- นโยบายและแผน
- คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
- นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
- ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
- แผนแม่บทพลังงาน
- แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
- ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี
- การติดตามและประเมินผล
- ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs
Nationally Appropriate Mitigation Actions: NAMAs เป็นแนวคิดหนึ่งของการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกใหม่หลังหมดพันธกรณีแรก (วาระแรก) ของพิธีสารเกียวโต โดยจะเน้นตามความเหมาะสมของแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างกันในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยคาดว่าจะอาศัยหลักการเดิม คือ ประเทศกำลังพัฒนาและประเทศพัฒนาแล้วจะรับผิดชอบด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศร่วมกัน แต่ด้วยความรับผิดชอบที่แตกต่างกันตามศักยภาพ รวมทั้งการดำเนินการในมาตรการ NAMAs จะต้องเป็นไปโดยสมัครใจผ่านการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากประเทศพัฒนาแล้ว ในปัจจุบัน แนวคิด NAMAs นี้ยังถือว่าอยู่ในระหว่างการตกลงแนวทางการดำเนินงานร่วมกันอยู่ และยังไม่มีแนวทางที่เป็นมติเอกฉันท์ใดๆ โดยสามารถสรุปรายละเอียดหลักตามการเจรจาล่าสุดของ AWG-LCA 13 ดังแสดงใน (Draft decision -/CP16) ดังนี้ตกลงว่า (agree) ประเทศกำลังพัฒนาจะดำเนินการลดก๊าซเรือนกระจก (NAMAs) ในบริบทของการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยได้รับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี การเงิน และการเสริมสร้างศักยภาพเพื่อให้บรรลุการลดก๊าซเรือนกระจกลงจากการปล่อยตามปกติ ภายในปี ค.ศ. 2020รับทราบ (take note) ว่าการลดก๊าซเรือนกระจกที่จะดำเนินการโดยประเทศกำลังพัฒนา ตามที่ได้สื่อสาร และระบุในเอกสาร FCCC/AWGLCA/2010/INF.Yเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 4 วรรค 3 ของอนุสัญญาฯ ประเทศพัฒนาแล้วต้องให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และเสริมศักยภาพต่อประเทศกำลังพัฒนา สำหรับการเตรียมการและดำเนินการ NAMAs รวมทั้งยกระดับด้านการรายงานผลให้จัดตั้งระบบลงทะเบียน (Registry) เพื่อบันทึกกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกที่ต้องการขอรับการสนับสนุนระหว่างประเทศ และช่วยจัดคู่การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยี และการเสริมศักยภาพ ต่อกจิกรรมลดก๊าซเรือนกระจกดังกล่าว และให้สำนักเลขาธิการฯเป็นผู้บันทึกข้อมูลกิจกรรมลดก๊าซเรือนกระจกและการสนับสนุน ลงในส่วนของการลงทะเบียนต่อไปเรียกร้อง (Request) ให้เลขาธิการฯ ทำการบันทึกและปรับปรุงข้อมูลที่ได้จากประเทศสมาชิกในระบบลงทะเบียน ดังนี้
NAMAs ที่กำลังหาการสนับสนุนการสนับสนุนจากประเทศกำลังพัฒนาที่มีให้แก่การดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกการสนับสนุนที่มีให้แก่ NAMAs กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนจากต่างประเทศ (Internationally supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV domestically) และควรจะต้องมีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบตามแนวทางระหว่างประเทศที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ กรณีการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ (Domestically supported mitigation actions) ให้มีการตรวจสอบ รายงานผล และทวนสอบอย่างน้อยภายในประเทศ (MRV Domestically) ตามแนวทางที่จะพัฒนาขึ้นภายใต้อนุสัญญาฯ ให้จัดตั้ง Work Program เพื่อพัฒนา Modalities and Guidelines ต่างๆ ได้แก่การช่วยเหลือด้านการสนับสนุนต่อ NAMAs ผ่านระบบ Registry MRV ของกิจกรรมที่ได้รับการสนับสนุน และการสนับสนุนที่ให้รายงานราย 2 ปี ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของรายงานแห่งชาติของประเทศกำลังพัฒนา Domestic Verification ของ Domestic NAMAs กระบวนการ International Consultation and Analysis เนื่องจากคำว่า NAMAs เป็นคำที่ถกเถียงกันมากในแง่ของความหมายและการใช้เพื่อแสดงความหมายในเวทีเจรจาโลก ที่ปรึกษาจะขออ้างอิงความหมายและการจำแนกประเภทของ NAMAs ทั้งจากการทบทวนเอกสารของ UNFCCC และตามการศึกษาของ Zhakata (2009) และ สกว. (พ.ศ. 2553) ที่ได้จัดแบ่ง NAMAs ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
1. Domestically supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนภายในประเทศ
2. Internationally supported mitigation actions หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่ได้รับการสนับสนุนระหว่างประเทศ
3. NAMA Crediting Mechanism หรือการลดก๊าซเรือนกระจกที่แต่ละประเทศสามารถนำเอาคาร์บอนเครดิตที่ได้รับจากการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
จากการทบทวนมาตรการ NAMAs ตามเอกสารเจรจาที่มีอยู่ในการประชุมล่าสุด พบว่า ถึงแม้ว่าแนวทางการดำเนินการของ NAMAs ยังไม่ชัดเจน เนื่องจาก ยังไม่มีการตกลงกันอย่างแน่ชัดในที่ประชุมของ AWG-LCA โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับแนวทาง Crediting Mechanism แต่มาตรการนี้ก็อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อหาข้อตกลงอย่างจริงจังเพื่อให้เป็นมาตรการที่สามารถช่วยประเทศกำลังพัฒนาและกำลังพัฒนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเงื่อนไขของ Domestically supported mitigation actions และ Internationally supported mitigation actions เพื่อให้ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันทั้งเพื่อการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการได้รับการสนับสนุนการพัฒนาทางเทคโนโลยีควบคู่กันต่อไปในอนาคต
ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด