- นโยบายและแผน
- คำแถลงนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล
- นโยบายด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน
- ยุทธศาสตร์กระทรวงพลังงาน
- แผนแม่บทพลังงาน
- แผนบูรณาการพลังงานระยะยาว (TIEB)
- ยุทธศาสตร์สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
- แผนปฏิบัติราชการรายปี และแผนปฎิบติราชการระยะ 5 ปี
- การติดตามและประเมินผล
- ความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
Clean Development Mechanism (CDM)
ตามมาตราที่ 12 ของพิธีสารเกียวโตได้กำหนดกลไกการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เรียกว่า CDM ขึ้น ซึ่งเป็นกลไกที่ช่วยประเทศในภาคผนวกที่ I ของอนุสัญญาฯในการบรรลุถึงเป้าหมายการกำจัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามพันธกรณีของต้น และเพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนให้กับประเทศนอกภาคผนวกที่ I โดยมีรายละเอียดโดยคร่าว ดังต่อไปนี้
CDM มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ I ให้สามารถบรรลุถึงการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable development) และให้มีส่วนสนับสนุนวัตถุประสงค์สูงสุดของอนุสัญญาฯและเพื่อช่วยเหลือประเทศภาคีในกลุ่มภาคผนวกที่ I ให้สามารถปฏิบัติพันธกรณีเกี่ยวกับการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด ได้อย่างสอดคล้องภายใต้ CDM ภาคีที่ไม่รวมอยู่ในภาคผนวกที่ I จะได้รับประโยชน์จากการดำเนินกิจกรรมโครงการ (project activities) อันเป็นผลจากการลดการปล่อยก๊าซที่ได้ผ่านการรับรองแล้ว (certified emission reductions) ภาคีที่มีชื่อรวมอยู่ในภาคผนวกที่ I อาจนำปริมาณการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้วที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมโครงการดังกล่าวไปใช้ เพื่อให้สอดคล้องกับส่วนหนึ่งของพันธกรณีในการจำกัดและการลดการปล่อยตามปริมาณที่กำหนด ภายใต้มาตราที่ 3 ตามการพิจารณาของที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ได้รูปแบบและแนวปฏิบัติของ CDM จะถูกกำหนดโดยมติที่ประชุมรัฐภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ และโดยให้คณะกรรมการบริหาร (Executive Board) ของ CDM เป็นผู้กำกับดูแลการลดการปล่อยก๊าซที่เป็นผลจากการดำเนินกิจกรรมของแต่ละโครงการต้องได้รับการรับรองจากหน่วยงานปฏิบัติงาน (Designated Operational Entities) ที่ประชุมภาคีในฐานะที่เป็นการประชุมของภาคีตามพิธีสารนี้ ได้มอบหมายบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมโดยสมัครใจ ตามที่แต่ละภาคีที่เกี่ยวข้องเห็นชอบผลประโยชน์ในระยะยาวที่แท้จริงและที่สามารถวัดได้ ที่เกี่ยวข้องกับการบรรเทาปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโครงการลดการปล่อยก๊าซที่จะเกิดขึ้นไม่ได้หากขาดการสนับสนุนภายใต้กลไก CDM
CDM ต้องช่วยหลือในการจัดหาเงินทุนในการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านการรับรองแล้วตามความจำเป็นในการประชุมสมัยแรกของประเทศภาคีตามพิธีสารนี้ ต้องจัดทำรูปแบบและวิธีการปฏิบัติงานอย่างละเอียดโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้เกิด ความโปร่งใส (transparency) ประสิทธิภาพ (efficiency) และความรับผิดชอบ (accountability) โดยให้มีการตรวจสอบอย่างอิสระ (independent audition) และการตรวจทานความถูกต้อง (verification) ของกิจกรรมโครงการที่ประชุมภาคีตามพิธีสารนี้ ต้องทำให้แน่ใจว่าเงินส่วนแบ่ง (share) ที่ได้มาจากการดำเนินกิจกรรมโครงการที่ผ่านการรับรองแล้ว ถูกนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายทางด้านบริหาร และนำไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาที่จะได้รับผลกระทบในเชิงลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง (costs of adaptation)การเข้าไปมีส่วนร่วมภายใต้กลไก CDM รวมถึงกิจกรรมที่กล่าวในข้อที่ 3 และการเข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดหาเพื่อให้ได้มาซึ่งการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้ว อาจเกี่ยวข้องกับองค์กรเอกชน และ/หรือองค์กรของรัฐ จะต้องขึ้นอยู่กับแนวปฏิบัติตามที่คณะกรรมการบริหารของ CDM จัดทำขึ้นการลดการปล่อยก๊าซซึ่งผ่านการรับรองแล้ว ที่ได้มาในระหว่างปี ค.ศ. 2000 จนถึงจุดเริ่มต้นของช่วงเวลาดำเนินการตามพันธกรณีช่วงแรก (ปี ค.ศ. 2008) สามารถนำไปใช้เพื่อช่วยในการบรรลุตามพันธกรณีในช่วงพันธกรณีแรกได้
ข้อมูล: บริษัทอีอาร์เอ็ม-สยาม จำกัด