการกำหนดราคาก๊าซ LPG ต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. วันที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติเพื่อส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ได้ดำเนินการตามมติที่ กพช. มอบหมาย ต่อมาวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 กพช. ได้พิจารณา เรื่อง แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติเพื่อลดภาระค่าไฟฟ้าในช่วงวิกฤตราคาพลังงาน และมอบหมายให้สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กกพ. และบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ไปศึกษาหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดแนวทาง การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยให้เหมาะสม และรายงานผลการศึกษาต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ทราบต่อไป
2. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กพช. ได้พิจารณา เรื่อง การทบทวนแนวทางการส่งเสริม การแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และได้มีมติ ดังนี้ (1) เห็นชอบในหลักการการทบทวนแนวทาง การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการในรายละเอียด โดยมีสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ รูปแบบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. ในด้านปริมาณ คุณภาพ และราคา (Regulated Market) ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน รายใหญ่ (IPP) ผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) และผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก (VSPP) รวมถึงผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ในภาคอุตสาหกรรม และก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ที่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Gas ของประเทศ ทั้งนี้ ได้กำหนดให้ผู้จัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ทุกราย ในกลุ่ม Regulated Market ขายก๊าซธรรมชาติ และ/หรือก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่จัดหาได้ให้กับผู้บริหารจัดการ Pool Gas ของประเทศ (Pool Manager) เพื่อนำไปรวมเป็น Pool Gas ของประเทศ และซื้อก๊าซธรรมชาติออกจาก Pool Gas ตามปริมาณที่จัดหาและนำเข้า Pool Gas ตลอดจนมอบหมายให้ ปตท. เป็น Pool Manager ทั้งนี้ ให้จัดตั้ง เป็นหน่วยงานที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. โดยมีกระบวนการแบ่งขอบเขตงานที่ชัดเจน (Ring Fenced) โดยมอบหมายให้ กกพ. ทำหน้าที่พิจารณาดำเนินการให้เป็นไปตามรูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการ ก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่ เพื่อเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณา 2) กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. ในด้านปริมาณ และคุณภาพ (Partially Regulated Market) ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ที่ไม่มีการใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Gas ของประเทศ และ (2) มอบหมายให้ กบง. เป็นผู้ติดตามการดำเนินการ ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 สามารถปฏิบัติได้ เป็นรูปธรรมต่อไป ทั้งนี้ หากไม่สามารถดำเนินการตามแนวทางดังกล่าวได้ ให้ กบง. จัดทำข้อเสนอแนวทาง การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ใหม่ และนำเสนอ กพช. อีกครั้ง ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กพช. ได้มีมติเห็นชอบแนวทางบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ โดยปรับให้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติ ที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่นำไปใช้ในการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ใช้ต้นทุน ราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย (Gulf Gas) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือน มกราคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 จะแล้วเสร็จ และได้รับ ความเห็นชอบจาก กพช. โดยมอบหมายให้ กกพ. และกระทรวงพลังงานรับไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
3. โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติในปัจจุบันตามประกาศของ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำหนดอัตราค่าบริการก๊าซธรรมชาติสำหรับผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2564 ที่ได้ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 กำหนดให้โครงสร้างราคาขายส่งสำหรับกิจการจัดหา และค้าส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มลูกค้า เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 โดยสามารถสรุปโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ กลุ่มที่ 1 ราคา ก๊าซธรรมชาติที่ขายให้กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย (1) ราคาเฉลี่ยก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย (2) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (S) และ (3) ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (Zone 1) ทั้งนี้ ได้คำนวณค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล (Zone 1) ที่รวมค่าผ่านท่อในทะเลทั้งหมด (รวมค่าผ่านท่อ ก๊าซธรรมชาติของบริษัท ทรานส์ ไทย-มาเลเซีย ประเทศไทย จำกัด) ตามแนวทางที่ กกพ. ได้นำเสนอต่อ กบง. เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 กลุ่มที่ 2 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ปตท. ขายในกลุ่ม Old Supply ประกอบด้วย (1) ราคาเฉลี่ยของก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยหลังโรงแยกก๊าซ (รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ ในทะเล) ก๊าซธรรมชาติจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา (เมียนมา) ณ ชายแดน และก๊าซ LNG (รวมค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ) หรือ Pool Gas (2) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่ง ก๊าซธรรมชาติ และ (3) ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 2 – Zone 4) ทั้งนี้ สำหรับโรงไฟฟ้าน้ำพอง ราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซให้เป็นไปตามที่ ปตท. รับซื้อจากผู้รับสัมปทาน ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 5) และกลุ่มที่ 3 ราคาก๊าซธรรมชาติที่ New Shipper ขายไฟฟ้า ให้โรงไฟฟ้าที่จ่ายเข้าระบบใน Regulated Market ประกอบด้วย (1) ราคา LNG (2) ค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ (3) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และ (4) ค่าผ่านท่อ ก๊าซธรรมชาติบนบก (Zone 3) โดยการกำกับราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติแต่ละแหล่งอยู่ภายใต้การดูแลจาก ภาคนโยบายตามราคาสัมปทานของผู้ผลิตแต่ละแหล่งและการเปลี่ยนแปลงดัชนีอ้างอิงในตลาดโลก สำหรับ การกำกับดูแลอัตราค่าบริการสถานี LNG ในการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซ ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ เมื่อมีการนำเนื้อก๊าซเข้ามาในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลตามมาตรา 64 และมาตรา 65 ของพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 เพื่อกำกับต้นทุนที่จะส่งผ่านค่าไฟฟ้าสำหรับผู้ใช้พลังงานขั้นสุดท้าย (End Users)
4. การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กำหนดกลุ่มลูกค้า และโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ กลุ่มลูกค้าก๊าซธรรมชาติสำหรับการจัดหาและค้าส่งก๊าซ ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ (1) กลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ (2) กลุ่ม Regulated Market และ (3) กลุ่ม Partially Regulated Market โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติ มีดังนี้ (1) ราคาก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย ราคาเนื้อ ก๊าซธรรมชาติ (Pool Gas) ค่าบริการในการจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ และค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติบนบก (2) ราคา Pool Gas เป็นราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณของก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซในประเทศ ก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาจากเมียนมา และก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาในรูปแบบ LNG (3) ราคา ก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซในประเทศ เป็นราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยซึ่งรวมอัตราค่าผ่านท่อ ก๊าซธรรมชาติในทะเล (4) ราคาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาจากเมียนมา เป็นราคาเนื้อก๊าซธรรมชาติซึ่งรวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติเพื่อนำส่งก๊าซธรรมชาติมายังประเทศไทย (5) ราคาก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามา ในรูปแบบ LNG เป็นราคา LNG ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้า และค่าบริการสถานี LNG (6) อัตราค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รายใหม่ต้องไปจองใช้บริการท่อก๊าซธรรมชาติจากผู้บริหารระบบส่งและศูนย์ควบคุมการส่งก๊าซธรรมชาติ (Transmission System Operator: TSO) ให้คำนวณเฉพาะค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ บนบกเท่านั้น (ไม่รวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติในทะเล) โดยมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่ เพื่อเสนอ กบง. และ กพช. พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ตามมติ กพช. ได้มอบหมายให้ ปตท. เป็น Pool Manager โดยให้จัดตั้งเป็นหน่วยงานที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. และมีกระบวนการแบ่งขอบเขตงานที่ชัดเจน มีหน้าที่ทำสัญญาเพื่อรับซื้อก๊าซธรรมชาติจาก Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market คำนวณราคาก๊าซเฉลี่ย และทำสัญญาเพื่อขายก๊าซให้กับ Shipper ทุกราย ในกลุ่ม Regulated Market ในราคาเดียวกัน (Pool Gas) ตามปริมาณก๊าซที่ Shipper นั้น ๆ จัดหาและนำเข้า Pool Gas
5. เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2567 กกพ. ได้เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนี้
5.1 ปรับปรุงชื่อราคาก๊าซธรรมชาติในองค์ประกอบของสูตรราคาก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง อ่าวไทย จากเดิมที่ใช้ Gulf Gas เป็น Gulf Price และราคาก๊าซธรรมชาติในกลุ่ม Regulated Market ในราคาเดียวกัน จากเดิมที่ใช้ Pool Gas เป็น Pool Price เพื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
5.2 ปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งกำหนดให้ ปตท. ทำหน้าที่เป็น Pool Manager และมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่ให้ใช้ราคาก๊าซธรรมชาติที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นก๊าซธรรมชาติที่นำไปใช้ในการผลิต LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติเท่ากับราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจาก อ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 จะแล้วเสร็จ
5.3 การคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติในแต่ละเดือนตามการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคา ข้อ 5.1 และข้อ 5.2 ให้คำนวณตามสูตรการคำนวณและนิยามของตัวแปรตามองค์ประกอบของโครงสร้างราคา ก๊าซธรรมชาติ ดังนี้ (1) ราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย (Gulf Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อก๊าซธรรมชาติจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทุกสัญญาที่หักปริมาณก๊าซธรรมชาติเพื่อเป็นเชื้อเพลิงที่ TSO ใช้ดำเนินการเกี่ยวกับระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในทะเล ตามสูตร Gulf Price = โดยที่ i คือ สัญญาผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย (2) ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติจากเมียนมา (Myanmar Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในเมียนมา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติ ที่ส่งมอบมายังประเทศไทย ซึ่งรวมค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติและค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการนำเข้า ทั้งนี้ ให้หักปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติของ TSO ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงของสถานีเพิ่มความดัน Saiyok Compressor Station (SCS) เพื่อจัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ สำหรับนำไปคำนวณในราคา Pool Price ตามสูตร Myanmar Price =
โดยที่ j คือ สัญญาผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในเมียนมา (3) ราคาเฉลี่ย ของเนื้อก๊าซ LNG (LNG Price) ให้คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณก๊าซธรรมชาติจากการนำเข้ามาในรูปแบบ LNG ซึ่งจัดหาโดย Shipper ในกลุ่ม Regulated Market ที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper ทุกราย โดยราคา LNG ของ Shipper แต่ละรายให้ใช้วิธีการคำนวณแบบ Moving Average ตามราคาและปริมาณนำเข้าและคงค้างในถังเก็บแต่ละเดือนของ Shipper รายนั้น ๆ ทั้งนี้ ราคา LNG นำเข้า ที่นำมาใช้ในการคำนวณให้รวมค่าใช้จ่ายในการนำเข้าตามหลักเกณฑ์ที่ กพช. กำหนด ตามสูตร LNG Price =
โดยที่ k คือ Shipper ที่นำเข้า LNG และ (4) ราคาเฉลี่ยของเนื้อก๊าซธรรมชาติ (Pool Price) สำหรับกลุ่ม Regulated Market ให้ Pool Manager คำนวณราคาเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักของราคาและปริมาณขายก๊าซธรรมชาติของ Shipper ในกลุ่ม Regulated Market ทุกราย ซึ่งเป็นผลรวมของมูลค่าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทย เมียนมา และ LNG ที่ Shipper จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ หารด้วยผลรวมของปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper โดยมีรายละเอียดมูลค่าและปริมาณก๊าซธรรมชาติที่นำมาคำนวณในแต่ละเดือน ตามสูตร Pool Price = [CGulf + CMMR + CLNG] / Qpool โดยที่ 1) มูลค่าก๊าซธรรมชาติอ่าวไทย (CGulf) คือ มูลค่าก๊าซธรรมชาติที่ Shipper รับซื้อจากผู้ผลิตก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยทุกสัญญา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยคำนวณจาก Gulf Price รวมค่าบริการส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติ สำหรับระบบ ท่อส่งก๊าซธรรมชาตินอกชายฝั่ง (Tdzone1 และ Tczone1) ตามอัตราที่ กกพ. กำหนด คูณกับปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ไม่รวมปริมาณก๊าซธรรมชาติส่วนที่โรงแยกก๊าซธรรมชาติใช้ ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กำหนด ตามสูตร CGulf = (Gulf Price + TdZone1 + TcZone1) x (QGulf – QLPG) 2) มูลค่าก๊าซธรรมชาติเมียนมา (CMMR) คือ มูลค่าเนื้อก๊าซธรรมชาติที่ Shipper จัดหาจากเมียนมา ตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ตามสูตร CMMR = Myanmar Price x QMMR 3) มูลค่าก๊าซธรรมชาติเหลว (CLNG) คือ มูลค่า LNG ที่ Shipper ในกลุ่ม Regulated Market จัดหาตามปริมาณก๊าซธรรมชาติที่จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ ซึ่งรวมค่าใช้จ่ายในการให้บริการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซส่วนของต้นทุนคงที่ (Ld) และส่วนของต้นทุนผันแปร (Lc) ตามสูตร
และ 4) ปริมาณก๊าซธรรมชาติ (Qpool) คำนวณจากผลรวมปริมาณก๊าซธรรมชาติที่ Shipper ทุกรายในกลุ่ม Regulated Market จัดส่งให้กับผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติของ Shipper ซึ่งไม่รวมปริมาณก๊าซธรรมชาติที่โรงแยกก๊าซธรรมชาตินำไปใช้ผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กำหนด ตามสูตร Qpool = (QGulf – QLPG) + QMMR + QLNG โดยในกรณีเกิดวิกฤตราคาพลังงานให้นำราคาและปริมาณเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา ก๊าซ LNG หรือเชื้อเพลิงอื่นที่มีมูลค่าเทียบเท่าค่าความร้อนของก๊าซธรรมชาติที่ต้องนำเข้าเพิ่มขึ้น ในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่ง กพช. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 หรือที่ กพช. กำหนดเพิ่มเติมให้นำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในระบบของ กฟผ. แทนการนำเข้า LNG ส่วนเพิ่ม เพื่อลดต้นทุนการนำเข้าพลังงานโดยรวมของประเทศไทยตามที่ กกพ. กำหนด (หน่วยเป็นบาทต่อล้านบีทียู) ทั้งนี้ การคำนวณราคาเฉลี่ยของ เนื้อก๊าซธรรมชาติสำหรับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ให้เป็นไปตามราคาเฉลี่ยเนื้อก๊าซธรรมชาติที่ ปตท. รับซื้อจากผู้รับสัมปทานในแต่ละเดือน
5.4 การทบทวนองค์ประกอบของโครงสร้างราคาขายส่งก๊าซธรรมชาติสำหรับกิจการจัดหา และค้าส่งก๊าซธรรมชาติไปยังกลุ่มผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ (Wholesale Price: W) จำแนกตามกลุ่มลูกค้าได้ 3 กลุ่ม โดยมีข้อเสนอทบทวนสูตรการคำนวณราคาขายส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้เป็นไปตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ดังนี้ กลุ่มที่ 1 กลุ่มโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วย (1) การซื้อขายก๊าซธรรมชาติระหว่าง Shipper กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนนำไปใช้ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ตามสูตร Wโรงแยกก๊าซ (LPG) = Gulf Price + [S1,โรงแยกก๊าซ + S2,โรงแยกก๊าซ] + [Tdzone1 + Tczone1] และ (2) การซื้อขาย ก๊าซธรรมชาติระหว่าง Shipper กับโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ส่วนที่เหลือจากการนำไปใช้ในการผลิตก๊าซ LPG สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงตามข้อ (1) ตามสูตร Wโรงแยกก๊าซ (OTHERS) = Pool Price + [S1,โรงแยกก๊าซ + S2,โรงแยกก๊าซ] กลุ่มที่ 2 กลุ่ม Regulated Market ประกอบด้วย (1) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับโรงไฟฟ้า กฟผ. / IPP ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร Wกฟผ./IPP = Pool Price + [S1,กฟผ/IPP + S2,กฟผ/IPP] + [Tdzone 3 + Tczone 3] (2) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับ SPP ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร WSPP = Pool Price + [S1,SPP + S2,SPP] + [Tdzone 3 + Tczone 3] (3) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับ IPP ที่อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช ตามสูตร Wขนอม = Pool Price + [S1,ขนอม + S2,ขนอม] + [Tdzone 2 + Tczone 2] (4) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ตามสูตร Wจะนะ = Pool Price + [S1,จะนะ + S2,จะนะ] + [Tdzone 4 + Tczone 4] (5) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับโรงไฟฟ้า กฟผ. ที่อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ตามสูตร Wน้ำพอง =(WHตามข้อตกลงระหว่าง ปตท. กับผู้รับสัมปทาน) + [S1,น้ำพอง + S2,น้ำพอง] + [Tdzone 5 + Tczone 5] (6) การซื้อขายก๊าซระหว่าง ปตท. กับผู้ค้า NGV ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร WNGV = Pool Price + [S1,NGV + S2,NGV] + [Tdzone 3 + Tczone 3] และ (7) การซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับผู้ค้าปลีกก๊าซธรรมชาติ ในพื้นที่ Zone 3 ตามสูตร Wผู้ค้าปลีก =Pool Price + [S1,ผู้ค้าปลีก + S2,ผู้ค้าปลีก] + [Tdzone 3 + Tczone 3] ทั้งนี้ ค่า Td และ Tc สำหรับผู้ใช้ก๊าซกลุ่มนี้สามารถกำหนดเป็นอัตราเดียวกันหรือแตกต่างกันได้ตามที่ กกพ. กำหนด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม ต่อผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติในภาพรวมของประเทศ และกรณีมีการซื้อขายก๊าซระหว่าง Shipper กับผู้ค้า NGV และผู้ค้าปลีกก๊าซธรรมชาติตามข้อ (6) และข้อ (7) ในพื้นที่ Zone 2 Zone 4 และ Zone 5 ให้คำนวณโดยใช้ค่าผ่านท่อตามพื้นที่ดังกล่าวในการคำนวณ และกลุ่มที่ 3 กลุ่ม Partially Regulated Market ที่ไม่มีการใช้ ก๊าซธรรมชาติจาก Pool Price ของประเทศ กำหนดให้มีการจัดเก็บอัตราค่าบริการจัดเก็บและแปรสภาพ ก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อตามหลักเกณฑ์ที่ กกพ. กำหนด และในส่วนของแนวทางกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับ Pool Manager ในระยะเริ่มต้น เห็นควรกำหนดให้ ปตท. เป็น Pool Manager ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 โดยไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการสำหรับการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติในระยะเริ่มต้น จนกว่าจะมีการจัดตั้งหน่วยงาน Pool Manager ที่แยกเป็นอิสระจาก ปตท. แล้วเสร็จ สำหรับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงจากการดำเนินงานของ Pool Manager ในระหว่างที่ ยังไม่มีการกำหนดอัตราค่าบริการ ให้เป็นส่วนหนึ่งของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของผู้รับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อผ่านระบบส่งก๊าซธรรมชาติ โดย กกพ. จะพิจารณากำหนดอัตราค่าบริการสำหรับการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติต่อไป
6. ฝ่ายเลขานุการฯ ได้พิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติ กพช. เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามที่ กกพ. เสนอแล้ว พบว่าข้อเสนอดังกล่าวมีความสอดคล้องและเป็นการดำเนินการตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 และวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ที่มอบหมายให้ กกพ. ไปดำเนินการทบทวนโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติให้สอดคล้องกับโครงสร้างกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ที่ทบทวนใหม่
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบข้อเสนอการปรับปรุงสูตรการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติตามมติคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อให้สอดคล้องกับโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อรองรับการแข่งขัน ในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสนอ
2. มอบหมายให้ กกพ. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การคำนวณ ราคาก๊าซธรรมชาติเป็นไปตามนโยบายของ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ต่อไป
3. มอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ นำเสนอ กพช. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป
เรื่องที่ 4 อัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2565 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้พิจารณา เรื่อง การทบทวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม ภายใต้แนวทางการบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ ปี 2565 และมีมติเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่ม โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าเพิ่มเติม จากผู้ผลิตไฟฟ้ากรณีโรงไฟฟ้าที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า (ประเภทพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน แบบทุ่นลอยน้ำ และพลังงานลม) จากสัญญาเดิมและนอกเหนือจากสัญญาเดิม ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 0.50 บาทต่อหน่วย โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบสัญญา Non-Firm ต่อมา เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2566 คณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน (คณะอนุกรรมการฯ) ได้มีมติมอบหมายให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) และสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) หารือการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาส่วนเกินของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ที่ผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงหรือบริการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอื่น ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย เพื่อช่วยลดการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ที่นำมาใช้ผลิตไฟฟ้า และเพิ่มแรงจูงใจในการเข้าร่วมโครงการ เนื่องจากโครงการรับซื้อไฟฟ้าที่ผ่านมามีอัตรารับซื้อไฟฟ้าต่ำเกินไป ระยะเวลาในการรับซื้อสั้น และมีค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้าจึงทำให้มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการค่อนข้างน้อย
2. เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 พพ. ได้นำเสนอหลักการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ต่อคณะอนุกรรมการฯ ด้วยอัตรา รับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย ในรูปแบบ Non-Firm โดยมีรายละเอียดข้อมูล ดังนี้ (1) ข้อมูลจากสำนักงาน กกพ. พบว่า ณ วันที่ 22 มีนาคม 2567 มีโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจที่เข้าเกณฑ์ จำนวน 6,505 ราย มีพลังงานไฟฟ้าจากระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาที่ผลิตได้รวมประมาณ 2,000 ล้านหน่วยต่อปี โดยเมื่อประเมินไฟฟ้าส่วนเหลือจากจำนวนวันหยุดรายปีของกลุ่มดังกล่าวซึ่งประกอบด้วย วันหยุดประจำสัปดาห์ จำนวน 52 วันต่อปี และวันหยุดนักขัตฤกษ์ จำนวนไม่น้อยกว่า 18 วันต่อปี รวมทั้งสิ้น 70 วันต่อปี คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้เอง (Self Consumption) ที่คาดว่าจะสามารถรับซื้อเข้าสู่ระบบโครงข่ายประมาณร้อยละ 19 คิดเป็นพลังงานไฟฟ้าประมาณ 380 ล้านหน่วยต่อปี (2) จากการประเมินการลงทุนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 800 กิโลวัตต์ หากมีการเปิดรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย ระยะเวลาการรับซื้อไฟฟ้าปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี พบว่าจะมีระยะเวลาคืนทุนประมาณ 6 ปี และอัตราผลตอบแทนภายใน (Internal Rate of Return: IRR) ประมาณร้อยละ 14 ทั้งนี้ หากผู้ประกอบการกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจยื่นขอรับสิทธิลดหย่อนภาษีจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน จะทำให้ระยะเวลาคืนทุนลดลง และค่า IRR เพิ่มมากขึ้น (3) การเปิดรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวประมาณ 380 ล้านหน่วยต่อปี คาดว่า จะลดการนำเข้า LNG เพื่อผลิตไฟฟ้าประมาณ 60,000 ตัน (1 ลำเรือ) คิดเป็นมูลค่า 1,593 ล้านบาทต่อปี (กรณีราคา Spot LNG เท่ากับ 14.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู และอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 35.66 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ) ช่วยลดค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (ค่า Ft) จากการนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าลงเท่ากับ 0.0016 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน และแบบทุ่นลอยน้ำ) โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ ที่มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงหรือบริการให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอื่น และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อปีต่อปี ไม่เกิน 2 ปี ในรูปแบบ Non-Firm ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า เท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย และมอบหมายให้ พพ. นำเสนอต่อ กบง. เพื่อพิจารณาเห็นชอบอัตราการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว ต่อมา พพ. ได้ปรับรายละเอียดข้อมูลการประเมินเพื่อให้สอดคล้องกับมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 โดยประเมินกลุ่มเป้าหมายประมาณ 6,585 ราย ปริมาณกำลังผลิตติดตั้งรวม 1,796.81 เมกะวัตต์ ปริมาณไฟฟ้าที่คาดว่าจะผลิตได้ประมาณ 2,360.50 ล้านหน่วยต่อปี โดยมีปริมาณไฟฟ้าที่คาดว่าจะจำหน่ายประมาณ 448.5 ล้านหน่วยต่อปี ซึ่งทำให้คาดว่าประโยชน์ที่จะได้รับเพิ่มสูงขึ้น คือช่วยลดการนำเข้า LNG ประมาณ 70,800 ตัน (1.18 ลำเรือ) คิดเป็นมูลค่า 1,880 ล้านบาทต่อปี (กรณีราคา Spot LNG เท่ากับ 14.32 เหรียญสหรัฐฯ ต่อล้านบีทียู และอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 35.66 บาท ต่อเหรียญสหรัฐฯ) และช่วยลดค่า Ft จากการนำเข้า LNG มาผลิตไฟฟ้าลงเท่ากับ 0.0018 บาทต่อหน่วย โดยราคารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย เทียบกับราคา Marginal Cost (บาทต่อหน่วย) จะไม่มีผลกระทบกับราคาค่าไฟฟ้า
3. พพ. ได้มีหนังสือขอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากสำนักงาน กกพ. และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคาส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจ ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้า 1.00 บาทต่อหน่วย ทั้งนี้ กกพ. มีความเห็นว่า สนับสนุนหลักการของนโยบายการติดตั้งพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนหลังคากลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม และอาคารธุรกิจ และมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ส่วนเกินว่า ควรอยู่ภายใต้การดำเนินงานของศูนย์ควบคุมระบบไฟฟ้า (System Operator: SO) เพื่อให้การบริหารจัดการ ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพ และควรใช้สัญญาซื้อขายไฟฟ้าแบบสัญญาเสถียรระยะสั้น (Semi Firm) ด้าน กฟผ. มีความเห็นว่า พร้อมดำเนินการตามนโยบาย และการรับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อระบบไฟฟ้าเนื่องจากมีการติดตั้งและใช้งานอยู่แล้วในปัจจุบัน รวมทั้งมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้ (1) ควรกำหนดให้ กฟผ. เป็นผู้รับซื้อไฟฟ้าดังกล่าวที่มีปริมาณพลังงานไฟฟ้าขายเข้าระบบไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ (2) กำหนดให้มี Aggregators ทำหน้าที่รวบรวมปริมาณไฟฟ้าเสนอขายเข้าระบบจากหลายโครงการ ปริมาณรวมมากกว่า 10 เมกะวัตต์ ในลักษณะของ Virtual Power Plant (VPP) หรือผู้ผลิตไฟฟ้าแบบกระจายตัว และ (3) กำหนดกรอบปริมาณพลังงานไฟฟ้าและคำนิยามของกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจให้ชัดเจน เพื่อป้องกันปัญหา การตีความในการดำเนินการ ทั้งนี้ พพ. ได้พิจารณาข้อเสนอแนะของ กกพ. และ กฟผ. แล้ว มีความเห็นดังนี้ (1) การรับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจากการใช้งานเองทำให้ไม่สามารถควบคุมปริมาณไฟฟ้าส่วนเกินในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ ได้แน่นอน รวมถึงไม่มีการกำหนดพลังงานทดแทนประเภทอื่นมาใช้เป็นเชื้อเพลิงเสริมเพื่อช่วยรักษาเสถียรภาพการผลิตไฟฟ้า รูปแบบการรับซื้อแบบ Semi Firm จึงอาจไม่มีความเหมาะสม จึงเห็นควรให้ดำเนินการโดยใช้รูปแบบสัญญาประเภท Non-Firm เช่นเดียวกับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าในครั้งที่ผ่านมา (2) การซื้อขายไฟฟ้าส่วนเกินซึ่งมีปริมาณไฟฟ้ายังไม่มาก จึงยังไม่มีความจำเป็นที่จะมี Aggregators ในการรวบรวมปริมาณไฟฟ้า ในการนี้ พพ. มีความเห็นว่าควรดำเนินการในรูปแบบเดิม แต่เพิ่มอัตรารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย ซึ่งไม่มีผลกระทบกับระบบไฟฟ้าและค่าไฟฟ้า โดย พพ. ได้นำเสนอคณะอนุกรรมการฯ เห็นชอบในแนวทางดังกล่าวแล้วเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบอัตราการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ (แบบติดตั้งบนหลังคา แบบติดตั้งบนพื้นดิน และแบบทุ่นลอยน้ำ) โดยรับซื้อพลังงานไฟฟ้าส่วนเกินจากกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรมและอาคารธุรกิจที่มีโรงไฟฟ้าอยู่แล้ว ไม่มีการลงทุนใหม่ ที่มีการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้เองหรือเพื่อจำหน่ายไฟฟ้าโดยตรงหรือบริการ ให้ผู้ใช้ไฟฟ้าอื่น และมีความพร้อมในการจำหน่ายไฟฟ้า ซึ่งระบบโครงข่ายไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายสามารถรองรับได้ โดยเป็นการรับซื้อไม่เกิน 2 ปี (เริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 2568 สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2569) ในรูปแบบ Non-Firm ด้วยอัตรารับซื้อไฟฟ้าเท่ากับ 1.00 บาทต่อหน่วย
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
เรื่องที่ 5 แผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2567 - 2570)
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2567 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้รับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมาตรการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์วิกฤติราคาพลังงาน ในช่วงเดือนมกราคม 2566 ถึงเดือนธันวาคม 2566 รวมทั้งรับทราบข้อเสนอการดำเนินงานต่อไป ที่ให้มีการรวบรวมข้อเสนอแนะจากการถอดบทเรียนการดำเนินมาตรการบริหารจัดการด้านพลังงานในสถานการณ์วิกฤติราคาพลังงานปี 2565 และปี 2566 อาทิ การปรับปรุงกฎหมายและระเบียบให้มีความยืดหยุ่นในการบังคับใช้ ช่วงสถานการณ์ฉุกเฉิน การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน จัดทำเป็นแผนงานและข้อริเริ่มโครงการ ในร่างแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2567 - 2570) (ร่างแผนฯ) ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำโดยคณะทำงานจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2566 - 2570) (คณะทำงานฯ) ตามคำสั่งกระทรวงพลังงาน ที่ 72/2566 ลงวันที่ 16 พฤศจิกายน 2566 และมีกำหนดแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2567 เพื่อกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการขับเคลื่อนแผนงานและข้อริเริ่มโครงการ เตรียมความพร้อมด้านทรัพยากร ตั้งแต่ภาวะปกติ แนวทางการ บูรณาการที่จำเป็นของประเทศ และการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ต่อมาเมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 คณะทำงานฯ ได้เสนอร่างแผนฯ ต่อคณะอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน (คณะอนุกรรมการฯ) ซึ่งแต่งตั้งขึ้นภายใต้คำสั่ง กบง. โดยคณะอนุกรรมการฯ ได้รับทราบหลักการและรายละเอียดร่างแผนฯ และมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการฯ เสนอ กบง. พิจารณาเพื่อใช้เป็นกรอบในการเตรียมพร้อมและบริหารวิกฤตการณ์พลังงานต่อไป
2. แผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2567 - 2570) มีเป้าหมายภาพรวม ได้แก่ “ประเทศไทยมีความพร้อมในการป้องกันผลกระทบและบริหารจัดการวิกฤตการณ์พลังงานอย่างทันท่วงทีให้ฟื้นคืนสู่การมีพลังงานเพียงพอในราคาที่เหมาะสม” ด้วยการกำหนดแนวทางการพัฒนามิติการเตรียมความพร้อมด้านพลังงาน และมิติการเตรียมการบริหารจัดการพลังงานในสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
2.1 แนวทางการจัดทำแผน จัดทำโดยคณะทำงานฯ ซึ่งได้มีการประชุมพิจารณาจัดทำแผน จำนวน 3 ครั้ง และมอบหมายฝ่ายเลขานุการฯ จัดประชุมกลุ่มย่อยจำนวน 4 ครั้ง ได้แก่ การประชุมกลุ่มย่อย ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ด้านก๊าซธรรมชาติ ด้านไฟฟ้า และด้านราคาพลังงาน โดยได้มีการนำร่างแผนฯ รับฟัง ความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 35 หน่วยงาน ในระหว่างเดือนกรกฎาคม 2567 ถึงเดือนสิงหาคม 2567 ทั้งนี้ เนื้อหาของแผนประกอบด้วยส่วนสำคัญ ได้แก่ ความสอดคล้องกับแผนสามระดับ ประเด็นภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านพลังงาน สาระสำคัญของแผน และกฎหมายและกลไกการขับเคลื่อน
2.2 ความสอดคล้องกับแผนสามระดับ แผนปฏิบัติการฯ เป็นแผนระดับที่ 3 มีความสอดคล้องเชื่อมโยงกับแผนระดับที่ 1 และระดับที่ 2 ซึ่งแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม คือ (1) กลุ่มการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (ประเด็นหลัก) สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล แผนย่อยโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงาน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 ร่างแผนปฏิบัติการด้านพลังงาน (พ.ศ. 2567 - 2580) (แผนพลังงานชาติ) และแผนย่อยรายสาขา รวมถึงแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี ของกระทรวงพลังงาน (พ.ศ. 2566 - 2580) และ (2) กลุ่มความมั่นคง (ประเด็นรอง) สอดคล้องเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติประเด็นความมั่นคง นโยบายและแผนระดับชาติว่าด้วยความมั่นคง พ.ศ. 2566 - 2570 แผนเตรียมพร้อมแห่งชาติและแผนบริหารวิกฤตการณ์ (พ.ศ. 2566 - 2570) และนโยบายและแผนปฏิบัติการว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ (พ.ศ. 2565 - 2570)
2.3 ประเด็นภัยคุกคามและความเสี่ยงด้านพลังงาน กำหนดระดับความความรุนแรง ของสถานการณ์ฉุกเฉินตามหลักเกณฑ์สองด้าน คือ ด้านผลกระทบต่อพลังงาน และด้านการบริหารจัดการ ดังนี้ (1) ระดับปานกลาง ด้านผลกระทบต่อพลังงาน คือ ภัยคุกคามส่งผลกระทบต่อการจัดหาและราคาพลังงาน ในบางพื้นที่อย่างจำกัด โดยภาคเศรษฐกิจและประชาชนยังใช้ชีวิตได้ตามปกติ ด้านการบริหารจัดการ คือ กลไกปกติของหน่วยงานกระทรวงพลังงาน และเอกชนภาคพลังงาน (2) ระดับรุนแรง ด้านผลกระทบต่อพลังงาน คือ ส่งผลกระทบต่อการจัดหาหรือราคาพลังงาน กระทบต่อภาคเศรษฐกิจและความปกติสุขของประชาชนในหลายพื้นที่ ด้านการบริหารจัดการ คือ ใช้กลไกตามกฎหมายของกระทรวงพลังงานโดยบริหารแบบบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภายนอก และ (3) ระดับรุนแรงมาก ด้านผลกระทบต่อพลังงาน คือ ส่งผลกระทบต่อการจัดหา และราคาพลังงาน รวมถึงอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจและชีวิตและทรัพย์สินประชาชนในหลายพื้นที่เป็นวงกว้าง ด้านการบริหารจัดการ คือ จำเป็นต้องมีกลไกพิเศษนอกเหนืออำนาจตามกฎหมายของกระทรวงพลังงาน และมีหน่วยงานภาครัฐส่วนกลาง/หน่วยงานภายนอกบัญชาการเหตุ ทั้งนี้ แผนได้กำหนดสัญญาณบ่งชี้การเริ่มใช้แผน หรือ Trigger points ว่าหากเกิดผลกระทบต่อการจัดหาและราคาก๊าซธรรมชาติ น้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้า ตามค่าอ้างอิงที่กำหนด ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรายงานเพื่อประกอบการบ่งชี้ระดับความรุนแรงของสถานการณ์ฉุกเฉินและกำหนดกลไกการตอบสนองต่อสถานการณ์ต่อไป นอกจากนี้ แผนได้กำหนดให้มีการประเมิน ผลกระทบ (Impact) และโอกาส (Likelihood) ของสถานการณ์ฉุกเฉินด้วยวิธี Risk Matrix โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้านพลังงานเป็นประจำอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ซึ่งในปี 2567 คณะทำงานฯ ได้ประเมินโอกาสและผลกระทบของสถานการณ์ฉุกเฉินที่คัดกรองเบื้องต้น (Environmental Scanning) จากสถานการณ์ฉุกเฉินที่เคยเกิดขึ้นและยังส่งผลต่อเนื่อง ที่มีแนวโน้มเกิดขึ้นใหม่ ที่เคยมีกรณีในต่างประเทศ หรือที่มีปัจจัยอุปสรรคภายในประเทศ จำนวน 8 ประเด็นภัยคุกคาม 17 สถานการณ์ฉุกเฉิน ผลการประเมินพบว่าโดยภาพรวมไม่มีสถานการณ์ฉุกเฉินใด ที่มีแนวโน้มจะยกระดับสู่เหตุการณ์ระดับรุนแรงมาก ทั้งนี้ ประเด็นภัยคุกคามที่ได้รับการประเมินว่าอยู่ในระดับรุนแรง ถึงปานกลาง และได้นำมาเป็นสถานการณ์สมมติประกอบการสัมมนาเชิงปฏิบัติการซ้อมแผนการแก้ไขสภาวะฉุกเฉินด้านพลังงาน เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2567 ได้แก่ (1) ประเด็นความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งจะส่งผลกระทบให้เกิดความผันผวนของราคาเชื้อเพลิงนำเข้า ทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และน้ำมันดิบ (2) ประเด็นข้อจำกัดการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด มีความเสี่ยงว่าการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานอาจมีข้อจำกัดจากการอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงฟอสซิลแบบหน้ากระดาน (3) ประเด็นข้อจำกัดทางกฎหมายกฎระเบียบ ในกระบวนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการดำเนินมาตรการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน และความล่าช้าในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนมาตรการบริหารสถานการณ์ฉุกเฉิน และ (4) ประเด็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากภาวะอากาศร้อนแห้งแล้ง ทำให้ความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุด (Peak Demand) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
2.4 สาระสำคัญของแผน มีหลักการจัดทำโดยวิเคราะห์และบูรณาการข้อมูลจาก 3 ส่วน ได้แก่ (1) แผนภายใน คู่มือและแนวทางด้านการบริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินของหน่วยงานสังกัดกระทรวงพลังงาน ที่เคยจัดทำ (2) ข้อเสนอแนะจากการฝึกซ้อมแผนเตรียมพร้อมสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงานของกระทรวงพลังงานที่จัดขึ้นรายปี ระหว่างปี 2561 - 2565 และ (3) การถอดบทเรียน ปัญหาอุปสรรค และข้อเสนอแนะ จากการดำเนินมาตรการบริหารวิกฤติราคาพลังงาน ระหว่างปี 2565 – 2566 ของคณะอนุกรรมการฯ ทั้งนี้ แบ่งเนื้อหาสำคัญออกเป็นแผนย่อย 2 เรื่อง ดังนี้ (1) แผนย่อยเรื่องที่ 1 การเตรียมความพร้อม จากวิกฤตการณ์พลังงาน มีเป้าหมายย่อยให้ประเทศไทยมีความพร้อมด้านการจัดหาพลังงานในภาวะวิกฤติ และมีกลไกป้องกันและบรรเทาวิกฤติพลังงาน มีแนวทางการพัฒนา 4 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 พัฒนาคุณภาพฐานข้อมูลสำหรับการเตรียมพร้อมบริหารจัดการวิกฤติ แนวทางที่ 2 ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานในการป้องกันและบรรเทาวิกฤติพลังงาน แนวทางที่ 3 พัฒนานโยบาย มาตรการ กฎหมาย และกลไกการบริหารจัดการ และแนวทางที่ 4 พัฒนากำลังคนและเครือข่ายความร่วมมือด้านการเตรียมพร้อมบริหารจัดการวิกฤติทั้งใน และต่างประเทศ โดยมีข้อเสนอกรอบแผนงาน 17 แผนงาน และ (2) แผนย่อยเรื่องที่ 2 การบริหารจัดการ วิกฤติพลังงาน มีเป้าหมายย่อยให้หน่วยงานของรัฐด้านพลังงานมีศักยภาพสูงในการบริหารจัดการวิกฤติพลังงาน มีแนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่ แนวทางที่ 1 พัฒนาประสิทธิภาพในการสื่อสารและประสานงาน เพื่อบริหารวิกฤติพลังงาน และแนวทางที่ 2 พัฒนาประสิทธิภาพการซักซ้อมการรับมือสถานการณ์ฉุกเฉิน โดยมีข้อเสนอกรอบแผนงาน 4 แผนงาน ทั้งนี้ แผนได้มีการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบหลักของกรอบแผนงาน โดยให้หน่วยงานดังกล่าวจัดทำข้อเสนอแผนงานโครงการและงบประมาณเพื่อขับเคลื่อนกรอบแผนงานระหว่าง ปี 2568 – 2570 รวมทั้งกำหนดให้มีแนวทางการติดตามประเมินผลรายปีโดยคณะผู้ประเมินผลทั้งระดับเป้าหมายภาพรวม เป้าหมายแผนย่อย ตัวชี้วัด และข้อเสนอแผนงาน เพื่อติดตามผลสัมฤทธิ์การปฏิบัติงาน อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
2.5 กฎหมายและกลไกการขับเคลื่อน แผนได้ระบุรายชื่อของกฎหมาย และรายละเอียดมาตราที่เกี่ยวข้องสำหรับบริหารวิกฤติระดับชาติภาพรวม จำนวน 15 ฉบับ และกฎหมายด้านพลังงานที่หน่วยงาน ด้านพลังงานเป็นผู้ปฏิบัติและบังคับใช้ จำนวน 11 ฉบับ โดยกฎหมายดังกล่าวจะนำไปใช้บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินผ่านกลไกบริหารวิกฤตการณ์ระดับชาติ กรณีเป็นสถานการณ์ระดับรุนแรงมาก เช่น กลไกคณะกรรมการแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนพลังงาน ตามอำนาจในพระราชกำหนดแก้ไขและป้องกันภาวะการขาดแคลนด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2516 หรือกลไกการบริหารวิกฤติของกระทรวงพลังงาน กรณีเป็นสถานการณ์ระดับรุนแรง หรือปานกลาง เช่น กลไกอนุกรรมการบริหารจัดการรองรับสถานการณ์ฉุกเฉิน ด้านพลังงาน ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่ง กบง. ภายใต้อำนาจของพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และกลไกการจัดตั้งศูนย์อำนวยการสถานการณ์ฉุกเฉินด้านพลังงาน ตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน กรณีมีสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้ มีกฎหมายและกลไกระดับหน่วยงานที่ใช้บริหารจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินระดับปานกลาง ถึงรุนแรง ด้านการจัดหาและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้า ทั้งนี้ แผนได้ระบุบทบาทหน้าที่ของหน่วยงาน และหน้าที่ต่อการขับเคลื่อนแผน ของหน่วยงานรวม 39 หน่วยงาน แบ่งเป็นหน่วยงานในกำกับกระทรวงพลังงาน 10 หน่วยงาน และหน่วยงานภาครัฐภายนอก 29 หน่วยงาน เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน องค์กร ในกำกับกระทรวงพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับภาคพลังงาน ใช้เป็นกรอบในการดำเนินงานด้านการเตรียมความพร้อมและบริหารจัดการสถานการณ์วิกฤติด้านพลังงาน รวมถึงมีความเข้าใจในบทบาทการร่วมสนับสนุนการดำเนินงานตามแผนต่อไป
มติของที่ประชุม
เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการเตรียมพร้อมและการบริหารวิกฤตการณ์พลังงาน (พ.ศ. 2567 - 2570) ทั้งนี้ ให้กระทรวงพลังงานโดยสำนักงานปลัดกระทรวงพลังงาน รับความเห็นของที่ประชุมในการแก้ไขกฎหมายและยกร่างกฎหมายใหม่กรณีที่มีความจำเป็น เพื่อเตรียมพร้อมและบริหารวิกฤตการณ์พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
กบง.ครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 67) วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
มติการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน
ครั้งที่ 3/2567 (ครั้งที่ 67)
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567
1. แผนการจัดหา Spot LNG ปี 2567
ผู้มาประชุม
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ประธานกรรมการ
(นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค)
ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กรรมการและเลขานุการ
(นายวีรพัฒน์ เกียรติเฟื่องฟู)
เรื่องที่ 1 แผนการจัดหา Spot LNG ปี 2567
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้พิจารณา เรื่อง แนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2564 ได้รับทราบมติ กพช. ดังนี้ (1) เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการ ก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการในรายละเอียดต่อไป โดยมอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) และกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) พิจารณาปริมาณการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และความสามารถที่เหลือที่จะนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) โดยไม่ส่งผลกระทบต่อภาระ Take or Pay และให้นำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) และ กพช. เพื่อพิจารณาปริมาณการนำเข้า LNG ในระยะที่ 2 ให้แล้วเสร็จภายในไตรมาส 2 ปี 2564 และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เป็นผู้กำกับดูแล และ (2) มอบหมาย กบง. เป็นผู้พิจารณาและดำเนินการตามแนวทางการส่งเสริมการแข่งขัน ในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 ในทางปฏิบัติให้เป็นรูปธรรมต่อไป ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 กบง. ได้พิจารณาสถานการณ์การจัดหาก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเอราวัณ และการทบทวนปริมาณการนำเข้า LNG ปี 2565 - 2567 และมีมติเห็นชอบความสามารถในการนำเข้า LNG สำหรับปี 2565 - 2567 รวม 4.5 5.2 และ 5.0 ล้านตัน ตามลำดับ ทั้งนี้ หากพบว่าปริมาณความสามารถในการนำเข้า LNG มีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจากตัวเลขดังกล่าว ให้ ชธ. และ ปตท. เสนอต่อ กบง. เพื่อพิจารณาทบทวน โดยมอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้บริหารจัดการปริมาณการนำเข้า LNG ปี 2565 - 2567 และกำกับดูแลต่อไป และต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2567 กบง. ได้รับทราบรายงานผลการนำเข้า LNG ปี 2566 จำนวน 6.2 ล้านตัน ตามที่ ชธ. เสนอ
2. กกพ. ดำเนินการกำกับดูแลบริหารจัดการการนำเข้า LNG ที่ผ่านมา ดังนี้ (1) การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติในช่วงที่มีปัญหารอยต่อสัมปทานก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย โดยจากสถานการณ์พลังงานโลก และภาวะการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติที่ส่งผลต่อประมาณการอัตราค่าไฟฟ้า กกพ. ได้พิจารณามาตรการบริหารจัดการเสถียรภาพค่าไฟฟ้า อาทิ การนำเงินบริหารจัดการอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เก็บรักษาก่อนหน้านี้ และเงินเรียกคืนฐานะทางการเงินของการไฟฟ้าปี 2563 มาช่วยบรรเทาผลกระทบการเพิ่มขึ้นของค่า Ft นอกจากนี้ กกพ. ได้หารือร่วมกับกระทรวงพลังงาน เพื่อพิจารณา แนวทางการบรรเทาผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้าจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เพิ่มเติม โดยได้นำเงินผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการบริหารจัดการภาระการจัดหาก๊าซธรรมชาติ ที่มากกว่าความต้องการ ทำให้เกิดภาระผูกพันต้องจ่ายเงินค่าก๊าซธรรมชาติล่วงหน้าตามปริมาณในสัญญาไปก่อน (Take or Pay) ของแหล่งก๊าซธรรมชาติเมียนมาในอดีต ซึ่งเมื่อมีการเรียกปริมาณก๊าซธรรมชาติ (Make up) ที่จ่ายเงินไว้แล้วมาใช้ในภายหลัง โดยราคาก๊าซธรรมชาติที่จ่ายไปในอดีตถูกกว่าราคาปัจจุบัน ทำให้เกิดผลประโยชน์จากการเรียก Make up ณ ปี 2563 มาลดราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อลดราคาค่าไฟฟ้าเพิ่ม และ (2) การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติในช่วงวิกฤตราคาพลังงานปี 2565 ซึ่งเกิดภาวะพลังงานตึงตัว (Energy Crisis) ส่งผลให้ราคาก๊าซธรรมชาติยังคงปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง กกพ. จึงได้พิจารณาแนวทางเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาสถานการณ์ ก๊าซธรรมชาติขาดแคลน โดยพิจารณาร่วมกับผู้รับใบอนุญาต และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กฟผ. ปตท. และกระทรวงพลังงาน ดำเนินการเลื่อนแผนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะ เครื่องที่ 8 ออกไปจนถึงธันวาคม 2565 รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนส่วนเพิ่มจากผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) กลุ่มชีวมวล และให้มีการผลิตไฟฟ้า จากเชื้อเพลิงน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตาทดแทนก๊าซธรรมชาติ ซึ่งสามารถช่วยลดการนำเข้า LNG ในรูปแบบตลาดจร (Spot LNG) ได้ประมาณ 2.1 ล้านตันต่อปี ทำให้สามารถลดการนำเข้า Spot LNG จาก 4.5 ล้านตันต่อปี เหลือเพียง 2.4 ล้านตันต่อปี
3. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 กพช. ได้มอบหมายให้ กกพ. เป็นหน่วยงานที่ทำหน้าที่พิจารณาการดำเนินการให้เป็นไปตามรูปแบบการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 โดยในการพิจารณาปริมาณการนำเข้า LNG มอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารจัดการใช้ ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งรวมถึงการกำหนดปริมาณการเรียกใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เหมาะสม และปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่ต้องทำการสำรองไว้ (Swing Gas) และให้ กกพ. กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ Bypass Gas ได้ในกรณีมีความจำเป็น เช่น ทดสอบระบบ การควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติให้อยู่ในเกณฑ์ ที่กำหนด และกรณีที่อาจกระทบต่อความมั่นคงด้านพลังงาน เป็นต้น ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยคณะอนุกรรมการกำกับการจัดหาและบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติของประเทศ (Regulatory Sub-Committee for Pool Gas Provision and Management: PPM) (อนุกรรมการ PPM) ซึ่งมีผู้แทนจากสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ชธ. และกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นองค์ประกอบ ได้พิจารณาแผนการจัดหา Spot LNG ตามที่ ปตท. ในฐานะผู้รับใบอนุญาตบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Pool Manager) เสนอ โดยในปี 2567 มีแผนการนำเข้า LNG ส่วนเพิ่ม 4.7 ล้านตัน ลดลงจากมติ กบง. เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564 ที่เห็นชอบความสามารถในการนำเข้า LNG ที่ 5.0 ล้านตัน เนื่องจากมีการเรียกรับก๊าซ จากอ่าวไทยได้เพิ่มขึ้น และมีการจัดหา LNG เพิ่มเติมด้วยสัญญาระยะสั้นโดยผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่ง ก๊าซธรรมชาติ (Shipper) รายใหม่ ตามแนวทางการเปิดเสรีระยะที่ 2 ทั้งนี้ กกพ. ได้พิจารณาถึงความมั่นคง ในการจัดหาพลังงานเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศ รวมถึงดำเนินการ ตามนโยบายการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 โดยได้เห็นชอบให้ Shipper กฟผ. และ Shipper หินกองเพาเวอร์โฮลดิ้ง จัดหา LNG ในรูปแบบสัญญาระยะสั้น (Short Term) จำนวน 15 ลำเรือ และ 8 ลำเรือ ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับแผนความต้องการใช้และการจัดหา (Demand – Supply) ของ Shipper ส่งผลให้มีแผนการจัดหา Spot LNG ส่วนเพิ่มในปี 2567 จำนวนทั้งสิ้น 79 ลำเรือ
4. กกพ. เห็นว่าเพื่อดำเนินการตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2566 ที่มอบหมายให้ กกพ. เป็นผู้กำกับดูแลและบริหารจัดการใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย ซึ่งรวมถึงการกำหนดปริมาณการเรียกใช้ก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยที่เหมาะสม และปริมาณ Swing Gas เพื่อความมั่นคงของระบบพลังงานของประเทศ จึงเห็นควรเสนอให้มีการเรียกรับก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและทางท่อในปริมาณก๊าซที่ผู้ขายจะต้องส่งมอบ ตามสัญญาให้แก่ผู้ซื้อในแต่ละวัน (Daily Contract Quantity: DCQ) และใช้ Swing Gas ตามความสามารถ ที่ผู้ขายรับรองว่าจะส่งก๊าซให้ได้ในแต่ละวัน (Contractual Delivery Capacity: CDC) ในกรณีที่มีความต้องการใช้ก๊าซที่เพิ่มสูงขึ้นกว่าแผนการจัดหาเชื้อเพลิงที่ได้เตรียมไว้ หรือจากสถานการณ์ต่าง ๆ ตามที่ กกพ. เห็นควร เพื่อเพิ่มความมั่นคงของระบบพลังงาน ซึ่งจะช่วยลดการออกจัดหา Spot LNG ที่เป็นเที่ยวเรือเร่งด่วน (Prompt Cargo) ซึ่งมีความเสี่ยงเชิงราคาที่อาจสูงกว่าราคา JKM (Japan-Korea Marker) ณ เวลานั้น และความเสี่ยง เชิงปริมาณที่อาจไม่สามารถจัดหา Spot LNG ได้เนื่องจากระยะเวลาอันสั้น โดยได้แจ้งให้ ปตท. ในฐานะ Shipper ดำเนินการตามมติ กพช. ดังกล่าวแล้ว ทั้งนี้ จากข้อมูลการจัดหาก๊าซธรรมชาติของแหล่งในประเทศที่ได้รับจาก ชธ. พบว่าแหล่งอ่าวไทยมี Swing Gas ประมาณ 191 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ช่วยลดความเสี่ยงจากการจัดหา Spot LNG Prompt Cargo ได้ประมาณ 1.7 ลำต่อเดือน ซึ่งสอดคล้องกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของ Demand – Supply ที่พบในการพิจารณาการจัดหา Spot LNG ของอนุกรรมการ PPM ที่ผ่านมา
มติของที่ประชุม
รับทราบแผนการจัดหา Spot LNG ปี 2567
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนและอัตรารับซื้อจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ต่อมา เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าและอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับปี 2565 – 2573 ในปริมาณรวม 5,203 เมกะวัตต์ และเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2569 ในปริมาณ 100 เมกะวัตต์ ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้า และกำกับดูแลการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ อาจพิจารณาทบทวนปริมาณเชื้อเพลิงรายปีที่กำหนดไว้ได้ตามสถานการณ์หรือศักยภาพที่เหมาะสม หรือปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณา และต่อมา เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 กบง. ได้เห็นชอบปรับปรุงกรอบหลักเกณฑ์การคัดเลือกโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT กลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2565 – 2573 ด้านคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของโครงการ และเห็นชอบให้ กกพ. สามารถพิจารณาปรับเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้ารายปี เฉพาะกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงได้ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับผลคะแนนความพร้อมด้านเทคนิค ข้อเสนอขายไฟฟ้า กำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) และศักยภาพระบบไฟฟ้า ทั้งนี้ ไม่ให้เกินกรอบเป้าหมายรวมของแต่ละประเภทเชื้อเพลิงตามแผนการเพิ่ม การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม)
2. เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 กบง. ได้รับทราบรายงานผลการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) โดยที่ประชุมได้มีความเห็นต่อผลการดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าที่สะท้อนถึงความสนใจและศักยภาพของผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียน จึงมีความเห็นให้พิจารณาแนวทางการบริหารจัดการเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้าตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ให้สามารถรองรับการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่มีปริมาณมากเพิ่มเติมได้ เพื่อเพิ่มปริมาณไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดและสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายการลด ก๊าซเรือนกระจกและมุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) ได้ตามแผนที่กำหนดไว้ โดยต่อมา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 กบง. ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) และเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 กพช. ได้รับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 และมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้อาจพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบให้ กบง. พิจารณา
3. เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2567 สำนักงาน กกพ. ได้มีหนังสือถึง สนพ. ในฐานะฝ่ายเลขานุการฯ กพช. แจ้งว่า สำนักงาน กกพ. ได้นำกรอบนโยบายไปจัดทำร่างระเบียบการจัดหาไฟฟ้า และรับฟังความคิดเห็นหลักการสำคัญของการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง รอบขยายการรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่ 1 ตามที่บัญญัติในพระราชบัญญัติการประกอบ กิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ปรากฏว่ามีข้อคิดเห็นต่อหลักการรับซื้อไฟฟ้าตามมติ กพช. ข้อ 3 (4) ที่กำหนดว่า “ผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม ต้องไม่เกี่ยวข้อง (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) หรือมีสถานะเป็นผู้เรียกร้อง ผู้ร้องเรียน ผู้อุทธรณ์ ผู้ฟ้องร้อง หรือผู้ร้องสอด ให้หน่วยงานภาครัฐ คณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ซึ่งหมายรวมถึง กพช. กกพ. และกระทรวงพลังงาน ต้องรับผิดในทางวินัย ทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจะต้องยืนยันความไม่เกี่ยวข้องหรือยืนยันสถานะดังกล่าวตลอดเวลา” ซึ่งพิจารณาว่าอาจเป็นการจำกัดสิทธิไม่ชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 และหลักการตามมติ กพช. ข้อ 4 (2) ที่ให้รับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมรอบที่ 2 (รอบ Resit) กำหนดให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ไม่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบเดิมเท่านั้น สามารถดำเนินการปรับปรุงแก้ไขคำเสนอขายไฟฟ้าให้ครบถ้วนและยื่น คำเสนอขายไฟฟ้าใหม่ ว่าอาจเข้าข่ายเป็นการเลือกปฏิบัติ เนื่องจากไม่เปิดโอกาสให้ผู้ยื่นขอเสนอไฟฟ้ารายใหม่เข้าร่วมแข่งขัน ซึ่ง กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 มีมติให้กระทรวงพลังงานพิจารณายืนยันว่าจะให้ กกพ. ดำเนินการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามหลักการการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 หรือไม่ อย่างไร
4. ข้อเสนอปรับปรุงข้อความของหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ในข้อ 3 และข้อ 4 มีรายละเอียดดังนี้
4.1 ข้อ 3 จากเดิม “3. การรับซื้อไฟฟ้าให้ยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการ และเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการตามหลักการเช่นเดียวกับที่ได้รับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 สำหรับขยะอุตสาหกรรม และที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565 ทั้งนี้ กำหนดให้เพิ่มเติมเงื่อนไขของผู้ยื่นข้อเสนอที่สำคัญ ดังนี้” แก้ไขเป็น “3. การรับซื้อไฟฟ้าให้ยึดหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกโครงการและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการตามหลักการเช่นเดียวกับที่ได้รับความเห็นชอบจาก กพช. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 สำหรับขยะอุตสาหกรรม และที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2565”
4.2 ข้อ 3 (1) จากเดิม “ผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม ต้องเป็นผู้ยื่นคำเสนอ ขายไฟฟ้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail) หรือไม่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ซึ่งเป็นการรับซื้อตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565” แก้ไขเป็น ยกเลิกข้อความ ข้อ 3 (1) ทั้งหมด
4.3 ข้อ 3 (2) จากเดิม “ผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม ต้องใช้หนังสือแสดงผล การตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าฉบับเดิมที่ได้ใช้เป็นเอกสารประกอบการยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าภายใต้ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1” แก้ไขเป็น ยกเลิกข้อความข้อ 3 (2) ทั้งหมด
4.4 ข้อ 3 (3) จากเดิม “ผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม สามารถเปลี่ยนแปลงปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายได้ แต่ต้องไม่สูงเกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามคำเสนอขายไฟฟ้าที่ได้ยื่นไว้ภายใต้ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ทั้งนี้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงประเภทเชื้อเพลิง ที่ตั้งโครงการ จุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ระดับแรงดันที่เชื่อมต่อ และรูปแบบการเชื่อมต่อตามที่ระบุในหนังสือแสดงผลการตรวจสอบจุดเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าฉบับเดิมได้” แก้ไขเป็น ยกเลิกข้อความข้อ 3 (3) ทั้งหมด
4.5 ข้อ 3 (4) จากเดิม “ผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติม ต้องไม่เกี่ยวข้อง (ทั้งทางตรงและทางอ้อม) หรือมีสถานะเป็นผู้เรียกร้อง ผู้ร้องเรียน ผู้อุทธรณ์ ผู้ฟ้องร้อง หรือผู้ร้องสอด ให้หน่วยงานภาครัฐคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ คณะทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนตามระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ซึ่งหมายรวมถึง กพช. กกพ. และกระทรวงพลังงาน ต้องรับผิดในทางวินัย ทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางปกครอง จากการที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว โดยผู้ยื่นข้อเสนอในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมจะต้องยืนยันความไม่เกี่ยวข้องหรือยืนยันสถานะดังกล่าวตลอดเวลา” แก้ไขเป็น ยกเลิกข้อความข้อ 3 (4) ทั้งหมด
4.6 ข้อ 4 จากเดิม “4. การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมตามตารางที่ 1 ในข้อ 2 ให้เริ่มดำเนินการเมื่อสำนักงาน กกพ. ทำการประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1เสร็จสิ้น และมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้” แก้ไขเป็น “4. การรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมตามตารางที่ 1 ในข้อ 2 ให้เริ่มดำเนินการเมื่อสำนักงาน กกพ. ทำการประกาศรายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ซึ่งเป็นการรับซื้อตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ที่ได้รับความเห็นชอบจาก กบง. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 เสร็จสิ้น และมีแนวทางการดำเนินการ ดังนี้”
4.7 ข้อ 4 (1) จากเดิม “4 (1) ให้ความสำคัญเป็นลำดับแรกกับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าประเภทพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน ที่ผ่านเกณฑ์การพิจารณาความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail) แต่ไม่ได้รับการคัดเลือก ภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ทั้งนี้ กำหนดให้ กกพ. พิจารณารับซื้อไฟฟ้าจากผลการประเมินความพร้อมตามเกณฑ์คะแนนคุณภาพ (Scoring) ที่ได้จัดทำไว้โดยไม่ต้องปรับปรุงแก้ไขคำเสนอขายไฟฟ้า และมีปริมาณรับซื้อไฟฟ้ารวมไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานลม และไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์ แบบติดตั้งบนพื้นดิน โดยให้พิจารณารับซื้อเรียงตามลำดับเชื้อเพลิง ดังนี้ 1) พลังงานลม และ 2) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน สำหรับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกเป็นรายสุดท้ายภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 ของแต่ละประเภทเชื้อเพลิง และยินยอมปรับลดปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายไม่ให้เกินกว่ากรอบเป้าหมายที่คงเหลือนั้น ให้ กกพ. สามารถปรับเพิ่มปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายให้กับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้ารายดังกล่าวได้ไม่เกินกว่าปริมาณพลังไฟฟ้าเสนอขายตามคำเสนอขายไฟฟ้าเดิม ถ้าหากโครงข่ายระบบไฟฟ้ามีศักยภาพที่สามารถรองรับได้” แก้ไขเป็น คงข้อความตามข้อ 4 (1) ตามเดิม
4.8 ข้อ 4 (2) จากเดิม “4 (2) การรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือหลังหักปริมาณที่ได้รับซื้อไปแล้วในข้อ 4 (1) ให้ดำเนินการในลำดับถัดมา โดยเปิดโอกาสให้ผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail) หรือไม่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 หรือไม่ได้รับการคัดเลือกในการรับซื้อตามข้อ 4 (1) สามารถปรับปรุงแก้ไขคำเสนอขายไฟฟ้าที่ได้ยื่นไว้แล้วให้ครบถ้วนได้ ภายใต้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ กกพ. กำหนด รวมถึงเงื่อนไขของผู้ยื่นข้อเสนอในข้อ 3 ทั้งนี้ ให้พิจารณารับซื้อเรียงตามลำดับเชื้อเพลิง ดังนี้ 1) ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 2) พลังงานลม 3) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และ 4) ขยะอุตสาหกรรม สำหรับผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิงพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน ภายใต้ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 สามารถเปลี่ยนแปลงประเภทเชื้อเพลิงเป็นพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน เพื่อเข้ารับการพิจารณาคัดเลือกในการรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมส่วนที่เหลือนี้ได้” แก้ไขเป็น “4 (2) การรับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือหลังหักปริมาณที่ได้รับซื้อไปแล้ว ในข้อ 4 (1) ให้ดำเนินการในลำดับถัดมา โดยเปิดให้มีการรับซื้อไฟฟ้าเป็นการทั่วไป ทั้งนี้ ให้พิจารณารับซื้อ เรียงตามลำดับเชื้อเพลิง ดังนี้ 1) ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 2) พลังงานลม 3) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และ 4) ขยะอุตสาหกรรม”
4.9 ข้อ 4 (3) จากเดิม “4 (3) การรับซื้อไฟฟ้าจะพิจารณาตามศักยภาพของโครงข่าย ระบบไฟฟ้าที่สามารถรองรับได้ โดยการประเมินความสามารถระบบไฟฟ้าให้ดำเนินการประเมินสำหรับการรับซื้อ ตามข้อ 4 (1) ให้แล้วเสร็จก่อนที่จะดำเนินการประเมินสำหรับการรับซื้อตามข้อ 4 (2) ต่อไป ทั้งนี้หากมีข้อจำกัดในด้านศักยภาพของโครงข่ายไฟฟ้าในการรองรับและไม่สามารถดำเนินการปรับปรุงให้สามารถเชื่อมโยงเพื่อรับซื้อไฟฟ้าเพิ่มเติมได้ ภาครัฐขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ตอบรับข้อเสนอขายไฟฟ้า” แก้ไขเป็น คงข้อความ ตามข้อ 4 (3) ตามเดิม
ทั้งนี้ “ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1” ตามหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ในที่นี้ได้แก่ (1) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2565 (2) ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) สำหรับพลังงานลม สำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน และสำหรับพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน พ.ศ. 2565 จำนวน 4 ฉบับ ลงวันที่ 30 กันยายน 2565 และที่ประกาศเพิ่มเติม ฉบับที่ 2 - 4 ของแต่ละประเภทเชื้อเพลิง เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2565 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 และวันที่ 1 มีนาคม 2566 ตามลำดับ (3) ระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับขยะอุตสาหกรรม พ.ศ. 2565 ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 และ (4) ประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 – 2573 สำหรับเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม (ปี 2569) พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 20 ตุลาคม 2565 และที่ประกาศเพิ่มเติมฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566 เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2566
5. หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีความเห็นเกี่ยวกับหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ดังนี้
5.1 สำนักงาน กกพ. โดยคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพัฒนากฎหมายเกี่ยวกับการประกอบกิจการพลังงาน ได้มีความเห็น ดังนี้ (1) การเปิดรับซื้อไฟฟ้าตามระเบียบและประกาศรอบแรกนั้นเสร็จสิ้นไปแล้ว ดังนั้นสถานะและสิทธิของผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่ไม่ผ่านการคัดเลือกในชั้น Scoring (ผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้า ที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ หรือไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail)) จึงสิ้นผลไป ตามกรอบระยะเวลาของการคัดเลือกโครงการที่ระเบียบและประกาศกำหนด ประกอบกับกฎหมายมิได้กำหนดรับรองสถานะและสิทธิของผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้านั้นให้คงสภาพไว้แต่แรก จึงต้องถือว่าเป็นผู้ไม่ผ่านทั้งหมด การเปิดให้มีการคัดเลือกเฉพาะกลุ่มที่ไม่ผ่านในรอบที่ผ่านมาโดยไม่คำนึงถึงผู้เข้าแข่งขันรายใหม่ที่อาจมี ความพร้อมมากกว่า อาจถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมเนื่องจากเป็นการเปิดให้เฉพาะบางกลุ่มเท่านั้น และ (2) การกำหนดเงื่อนไขข้อ 3 (4) เป็นการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของผู้เข้าร่วมโครงการซึ่งรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ได้รับรองและคุ้มครองไว้
5.2 สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีความเห็นว่า การพิจารณาให้ความเห็นทางกฎหมายของคณะกรรมการกฤษฎีกาตามมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา พ.ศ. 2522 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะกรรมการกฤษฎีกา (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2542 นั้น มีลักษณะเป็นการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายซึ่งเกิดขึ้นจริงในทางปฏิบัติหรือมีข้อเท็จจริงที่ยุติ และเป็นปัญหาในระดับที่หน่วยงาน ผู้รักษาการหรือรับผิดชอบตามกฎหมายได้พิจารณาแล้วไม่อาจแก้ไขปัญหาได้และมีผลทำให้การบริหารราชการแผ่นดินไม่อาจดำเนินการได้ แต่ข้อหารือของ สนพ. ในเรื่องนี้ เป็นการหารือเพื่อขอความเห็นเกี่ยวกับแนวทาง การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 อันเป็นเรื่องที่อยู่ในหน้าที่และอำนาจของ กพช. ที่จะพิจารณาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง หรือแก้ไขเพิ่มเติมมติที่เกี่ยวกับหลักการดังกล่าวเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและสถานการณ์ด้านพลังงานในปัจจุบัน รวมทั้งนโยบายและแผนการบริหาร และพัฒนาพลังงานของประเทศตามพระราชบัญญัติ กพช. พ.ศ. 2535 กรณีนี้จึงยังไม่มีปัญหาข้อกฎหมายในทางปฏิบัติที่เกิดขึ้นจริงหรือมีเหตุโต้แย้งจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายโดยถูกต้องต่อไปได้ ในชั้นนี้ สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงไม่อาจรับข้อหารือนี้ไว้ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นได้
5.3 ฝ่ายเลขานุการฯ ได้มีความเห็นว่า เนื่องจาก มติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 เป็นการปรับปรุงขยายกรอบปริมาณการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพลังงานสะอาดและรองรับนโยบายไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff: UGT) และให้สามารถรองรับจำนวนผู้พร้อมเสนอขายไฟฟ้าจำนวนมาก ดังนั้นการคัดเลือกผู้ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้า ในข้อ 4 (1) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีคุณสมบัติครบถ้วนและผ่านการพิจารณาความพร้อมในทุกองค์ประกอบแล้ว จึงมีความยุติธรรมเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เป็นภาระทั้งต่อหน่วยงานภาครัฐและผู้ยื่น คำเสนอขายไฟฟ้า ทั้งนี้ เพื่อให้การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 ไม่ขัดต่อกฎ ระเบียบ หรือกฎหมายต่าง ๆ เห็นควรยกเลิกข้อความตามข้อ 3 (4) ที่ห้ามผู้ยื่นข้อเสนอโครงการฟ้องร้องหรือร้องเรียนหน่วยงานภาครัฐหรือเจ้าหน้าที่ของทางภาครัฐ ที่อาจเป็นการจำกัดสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ที่กำหนดสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยไว้ และเห็นควรแก้ไขข้อความในข้อ 4 (2) ให้เป็นการเปิดรับซื้อไฟฟ้าเป็นการทั่วไป รวมทั้งจะต้องยกเลิกข้อความในข้อ 3 (1) ถึงข้อ 3 (3) ด้วย เนื่องจากข้อความดังกล่าวเป็นหลักเกณฑ์กรณีที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่ยื่นคำเสนอขายไฟฟ้าที่ไม่ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ไม่ผ่านเกณฑ์คะแนนความพร้อมทางด้านเทคนิคขั้นต่ำ (Pass/Fail) หรือไม่ได้รับการคัดเลือกภายใต้ระเบียบ กกพ. และประกาศเชิญชวนการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน1 สามารถปรับปรุงแก้ไข คำเสนอขายไฟฟ้าที่ได้ยื่นไว้แล้วให้ครบถ้วนได้ซึ่งจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ในข้อ 3 (1) ถึงข้อ 3 (3) ดังนั้น เมื่อมีการแก้ไขหลักการรับซื้อที่เปิดโอกาสให้มีการรับซื้อเป็นการทั่วไปแล้วก็ควรยกเลิกข้อความดังกล่าวด้วย
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบข้อเสนอปรับปรุงหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2565 คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ในปริมาณรวม 9,996 เมกะวัตต์ โดยเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้รับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ดังกล่าว และได้เห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าและอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับปี 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ในปริมาณรวม 5,203 เมกะวัตต์ ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) 335 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,500 เมกะวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน 1,000 เมกะวัตต์ และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน 2,368 เมกะวัตต์ และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ได้เห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าและอัตรารับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2569 ในปริมาณ 100 เมกะวัตต์ และมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ดำเนินการออกระเบียบและประกาศรับซื้อไฟฟ้า และกำกับดูแลการคัดเลือกตามขั้นตอนต่อไป ทั้งนี้ อาจพิจารณาทบทวนปริมาณเชื้อเพลิงรายปีที่กำหนดไว้ได้ตามสถานการณ์หรือศักยภาพที่เหมาะสม หรือปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณา ต่อมา เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 กบง. ได้เห็นชอบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผน PDP2018 Rev.1 ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) ในปริมาณรวม 12,704 เมกะวัตต์ โดยเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 กพช. ได้รับทราบแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม ครั้งที่ 2) และเห็นชอบหลักการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติม สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ได้แก่ ก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย) พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน และขยะอุตสาหกรรม สำหรับปี 2565 – 2573 ในปริมาณรวม 3,668.5 เมกะวัตต์ รวมทั้งมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดย กกพ. สามารถพิจารณาปรับเป้าหมายการรับซื้อไฟฟ้ารายปี เฉพาะกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิงได้ตามความเหมาะสม ให้สอดคล้องกับผลคะแนนความพร้อมด้านเทคนิค ข้อเสนอขายไฟฟ้า กำหนดวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) และศักยภาพระบบไฟฟ้า โดยไม่ให้เกินกรอบเป้าหมายรวมของแต่ละประเภทเชื้อเพลิง ทั้งนี้ อาจพิจารณาปรับปรุงเงื่อนไขต่าง ๆ (ยกเว้นอัตรารับซื้อ) ได้ โดยมอบหมายให้ กบง. พิจารณา
2. สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้รับรายงานการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม ในรูปแบบ FiT สำหรับปี 2565 – 2573 ที่ดำเนินการตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 และวันที่ 22 มิถุนายน 2565 จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ดังนี้ (1) กกพ. ได้ออกระเบียบและประกาศเชิญชวน การรับซื้อไฟฟ้าตามมติ กพช. โดยมีผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามลำดับคะแนนความพร้อมสำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง และขยะอุตสาหกรรม รวมจำนวน 175 ราย และ 13 ราย ตามลำดับ (2) ผู้ผลิตไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมได้ลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) ครบถ้วนแล้ว ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (BESS) จำนวน 24 ราย และพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน จำนวน 129 ราย ที่ได้รับการคัดเลือกอยู่ระหว่างทยอยลงนาม PPA ตามกรอบระยะเวลาที่ กกพ. ประกาศกำหนด ยกเว้นโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จำนวน 22 ราย ยังไม่สามารถลงนาม PPA ได้ เนื่องจากศาลปกครองกลางมีคำสั่งลงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 ทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงาน กกพ. เรื่อง รายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ FiT ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 เฉพาะการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมจำนวน 22 ราย ตามมติ กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ไว้เป็นการชั่วคราว ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดและอยู่ระหว่างการพิจารณา ทำให้การรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเพิ่มเติมตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2566 จึงยังไม่สามารถดำเนินการได้ และ (3) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ได้รับการคัดเลือกที่ต้องชะลอการดำเนินการ ตั้งแต่วันที่มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังกล่าว ซึ่งมีกำหนด SCOD ในปี 2568 และ 2569 แจ้งว่าไม่สามารถ จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ได้ตามกำหนด SCOD ตามแผน นอกจากนี้ โครงการที่มีกำหนด SCOD ในปีถัด ๆ ไป อาจได้รับผลกระทบและไม่สามารถ COD ได้ตามกำหนด SCOD และอาจส่งผลต่อการจัดหาไฟฟ้าสีเขียว (Utility Green Tariff: UGT) แบบเจาะจงที่มา (UGT2) เพื่อสนับสนุนนโยบายรัฐบาลในการจัดหาไฟฟ้า สีเขียวด้วยเช่นกัน
3. สนพ. ได้รับรายงานเพิ่มเติมจากสำนักงาน กกพ. ว่า ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งลงวันที่ 5 มีนาคม 2567 เกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาเพิ่มเติมในคดีหมายเลขดำที่ 2219/2566 กรณีบริษัท วินด์ กาฬสินธุ์ 2 จำกัด เป็นผู้ฟ้องคดี และสำนักงาน กกพ. เป็นผู้ถูกฟ้องคดี โดยมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติ กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจำนวน 175 ราย เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อของผู้ฟ้องคดี และทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงาน กกพ. เรื่อง รายชื่อผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ในรูปแบบ FiT ปี 2565 - 2573 สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง พ.ศ. 2565 ลงวันที่ 5 เมษายน 2566 สำหรับพลังงานลม จำนวน 22 ราย และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามมติ กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2566 ที่ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น ทั้งนี้ สำนักงาน กกพ. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อศาลปกครองสูงสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 โดยอยู่ในกระบวนการพิจารณาของศาล
4. ต่อมา สนพ. ได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจาก สำนักงาน กกพ. เกี่ยวกับการรับซื้อไฟฟ้าโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ดังนี้ (1) ผู้ยื่นขอ ผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับพลังงานลม กำหนด SCOD ปี 2568 – 2573 ได้มีหนังสือแจ้งถึงผลกระทบจากการชะลอการลงนาม PPA จำนวน 16 โครงการ (2) การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีหนังสือ แจ้งผลกระทบจากการชะลอการดำเนินการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าเพื่อเพิ่มศักยภาพระบบไฟฟ้าและรองรับ การเชื่อมต่อระบบไฟฟ้าในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการคัดเลือกพลังงานลม โดยหากมีการชะลอการดำเนินงานไปจนถึงภายในเดือนมิถุนายน 2567 จะส่งผลกระทบต่อ SCOD ล่าช้าไปจากกำหนดเดิมประมาณ 1 ปี สำหรับ ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลังงานลมจำนวน 9 โครงการ ที่มีกำหนด SCOD เดิมปี 2568 - 2571 และกรณีมีการชะลอการดำเนินงานออกไปภายหลังเดือนมิถุนายน 2567 จะส่งผลกระทบต่อ SCOD สำหรับผู้ที่ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลังงานลมทั้ง 22 โครงการ (3) กระทรวงพลังงานได้มีหนังสือยืนยันความจำเป็น ที่ประเทศไทยจะต้องมีพลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการส่งเสริมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน เป็นภารกิจสำคัญและจำเป็นเร่งด่วนของประเทศที่ไม่สามารถชะลอหรือหยุดชะงักได้ เพื่อให้ประเทศมีศักยภาพในการแข่งขัน มีต้นทุนค่าไฟฟ้าเฉลี่ยถูกลง ลดการพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติ และช่วยให้ประเทศบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศในปี 2573 ตามการมีส่วนร่วมที่ประเทศกำหนด (Nationally Determined Contribution: NDC) รวมทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าสีเขียว (UGT) และ (4) ความคืบหน้าเรื่องที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติ กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อของผู้ฟ้องคดี และทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงาน กกพ. สำหรับพลังงานลม จำนวน 2 คดี ดังนี้ 1) กรณีคดีของ บริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด โดยเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งกลับคำสั่งของ ศาลปกครองชั้นต้น เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดีที่ขอให้ศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติ กกพ. ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจำนวน 175 ราย เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อของผู้ฟ้องคดี และประกาศสำนักงาน กกพ. ดังกล่าว สำหรับพลังงานลม จำนวน 22 ราย ซึ่งสำนักงาน กกพ. มีหนังสือ แจ้งคำสั่งศาลปกครองสูงสุดให้ กฟผ. และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) แล้ว และ 2) กรณีคดีของ บริษัท วินด์ กาฬสินธุ์ 2 จำกัด โดยเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งเกี่ยวกับวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษาในคดีหมายเลขดำที่ 2219/2566 ระหว่าง บริษัท วินด์ กาฬสินธุ์ 2 จำกัด กับสำนักงาน กกพ. และ กกพ. โดยศาลมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติ กกพ. ที่พิจารณาเห็นชอบผลการคัดเลือกผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าจำนวน 175 ราย เฉพาะในส่วนที่ไม่มีรายชื่อของผู้ฟ้องคดี และประกาศสำนักงาน กกพ. ดังกล่าว สำหรับพลังงานลม จำนวน 22 ราย ซึ่งเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2567 สำนักงาน กกพ. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว
5. ข้อเสนอหลักการการปรับเลื่อนกำหนด SCOD สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดฯ (ปรับปรุงเพิ่มเติม) จากการที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่ง ลงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 กรณีบริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด และได้มีคำสั่งเพิ่มเติมลงวันที่ 5 มีนาคม 2567 กรณีบริษัท วินด์ กาฬสินธุ์ 2 จำกัด ทุเลาการบังคับตามประกาศสำนักงาน กกพ. เฉพาะการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม จำนวน 22 ราย ตามมติ กกพ. ในการประชุมเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2566 ไว้เป็นการชั่วคราว จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น จึงทำให้มีการชะลอการดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องใด ๆ ตามระเบียบ กกพ. ว่าด้วยการจัดหาไฟฟ้าฯ สำหรับผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าที่ได้รับการคัดเลือกสำหรับโครงการพลังงานลม จำนวน 22 ราย ตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งทุเลาฯ ดังกล่าว เช่น การลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และการปรับปรุงระบบส่งไฟฟ้าของ กฟผ. เพื่อเพิ่มศักยภาพระบบไฟฟ้าและรองรับการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับผู้ได้รับการคัดเลือกในโครงการพลังงานลม เป็นต้น โดยต่อมาศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 13 มีนาคม 2567 กลับคำสั่งของศาลปกครองชั้นต้นกรณีบริษัท วินด์ ขอนแก่น 2 จำกัด เป็นให้ยกคำขอของผู้ฟ้องคดีแล้ว และสำนักงาน กกพ. ได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งทุเลาฯ กรณีบริษัท วินด์ กาฬสินธุ์ 2 จำกัด ต่อศาลปกครองสูงสุดแล้ว โดยอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ดังนั้น กรณีศาลปกครองสูงสุดได้ยกเลิกคำสั่งทุเลาฯ แล้ว จึงเห็นควรให้ปรับเลื่อนกำหนด SCOD โครงการพลังงานลมในรายที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่ง ศาลปกครองดังกล่าว เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ได้รับการคัดเลือก โดยควรมอบหมายให้ กกพ. พิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการเข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และปรับเลื่อนกำหนด SCOD สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละโครงการได้ตามสมควร ทั้งนี้ ไม่ให้เกินกรอบภายในปี 2573 เพื่อให้ไม่กระทบต่อแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดของประเทศที่มีเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกของประเทศ ในปี 2573 ตาม NDC รวมทั้งยังเป็นกลไกสำคัญในการส่งเสริมให้เกิดการจัดหาไฟฟ้าสีเขียว (UGT) และไม่กระทบต่อเสถียรภาพทางด้านราคาค่าไฟฟ้าในระยะยาวของประเทศ
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบข้อเสนอหลักการการปรับเลื่อนกำหนดวันเริ่มต้นซื้อขายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (SCOD) สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลม ตามแผนการเพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) ที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งศาลปกครอง
2. มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานพิจารณาปรับกรอบระยะเวลาการเข้าทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และปรับเลื่อนกำหนด SCOD สำหรับโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมที่ได้รับผลกระทบ จากคำสั่งศาลปกครองให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของแต่ละโครงการได้ตามสมควร ทั้งนี้ ไม่ให้เกินกรอบภายในปี 2573
สรุปสาระสำคัญ
1. เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ได้เห็นชอบโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ตามที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เสนอ ดังนี้ PNGV = Pool Gas + [Ld+Lc] + [S1,NGV + S2,NGV] + [TdZone 3 + TcZone 3] + ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ โดยที่ (1) Pool Gas คือ ราคาก๊าซธรรมชาติซึ่งประกอบด้วยก๊าซจากอ่าวไทยที่เหลือจากการจ่ายให้โรงแยก ก๊าซธรรมชาติ ก๊าซจากสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) และก๊าซจากแหล่งอื่น ๆ ในอนาคต (2) Ld และ Lc คือ อัตราค่าบริการเก็บรักษาและแปรสภาพก๊าซธรรมชาติจากของเหลวเป็นก๊าซ ในส่วน Demand Charge (Ld) และ Commodity Charge (Lc) สำหรับสถานี LNG (LNG Receiving Terminal Tariff) ที่ผู้รับใบอนุญาตจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ (Shipper) ใช้บริการ (3) S คือ อัตราค่าบริการสำหรับ การจัดหาและค้าส่งก๊าซธรรมชาติ โดยที่ S1 คือ ค่าใช้จ่ายในการจัดหาและค้าส่งก๊าซ รวมค่าตอบแทนในการดำเนินการ และ S2 คือ ค่าความเสี่ยงในการรับประกันคุณภาพก๊าซ การส่งก๊าซให้ได้ตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้สัญญาซื้อขายก๊าซระหว่างผู้จัดหาและผู้ผลิต และสัญญาซื้อขายก๊าซระหว่างผู้จำหน่ายและผู้ใช้ รวมถึงความเสี่ยงอื่น ๆ (4) TdZone 3 และ TcZone 3 คือ อัตราค่าบริการส่งก๊าซทางท่อสำหรับระบบท่อบนฝั่ง (Zone 3) ในส่วน Demand Charge (Td) และในส่วน Commodity Charge (Tc) และ (5) ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ คือ ค่าใช้จ่ายในส่วนของการลงทุนและค่าใช้จ่ายสถานีก๊าซ NGV ของสถานีแม่ สถานีลูก และสถานีแนวท่อ รวมค่าขนส่งภายในรัศมี 50 กิโลเมตร และค่าใช้จ่ายการปรับปรุงคุณภาพก๊าซ
2. เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2565 กพช. ได้เห็นชอบหลักเกณฑ์การคำนวณและดำเนินการเกี่ยวกับราคาก๊าซธรรมชาติภายใต้การกำกับของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) (Energy Pool Price) โดยหลักเกณฑ์ Energy Pool Price หมายถึง การนำต้นทุนค่าใช้จ่ายน้ำมันเตาหรือน้ำมันดีเซล และ LNG นำเข้าของกลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กกพ. ในด้านปริมาณ คุณภาพและราคา (Regulated Market) มาเฉลี่ยกับก๊าซธรรมชาติใน Pool Gas เพื่อให้ต้นทุนการผลิตของภาคไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรมในกลุ่ม Regulated Market อยู่ในทิศทางและแนวปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งมีการใช้เชื้อเพลิงคิดเป็นหน่วยราคาต่อความร้อน (บาทต่อล้านบีทียู) และช่วยลดภาระอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) ที่ส่งผลถึงผู้ใช้ไฟฟ้าโดยตรง ต่อมา เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 กพช. ได้เห็นชอบแนวทางบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ โดยปรับให้ใช้ราคาก๊าซที่เข้า และออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติเป็นราคา Pool Gas ซึ่งเป็นราคารวมก๊าซธรรมชาติจากแหล่งอื่น ๆ ยกเว้นก๊าซที่นำไปใช้ในการผลิตก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิง ให้ใช้ต้นทุนราคาก๊าซเท่ากับ ราคาก๊าซจากอ่าวไทย (Gulf Gas) ทั้งนี้ ให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2567 เป็นต้นไป จนกว่าการจัดทำหลักเกณฑ์การกำหนดโครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยที่เข้าและออกจากโรงแยกก๊าซธรรมชาติ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2565 จะแล้วเสร็จ และได้รับความเห็นชอบจาก กพช.
3. การดำเนินงานตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ (1) กกพ. ได้ออกประกาศ กกพ. เรื่อง หลักเกณฑ์การกำกับดูแลผู้รับใบอนุญาตบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Pool Manager) พ.ศ. 2566 โดยได้กำหนดสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบของ Pool Manager ทั้งนี้ Pool Manager เริ่มคำนวณราคา Pool Gas ตามมติ กพช. ดังกล่าวตั้งแต่เดือนมีนาคม 2567 เป็นต้นไป ทำให้ราคา Pool Gas มีการเปลี่ยนแปลง (2) สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) มีหนังสือถึง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 เห็นชอบในหลักการตามข้อเสนอแนวทาง การคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 ของ ปตท. ซึ่งส่งผลให้ราคา Pool Gas ที่ใช้คำนวณต้นทุนราคาขายปลีก NGV เปลี่ยนแปลงไป โดยในช่วงเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 ปตท. ได้คำนวณราคาขายปลีก NGV จากราคา Pool Gas ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 ที่ Shipper ปตท. แจ้ง และ (3) ปตท. ได้รับแจ้งราคา Pool Gas ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ในเดือนมิถุนายน 2567 และพบว่ามีส่วนต่างระหว่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ ตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2564 และเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ในช่วงเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 ปตท. จึงได้ขอประสานหารือแนวทางบริหารจัดการส่วนต่างดังกล่าวนี้ต่อไป
4. ราคาขายปลีกก๊าซ NGV ตามสูตรโครงสร้าง ณ เดือนกรกฎาคม 2567 อยู่ที่ระดับ 18.55 บาทต่อกิโลกรัม โดยจากประมาณการราคาขายปลีกก๊าซ NGV ในช่วงเดือนสิงหาคม 2567 ถึงเดือนธันวาคม 2567 คาดการณ์ว่าราคาอาจปรับขึ้นอยู่ในช่วง 19.36 ถึง 19.66 บาทต่อกิโลกรัม ทั้งนี้ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ประชุมหารือร่วมกับ ปตท. เพื่อพิจารณาแนวทางการกำหนดราคาขายปลีก NGV โดยมีความเห็นร่วมกันว่า ให้นำส่วนต่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากการดำเนินงานตามมติ กพช. เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2566 ในช่วงเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 มาปรับต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ ในโครงสร้างราคาขายปลีก NGV โดยให้ราคาขายปลีก NGV อยู่ที่ 18.59 บาทต่อกิโลกรัม เป็นระยะเวลา 2 เดือน ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 และนำส่วนต่างคงเหลือมาปรับราคาขายปลีก NGV ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2567 จนครบวงเงินของส่วนต่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ ทั้งนี้ ยังคงมาตรการช่วยเหลือจาก ปตท. ในกลุ่มรถแท็กซี่ กลุ่มรถโดยสารสาธารณะ และกลุ่มรถบรรทุก ตามมติคณะกรรมการ ปตท. เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2566
มติของที่ประชุม
1. เห็นชอบให้นำส่วนต่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดจากผลการดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ วันที่ 13 ธันวาคม 2566 ในช่วงเดือนมกราคม 2567 ถึงเดือนเมษายน 2567 มาปรับต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติในโครงสร้างราคาขายปลีกก๊าซธรรมชาติสำหรับ ยานยนต์ (NGV) ดังนี้
1.1 ให้ราคาขายปลีก NGV อยู่ที่ราคา 18.59 บาทต่อกิโลกรัม ตั้งแต่วันที่ 16 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2567 (เป็นระยะเวลา 2 เดือน)
1.2 ราคาขายปลีก NGV ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2567 ให้นำส่วนต่างคงเหลือมาปรับลดราคาจนครบวงเงินของส่วนต่างต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติ
2. มอบหมายให้บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รับไปดำเนินการตามข้อ 1 และรายงานผล การดำเนินการให้คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานทราบต่อไป